ยินดีต้อนรับเข้าสู่ บล็อกของ ณัฐธิดา พึ่งประโคน วิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส 22102 ครูผู้สอน คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม



ครูเกษียณอายุราชการ2558
ข่าวสารทั่วไป
24โดย : admin
24/ส.ค./2558
2 stars ( 2 / 12 )
ประกาศผลการสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 ( 2039 / )
ประกาศผลสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 อ่านต่อ....
12โดย : admin
12/ส.ค./2558
4.5 stars ( 4.5 / 9 )
ค้นหารายชื่อนักเรียน ( 473 / )
ค้นหาชื่อนักเรียน อ่านต่อ....
ภาพกิจกรรมใหม่ล่าสุด
รวมภาพกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์ประจำปีการศึกษา 2558
ข่าวการศึกษา
ข่าวครูบ้านนอก

Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส 22102 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา ในการฝึกทักษะเรียนรู้พื้นฐาน การจัดการความรู้ ทักษะภาษาดิจิตอล ทักษะการรู้คิดประดิษฐ์สร้าง ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่มีประสิทธิผล ทักษะการสืบค้น ฯลฯ เพื่อพัฒนาไปสู่ทักษะความรู้ที่มุ่งหวังของหลักสูตร โรงเรียนมาตรฐานสากล 6 ประการ ประกอบด้วย (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills (2) ทักษะการคิด Thinking Skills (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills (4) ทักษะชีวิต Life Skills (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skills ทฤษฎีระบบการเรียน KM (Knowlead Maneagement) โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา(Word Class Standard)

ข่าว

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

๓) แคว้นนครศรีธรรมราช



๓) แคว้นนครศรีธรรมราช

            จดหมายเหตุจีนในพุทธศตวรรษที่๑๓เรียกแคว้นนครศรีธรรมราชว่า “ตัน-หม่า-หลิง” หรือ“ตัน-เหมย-หลิว” เอกสารของจีนระบุว่าแคว้นตัน-หม่า-หลิงแยกตัวมาจากแคว้นลัง-ยะ-สิว(ลังกาสุกะหรือหลั่ง-เจีย-ซู)ทางทิศเหนือ จากการศึกษาของนักวิชาการพบว่าชื่อตัน-หม่า-หลิงในเอกสารจีนตรงกับชื่อแคว้นตามพรลิงค์ในเอกสารของอินเดีย ลังกาและศิลาจารึกที่พบในท้องถิ่นคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย[21]

            แคว้นนครศรีธรรมราช อาจมีพัฒนาการมาก่อนพุทธศตวรรษที่๑๙ เนื่องจากเมื่อพวกโจฬะเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนคาบสมุทรมลายูแทนแคว้นศรีวิชัยในพุทธศตวรรษที่๑๖แล้ว พวกโจฬะได้ย้ายศูนย์กลางทางการเมือง การปกครองและการค้าจากฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรมลายูมายังเมืองนครศรีธรรมราช ทำให้เมืองนครศรีธรรมราชกลายเป็นศูนย์อำนาจเข้มแข็งที่สุดในคาบสมุทรมลายู

            ในพุทธศตวรรษที่๑๘ แคว้นนครศรีธรรมราชถูกปกครองโดยราชวงศ์ปัทมวงศ์ หลักฐานศิลาจารึกและตำนานพงศาวดารของภาคใต้ระบุว่าพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์ปัทมวงศ์ทรงพระเกียรติยศดุจดังพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย ด้วยเหตุนี้พระมหากษัตริย์แห่งแคว้นนครศรีธรรมราชจึงมักทรงพระนามว่าพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ซึ่งมาจากรากศัพท์ว่า “ศรี + ธรรมะ + อโศกะ + ราชะ”

            แคว้นนครศรีธรรมราชมีอำนาจครอบคลุมเกือบตลอดทั้งแหลมมลายู ตำนานเมืองนครศรีธรรมราชกล่าวว่าเขตแดนของแคว้นนครศรีธรราชประกอบด้วยเมืองต่างๆ ๑๒ เมือง เรียกว่าเมือง ๑๒ นักษัตริย์ ได้แก่ ปัตตานี กลันตัน ปะหัง ไทรบุรี พัทลุง ชุมพร บันทายสมอ สะอุเลา ตะกั่วป่าและเมืองกระ แคว้นนครศรีธรรมราชเป็นศูนย์ทางความเชื่อเนื่องในศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธนิกายมหายานและหินยาน ศิลาจารึกหลักที่๑ของสุโขทัยกล่าวว่า นครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พุทธศาสนาไปยังแคว้นสุโขทัย[22]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น