ยินดีต้อนรับเข้าสู่ บล็อกของ ณัฐธิดา พึ่งประโคน วิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส 22102 ครูผู้สอน คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม



ครูเกษียณอายุราชการ2558
ข่าวสารทั่วไป
24โดย : admin
24/ส.ค./2558
2 stars ( 2 / 12 )
ประกาศผลการสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 ( 2039 / )
ประกาศผลสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 อ่านต่อ....
12โดย : admin
12/ส.ค./2558
4.5 stars ( 4.5 / 9 )
ค้นหารายชื่อนักเรียน ( 473 / )
ค้นหาชื่อนักเรียน อ่านต่อ....
ภาพกิจกรรมใหม่ล่าสุด
รวมภาพกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์ประจำปีการศึกษา 2558
ข่าวการศึกษา
ข่าวครูบ้านนอก

Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส 22102 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา ในการฝึกทักษะเรียนรู้พื้นฐาน การจัดการความรู้ ทักษะภาษาดิจิตอล ทักษะการรู้คิดประดิษฐ์สร้าง ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่มีประสิทธิผล ทักษะการสืบค้น ฯลฯ เพื่อพัฒนาไปสู่ทักษะความรู้ที่มุ่งหวังของหลักสูตร โรงเรียนมาตรฐานสากล 6 ประการ ประกอบด้วย (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills (2) ทักษะการคิด Thinking Skills (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills (4) ทักษะชีวิต Life Skills (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skills ทฤษฎีระบบการเรียน KM (Knowlead Maneagement) โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา(Word Class Standard)

ข่าว

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 33 พัฒนาการทางสังคม

พัฒนาการทางสังคม


            ศาสตราจารย์ ชาร์ลส์ ไฮแอม(Charles Higham) และรัชนี ทศรัตน์ เสนอว่า รากฐานอารยธรรมในดินแดนประเทศไทยก่อตัวมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ การติดต่อกับสังคมต่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อารยธรรมดังกล่าวมีความก้าวหน้า แหล่งโบราณคดีขนาดใหญ่สมัยเหล็กในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเป็นหลักฐานบ่งชี้ว่า สมาชิกของชุมชนมีฐานะมั่งคั่งจากหลักฐานสิ่งของที่ถูกฝังอยู่กับโครงกระดูกในหลุมศพ คนพื้นเมืองเหล่านี้เป็นคู่ค้าของพ่อค้าจากอินเดีย ซึ่งนำสินค้านานาชนิดเข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวอินเดียรู้จักเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะที่เป็น “แดนทอง(The Land of Gold)” สินค้าที่พ่อค้าอินเดียนำเข้ามาคือ เครื่องประดับจากหินอะเกต เครื่องประดับจากหินคาร์เนเลียนและเครื่องประดับจากแก้ว ส่วนสินค้าที่พ่อค้าอินเดียต้องการนำกลับไป คือ เครื่องเทศ เครื่องมือเครื่องใช้จากโลหะสำริดและทองคำ พ่อค้าอินเดียยังให้โอกาสผู้นำท้องถิ่นในการกว้านซื้อสินค้ามีค่าใหม่ๆ และทำให้ผลผลิตของสินค้าพื้นเมืองมีช่องทางในการระบายออกไปด้วย[2]

            ประมาณพุทธศตวรรษที่๔ (๑๐๐ B.C.) การขยายอิทธิพลลงใต้ของราชวงศ์ฮั่น ทำให้จีนเพิ่มความสนใจต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีนไม่เพียงแต่จะต้องการรวบรวมสินค้าแปลกๆ อาทิ นอแรดและขนนกเท่านั้น หากแต่ยังต้องการขยายจักรวรรดิและอำนาจทางการเมืองของตนด้วย ขณะนั้นอิทธิพลทางการเมืองของจีนแผ่ลงมาถึงภาคเหนือของลาวและเทือกเขาตรวงซอนทางเหนือของแม่น้ำโขง และแม้ว่าอิทธิพลของจีนจะลดน้อยลงในพื้นที่ถัดจากเทือกเขา ซึ่งจีนเรียกว่า “ปราการแห่งอัมพร (Fortress of the Sky)” แต่ความรู้สึกนึกคิดแบบจีนและการค้าขายแลกเปลี่ยนกับจีนก็ยังแทรกซึมผ่านข้ามช่องเขาเข้าไปได้ นักประวัติศาสตร์จีนชื่อปัน จู(Pan Gu) บันทึกเมื่อพุทธศตวรรษที่๔ (๑๐๐ B.C.)ว่า “ขุนนางและพลอาสาถูกส่งออกไปยังทะเล เพื่อนำทองคำและผ้าไหมนานาพรรณไปแลกกับไข่มุกเม็ดงาม ลูกปัดแก้ว และอัญมณี (rare stone)”

            ข้อเสนอที่ระบุว่า การค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับพ่อค้าต่างชาติเป็นปัจจัยที่นำมาสู่การมีอารยธรรมโดยอัตโนมัติยังไม่ใช่ข้อยุติ ก่อนหน้านี้ดินแดนประเทศไทยอาจมีโครงสร้างทางสังคมในระดับที่ละเอียดอ่อน และมีกรอบทางสังคมที่เหมาะสมสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอยู่แล้ว นอกจากนี้การที่ผู้นำพื้นเมืองสนใจจะยกสถานะของตนให้สูงขึ้น ก็เป็นเงื่อนไขสำคัญที่สนับสนุนให้เกิดอารยธรรมเช่นกัน เห็นได้จากการที่ชาวอินเดียนำความเชื่อทางศาสนาพุทธ พราหมณ์ และความเชื่อเรื่องฐานะความเป็นเทพเจ้าของปัจเจกบุคคลเข้ามา ความศรัทธาที่มีต่อพระศิวะจึงอาจส่งผลให้ “เจ้าเหนือหัว” มีฐานะประดุจเทพเจ้า ภาษาสันสกฤตและภาษาบาลีจึงถูกใช้สื่อความหมายสูงส่งที่ยากจะเข้าใจ เพื่อครอบงำความนับถือและความเกรงขามท่ามกลางผู้ไม่รู้หนังสือ และศาสนาสถานที่ก่อสร้างด้วยหินและอิฐซึ่งเริ่มแพร่กระจายทั่วไป เป็นสิ่งบ่งชี้ถึงรูปแบบใหม่แห่งลัทธิการบวงสรวงบูชา ในศาสนาพราหมณ์รูปแบบใหม่ดังกล่าวนี้นำมาสู่การอภิเษกศิวลึงค์ศิลาขนาดใหญ่ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจรัฐและผู้ปกครองรัฐ และเป็นศูนย์รวมของการประกอบพิธีกรรมที่เข้ามาใหม่และทรงอำนาจ ศิลาจารึกที่สรรเสริญคุณงามความดีของเจ้าเหนือหัวซึ่งมีนามเป็นภาษาสันสกฤต เสียงสวดมนต์ของบรรดานักบวชในวิหารเทพเจ้าเป็นเสมือนเครื่องป้องกันรัฐและผู้นำ โดยมีชาวนาจากฐานล่างสุดของโครงสร้างสังคมรูปปิรามิดเป็นกลไกในการผลิตอาหารและปรนนิบัติเทวาลัยรองรับความเชื่อใหม่ที่เข้ามา[3]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น