ยินดีต้อนรับเข้าสู่ บล็อกของ ณัฐธิดา พึ่งประโคน วิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส 22102 ครูผู้สอน คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม



ครูเกษียณอายุราชการ2558
ข่าวสารทั่วไป
24โดย : admin
24/ส.ค./2558
2 stars ( 2 / 12 )
ประกาศผลการสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 ( 2039 / )
ประกาศผลสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 อ่านต่อ....
12โดย : admin
12/ส.ค./2558
4.5 stars ( 4.5 / 9 )
ค้นหารายชื่อนักเรียน ( 473 / )
ค้นหาชื่อนักเรียน อ่านต่อ....
ภาพกิจกรรมใหม่ล่าสุด
รวมภาพกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์ประจำปีการศึกษา 2558
ข่าวการศึกษา
ข่าวครูบ้านนอก

Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส 22102 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา ในการฝึกทักษะเรียนรู้พื้นฐาน การจัดการความรู้ ทักษะภาษาดิจิตอล ทักษะการรู้คิดประดิษฐ์สร้าง ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่มีประสิทธิผล ทักษะการสืบค้น ฯลฯ เพื่อพัฒนาไปสู่ทักษะความรู้ที่มุ่งหวังของหลักสูตร โรงเรียนมาตรฐานสากล 6 ประการ ประกอบด้วย (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills (2) ทักษะการคิด Thinking Skills (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills (4) ทักษะชีวิต Life Skills (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skills ทฤษฎีระบบการเรียน KM (Knowlead Maneagement) โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา(Word Class Standard)

ข่าว

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 32 สมัยอารยธรรมยุคเริ่มแรกในดินแดนประเทศไทย

สมัยอารยธรรมยุคเริ่มแรกในดินแดนประเทศไทย


            การก่อตัวของอารยธรรมยุคเริ่มแรกของดินแดนในประเทศไทย เริ่มต้นจากระบบโครงสร้างทางสังคม อันประกอบด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลระดับครอบครัว หมู่บ้าน จนถึงชุมชนเมือง พัฒนาการของรัฐหรือแว่นแคว้นระยะเริ่มแรกนั้น สมาชิกของชุมชนต่างมีความผูกพันต่อระบบสายใยเครือญาติอย่างลึกซึ้ง ทั้งในระดับชุมชนของตนและชุมชนใกล้เคียง ชุมชนที่ขยายตัวออกมาจากหมู่บ้านเดิมของบรรพบุรุษ ต่างก็ตระหนักถึงความสัมพันธ์ทางเครือญาติของตนกับหมู่บ้านบรรพบุรุษเช่นกัน ความสัมพันธ์ดังกล่าวรวมไปถึงความผูกพันต่างๆทางสังคมระหว่างวงศ์ตระกูลด้วย

            หน้าที่และความสัมพันธ์ทางเครือญาติจึงเป็นกลไกของพันธะสำคัญที่มีต่อสถานะผู้นำ(chiefdom) เพราะแม้แต่สมาชิกฐานะต่ำต้อยก็ยังสามารถลำดับความสัมพันธ์กับผู้นำได้ โดยผ่านการลำดับความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่มีมาแต่บรรพบุรุษ เมื่อชุมชนขยายตัวเป็นสังคมระดับรัฐเต็มตัวแล้ว ความสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่เข้าผสมผสานกับความสัมพันธ์ระบบเครือญาติจึงก่อตัวตามมา กลายเป็นแนวความคิดเกี่ยวกับระบบการแบ่งชนชั้นในสังคม [1]

            การแบ่งชนชั้นในสังคม เป็นที่มาของระบบการปกครองตามลำดับชั้น(hierarchy) หากเปรียบโครงสร้างทางสังคมกับสามเหลี่ยมรูปปิรามิดแล้ว ชนชั้นสูงหรือชนชั้นผู้นำหรือชนชั้นผู้ดี(elite)มีฐานะอยู่บนยอดปิรามิด ส่วนชนชั้นอื่นๆจะมีฐานะลดหลั่นลงมา เมื่อแนวคิดทางการปกครองแบบมีผู้นำสูงสุด ซึ่งเกี่ยวข้องกับการครอบครองพื้นที่และจำนวนประชากรที่มากขึ้น แพร่หลายเข้ามาแทนที่ระบบการปกครองแบบผู้นำชุมชน จึงต้องอาศัยผู้ชำนาญการด้านต่างๆเข้ามาเสริมโครงสร้างทางการเมือง เงื่อนไขสำคัญของระบบการปกครองดังกล่าว คือ การรับคำสั่งจากส่วนกลางแล้วนำไปบังคับใช้ในภูมิภาครอบๆศูนย์กลางของรัฐ การปกครองระบบนี้ แม้ชนชั้นปกครองและผู้ชำนาญการจะไม่ต้องเกี่ยวข้องกับการสร้างผลผลิตเบื้องต้นโดยตรง แต่พวกเขาก็สามารถดำรงชีพอยู่ได้ จากการหล่อเลี้ยงของระบบภาษีและผลผลิตส่วนเกิน ซึ่งถูกเรียกเก็บเข้าสู่ส่วนกลาง ขณะที่การรับใช้ชนชั้นปกครอง อาทิ การสร้างที่อยู่หรือเรือนของชนชั้นปกครอง ใช้วิธีการเกณฑ์แรงงานโดยปราศจากสิ่งตอบแทน

            การรุกรานด้วยกำลังเพื่อขยายอาณาเขตและพื้นที่ทางสังคม และการใช้ความเชื่อทางศาสนาเป็นเครื่องมือในการขยายอำนาจ ก็ถือเป็นการสร้างความมั่นคงให้แก่ชนชั้นปกครองรูปแบบหนึ่งเช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น