ยินดีต้อนรับเข้าสู่ บล็อกของ ณัฐธิดา พึ่งประโคน วิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส 22102 ครูผู้สอน คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม



ครูเกษียณอายุราชการ2558
ข่าวสารทั่วไป
24โดย : admin
24/ส.ค./2558
2 stars ( 2 / 12 )
ประกาศผลการสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 ( 2039 / )
ประกาศผลสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 อ่านต่อ....
12โดย : admin
12/ส.ค./2558
4.5 stars ( 4.5 / 9 )
ค้นหารายชื่อนักเรียน ( 473 / )
ค้นหาชื่อนักเรียน อ่านต่อ....
ภาพกิจกรรมใหม่ล่าสุด
รวมภาพกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์ประจำปีการศึกษา 2558
ข่าวการศึกษา
ข่าวครูบ้านนอก

Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส 22102 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา ในการฝึกทักษะเรียนรู้พื้นฐาน การจัดการความรู้ ทักษะภาษาดิจิตอล ทักษะการรู้คิดประดิษฐ์สร้าง ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่มีประสิทธิผล ทักษะการสืบค้น ฯลฯ เพื่อพัฒนาไปสู่ทักษะความรู้ที่มุ่งหวังของหลักสูตร โรงเรียนมาตรฐานสากล 6 ประการ ประกอบด้วย (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills (2) ทักษะการคิด Thinking Skills (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills (4) ทักษะชีวิต Life Skills (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skills ทฤษฎีระบบการเรียน KM (Knowlead Maneagement) โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา(Word Class Standard)

ข่าว

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 5 การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล เมื่อผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ได้พิจารณาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่ขั้นตอนการวิพากษ์หลักฐาน การวิพากษ์ข้อสนเทศ การตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งในขั้นต้นและขั้นลึกไปแล้ว สิ่งสุดท้ายที่จะพิจารณาในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ก็คือการวิเคราะห์และการสังเคราะห์ทางประวัติศาสตร์          จากหลักฐานทางโบราณคดี ศิลปสถาปัตยกรรม ตลอดจนตำนาน พงศาวดาร ฯลฯ ที่ค้นพบในภาคเหนือของประเทศไทย นักวิชาการได้ศึกษาผ่านหลักฐานทางประวัติศาสตร์ดังกล่าว แล้วลำดับเรื่องราวของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในภาคเหนือช่วงสมัยพญามังรายได้ว่า พญามังราย ได้สร้างเมืองเชียงใหม่หรือ “ นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ” ให้เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา ใน พ.ศ. 1839 และได้ขยายอำนาจไปไกลจนถึงเชียงตุง เชียงรุ่ง และสิบสองปันนา พร้อมกับกวาดต้อนผู้คนให้มาเป็นพลเมืองในเมืองเชียงใหม่เป็นจำนวนมาก หลังรัชกาลของพญามังรายได้มีกษัตริย์พระองค์หนึ่งพระนามว่าพญาแสนพู ทรงได้สร้างเมืองเชียงแสนให้เป็นเมืองขนาดใหญ่ ซึ่งอาจถือว่าเป็นราชธานีแห่งที่สองของอาณาจักรล้านนาก็ว่าได้ ต่อมาในสมัยของพญาถือนาได้รับพระพุทธศาสนานิกายรามัญวงศ์(ลังกาวงศ์เก่า) จากเมืองสุโขทัยซึ่งตรงกับสมัยพระยาลิไท มาสืบพุทธศาสนาในเมืองเชียงใหม่และทรงโปรดให้สร้างวัดสวนดอกไม้ หรือวัดบุปผารามให้เป็นที่ประดิษฐานของพระสังฆราช และเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนานิกายรามัญวงศ์สืบต่อมา จากการที่นักวิชาการได้ศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนาผ่านหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งในส่วนที่เป็นเอกสารและสิ่งก่อสร้าง จนสามารถเรียบเรียงเป็นเรื่องราวซึ่งใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุดนี้ เรียกว่า “ การสังเคราะห์ทางประวัติศาสตร์ ” ฉะนั้นการสังเคราะห์ทางประวัติศาสตร์จึงหมายถึง การเอาข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกัน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์มาเกี่ยวพันให้เกิดความสัมพันธ์กันขึ้นนั่นเอง          แต่ถ้าหากเจาะลึกลงไปเพื่อหาคำตอบที่ว่าทำไมพญามังรายถึงต้องสร้างนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ให้เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา หรือทำไมพญาแสนพูต้องเสด็จไปประทับอยู่ที่เชียงแสนตลอดพระชนม์ชีพนั้น นักวิชาการได้เสนอข้อเท็จจริงไว้ว่าการที่พญามังรายสร้างนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ขึ้น เนื่องจากมีชัยภูมิดีและเป็นการย้ายเมืองใหม่จากเวียงกุมกาม ซึ่งเกิดน้ำท่วมทุกปีในช่วงฤดูน้ำหลากมาไว้ที่แห่งใหม่ ซึ่งอุดมสมบูรณ์และป้องกันข้าศึกได้ดีกว่า และการที่พญาแสนพูต้องเสด็จมาประทับอยู่เมืองเชียงแสน จนทำให้เมืองนี้มีบทบาทเกือบเท่าเมืองเชียงใหม่ นักวิชาการได้เสนอไว้ว่าเป็นเพราะต้องการป้องกันกำลังของพม่าที่มีกำลังพลมากทางเมืองเชียงแสน การเจาะลึกถึงสาเหตุดังกล่าวของนักวิชาการดังได้ยกเป็นตัวอย่างเรียกว่า “การวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น