ยินดีต้อนรับเข้าสู่ บล็อกของ ณัฐธิดา พึ่งประโคน วิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส 22102 ครูผู้สอน คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม



ครูเกษียณอายุราชการ2558
ข่าวสารทั่วไป
24โดย : admin
24/ส.ค./2558
2 stars ( 2 / 12 )
ประกาศผลการสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 ( 2039 / )
ประกาศผลสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 อ่านต่อ....
12โดย : admin
12/ส.ค./2558
4.5 stars ( 4.5 / 9 )
ค้นหารายชื่อนักเรียน ( 473 / )
ค้นหาชื่อนักเรียน อ่านต่อ....
ภาพกิจกรรมใหม่ล่าสุด
รวมภาพกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์ประจำปีการศึกษา 2558
ข่าวการศึกษา
ข่าวครูบ้านนอก

Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส 22102 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา ในการฝึกทักษะเรียนรู้พื้นฐาน การจัดการความรู้ ทักษะภาษาดิจิตอล ทักษะการรู้คิดประดิษฐ์สร้าง ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่มีประสิทธิผล ทักษะการสืบค้น ฯลฯ เพื่อพัฒนาไปสู่ทักษะความรู้ที่มุ่งหวังของหลักสูตร โรงเรียนมาตรฐานสากล 6 ประการ ประกอบด้วย (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills (2) ทักษะการคิด Thinking Skills (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills (4) ทักษะชีวิต Life Skills (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skills ทฤษฎีระบบการเรียน KM (Knowlead Maneagement) โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา(Word Class Standard)

ข่าว

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 30 ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยธนบุรี

   ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยธนบุรี 

               ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยธนบุรีกรุงธนบุรีมีอายุเพียง  15  ปีแต่ก็ได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่มีคุณค่าอันสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน  โดยเกิดจากปัจจัยสำคัญ  คือ             การรับอิทธิพลด้านภูมิปัญญาและวัฒนธรรมสืบทอดมาจากอยุธยา  เช่น  ด้านศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ             

การรับอิทธิพลจากอารยธรรมตะวันตก  มีผลต่อภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยธนบุรีน้อยมาก  ถึงแม้จะมีการเผยแผ่คริสต์ศาสนา  แต่สิ่งที่สำคัญมากคือ  ความต้องการอาวุธปืนที่ใช้ในการป้องกันประเทศ  ดังปรากฏหลักฐานที่บริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา  ได้ถวายปืน  50  กระบอก    เพื่อแลกกับไม้ฝางของไทย ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในการพิจารณาทำเลที่ตั้งของราชธานี             อยู่ริมแม่น้ำและอยู่ใกล้ทะเล  การที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเลือกชัยภูมิให้เมืองธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ของไทยเพื่อป้องกันมิให้พม่าโจมตีได้  เพราะแถบนี้น้ำลึก  ถ้าข้าศึกยกทัพมาทางบกไม่มีทัพเรือเป็นกำลังด้วยแล้วยากที่จะเข้ามาตีกรุงธนบุรีได้  ประกอบกับธนบุรีมีป้อมปราการมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  เป็นเมืองขนาดย่อม  ทัพบกและทัพเรือของธนบุรี             ย่อมสามารถรักษาราชธานีไว้ได้  แต่ถ้ารักษาไม่ได้  ก็สามารถยกทัพกลับไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองจันทบุรีดังเดิม  นอกจากนี้การที่กรุงธนบุรีตั้งปิดปากน้ำย่อมป้องกันมิให้หัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวงที่ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจของธนบุรีสามารถไปมาค้าขายหรือแสวงหาอาวุธจากต่างประเทศได้ยากขึ้น  ขณะที่ทางธนบุรี ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในการปรับตัวเพื่อแก้ปัญหาการดำรงชีวิต             สมัยธนบุรีได้ประสบกับภาวะสงครามและการขาดแคลนข้าว  ทำให้เป็นปัญหาของสังคมไทยในขณะนั้น  จึงมีภูมิปัญญาเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการดำรงชีวิต  เช่น             1.สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงแก้ปัญหาด้วยการโปรดให้ผู้คนที่อดอยาก เข้ามารับพระราชทานข้าวปลาอาหาร  ขณะนั้นข้าวสารที่พ่อค้าสำเภาจีนนำมาขายมีราคาแพงมาก แต่พระองค์ก็ซื้อข้าวสารแจกจ่ายราษฎรข้าวมาขายเพื่อหวังผลกำไรเป็นจำนวนมาก  เมื่อข้าวสารในท้องตลาดมีมากจึงส่งผลให้มีข้าวสารมีราคาถูกลง             

   2.พระองค์ทรงให้บรรดาข้าราชการทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อยหันไปทำนาเพิ่มปีละ  2  ครั้ง  ทั้งนาปีและนาปรัง  ทำให้มีข้าวบริโภคมากขึ้น  ครั้นเมื่อเกิดหนูชุกชุมกัดกินข้าวในยุ้งฉางและทรัพย์สินของราษฎรเสียหายก็ทรงรับสั่งให้จับหนูมาส่งกรมนครบาล  ทำให้จำนวนหนูลดลง ภูมิปัญญานี้ส่งผลถึงปัจจุบันทำให้ประเทศไทยติดอันดับในการส่งออกข้าวไปขายยังต่างประเทศ             3.ให้ขุดคูเมืองทั้งสองฟากซึ่งเดิมเป็นสวนปลูกผักผลไม้ให้ขุดออกเป็นที่ท้องนา  เรียกว่า ทะเลตม  เพื่อไว้ทำนาใกล้พระนคร  สำหรับเป็นเสบียงในยามขาดแคลนข้าว   แต่เมื่อข้าศึกยกมาก็สามารถทำเป็นที่ตั้งค่ายไว้ต่อสู่กับข้าศึกได้  สะดวกต่อการค้าขายทางทะเลกับต่างประเทศ และสามารถแสวงหาอาวุธได้ง่ายเพราะอยู่ติดทะเล ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยด้านศิลปกรรม             เนื่องจากสมัยธนบุรีเป็นราชธานีในระยะเวลาสั้น ๆ  และต้องตกอยู่ในภาวะสงครามตลอดเวลา ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมด้านศิลปกรรมจึงมีอยู่บ้าง  เช่น             เรือ  การต่อเรือเจริญมากเพราะมีการต่อเรือรบ เรือสำเภา ตลอดจนเรือกระบวนไว้ใช้ในราชการเป็นจำนวนมาก             สถาปัตยกรรม  กรุงธนบุรีเป็นยุคของการสร้างบ้านแปลงเมือง  จึงมีการก่อสร้างเป็นจำนวนมาก  อาทิ  พระราชวัง ป้อมปราการ กำแพงพระนคร พระอารามต่าง ๆ  ลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยนี้ล้วนสืบทอดมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  ฐานอาคารจะมีลักษณะอ่อนโค้งดุจรูปเรือสำเภา  ทรงอาคารจะสอบชะลูดขึ้นทางเบื้องบน  ส่วนประกอบอื่น ๆ ของอาคารก็ไม่แตกต่างจากอยุธยามากนัก  เป็นที่น่าเสียดายว่าสถาปัตยกรรมสมัยธนบุรีมักได้รับการบรูณะซ่อมแซมในสมัยหลังหลายครั้งด้วยกัน  ลักษณะในปัจจุบัน             จึงเป็นแบบสถาปัตยกรรมในรัชกาลที่บูรณะครั้งหลังสุด  เท่าที่ยังปรากฏเค้าเดิมในปัจจุบัน ได้แก่             ป้อมวิชัยประสิทธิ์ กำแพงพระราชวังเดิม พระตำหนักท้องพระโรง และพระตำหนักเก๋งคู่ในพระราชวังเดิมที่ได้รับอิทธิพลการก่อสร้างมาจากจีน  พระอารามทั้งในพระนครและหัวเมืองที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์             ในรัชกาลนี้ล้วนแต่ได้รับการบรูณะใหม่ในรัชกาลต่อมาเช่นกัน  ที่ยังแสดงลักษณะศิลปกรรมสมัยกรุงธนบุรี  ได้แก่  พระอุโบสถและพระวิหารน้อย วัดอรุณราชวราราม  พระอุโบสถและพระวิหารเดิมวัดราชคฤห์             พระอุโบสถเดิมวัดอินทาราม  ตำหนักแดง วัดระฆังโฆสิตาราม  และพระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม             ประณีตศิลป  กรุงธนบุรีมีนายช่างผู้เชี่ยวชาญด้านนี้อย่างพร้อมมูล ทั้งช่างรัก ช่างประดับ             ช่างแกะสลัก ช่างปั้นและช่างเขียน  งานประณีตศิลป์ชิ้นสำคัญสมัยนี้ ได้แก่ ตู้พระไตรปิฎกลายรดน้ำ 4 ตู้             ในหอวชิรญาณ  ซึ่งได้มาจากวัดราชบูรณะ วัดจันทาราม และวัดระฆังโฆสิตาราม  ช่างหล่อคนสำคัญปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า  โปรดให้หลวงวิจิตรนฤมล  ปั้นพระพุทธรูปให้ต้องตามพุทธลักษณะที่โปรดให้สอบสวน  แล้วหล่อพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ยืนองค์หนึ่งปางสมาธิองค์หนึ่ง  งานแกะสลัก  ได้แก่พระแท่นบรรทมในพระอุโบสถน้อย วัดอรุณราชวราราม  ในพระวิหารวัดอินทาราม  และตั่งจากอำเภอแกลง จังหวัดระยอง  ซึ่งเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ             จิตรกรรม  ภาพจิตรกรรมสมัยธนบุรีอาจดูได้จาก ตำราภาพไตรภูมิ (ฉบับหลวง)  มีการวาดภาพเกี่ยวกับไตรภูมิหรือโลกทั้งสาม  เพื่อปลูกฝังให้คนไทยเกิดความเชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษ  ประพฤติกรรมดี ละเว้นความชั่ว  ซึ่งเก็บรักษาอยู่ ณ หอสมุดแห่งชาติ  และลวดลายรดน้ำที่ปรากฏบนตู้พระไตรปิฎกและภาพจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์             วรรณกรรม วรรณกรรมสำคัญที่เกิดในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี มีดังนี้ 1. บทละครเรื่องรามเกียรติ์  พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี 2. ลิลิตเพชรมงกุฎ  ประพันธ์โดยหลวงสรวิชิต (หน) 3. อิเหนาคำฉันท์  ประพันธ์โดยหลวงสรวิชิต (หน) 4. กฤษณาสอนน้องคำฉันท์  ประพันธ์โดยพระยาราชสุภาวดี  และพระภิกษุอินท์ 5. โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี  ประพันธ์โดย  นายสวนมหาดเล็ก 6. นิราศกวางตุ้ง หรือนิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีนครั้งกรุงธนบุรี พ.ศ. 2324  บทประพันธ์ของพระยามหานุภาพ  เป็นวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้             นาฏดุริยางค์และการละเล่น  แม้ว่าศิลปกรรมเหล่านี้จะได้รับความกระทบกระเทือนจากภัยสงคราม  โดยถูกพม่ากวาดต้อนไปบ้าง  แต่ก็ยังไม่สูญหายไปเสียทีเดียว  ยังคงหลงเหลืออยู่ตามหัวเมืองสำคัญ เช่น เมืองนครศรีธรรมราช  และหลบซ่อนตัวตามเมืองอื่นบ้าง               นอกจากในพระราชสำนักแล้ว  สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี  ได้พระราช ทานโอกาสให้บุคคลทั่วไป มีครูฝึกสอนละครนาฏศิลป์  และจัดแสดงได้โดยไม่จำกัด                ทั้งนี้เพื่อบำรุงขวัญประชาชนซึ่งเพิ่งรวบรวมตัวกันเป็นปึกแผ่นใหม่ ๆ  นาฏศิลป์และการละเล่นสมัยกรุงธนบุรีที่ปรากฏหลักฐานในจดหมายเหตุ  สมโภชพระแก้วมรกต พ.ศ. 2323  คือ โขน หนัง หุ่น ละคร รำ (รำหญิง,รามัญรำ,ชวารำ,ญวนรำถือโคมดอกบัว) มโหรี ปี่พาทย์ ระเม็งโมงครุ่ม ญวนหกและคนต่อเท้า โจนหกร้านหอก หกไม้ลำเดียว หกไม้สูง 3 ต่อ ไต่ลวดลังกาไม้ลวดต่ำ คุลาเล็ก มังกรตรีวิสัย(แทงวิสัย) โตกระบือหรือโตกระบือจีนเงาะ มวย คู่ปล้ำ เสลหรือดาบดั้ง คู่ง้าว คู่ทวน คู่หอก คู่กฤช ชนช้าง แข่งม้า ทวนหลังม้า กระบี่หลังม้าและม้าคลุมม้าคลี  และยังโปรดให้เจ้านครศรีธรรมราชจัดละครมาร่วมงานเป็นการประกวดประชันกันของหลวงด้วย

x

สัปดาห์ที่ 29 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ พระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระนามเดิมว่า ” สิน ” (ชื่อจีนเรียกว่า เซิ้นเซิ้นซิน) เป็นบุตรของขุนพัฒน์ ( นายหยง หรือ ไหฮอง แซ่อ๋อง บางตำราก็ว่า แซ่แต้ ) และ นางนกเอี้ยง ( กรมพระเทพามาตย์ ) เกิดเมื่อวันอาทิตย์ มีนาคม พ.ศ. 2277 ในแผ่นดิน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ต่อมา เจ้าพระยาจักรีผู้มีตำแหน่งสมุหนายกเห็นบุคลิกลักษณะ จึงขอไปเลี้ยงไว้เหมือนบุตรบุญธรรม ตั้งแต่ครั้งยังเยาว์วัย ได้รับการศึกษาขั้นต้นจากสำนักวัดโกษาวาส (วัดคลัง ) และ บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ 13 ขวบ ที่วัดสามพิหาร หลังจากสึกออกมาแล้ว ได้เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก และ อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุครบ 21 ปีตามขนบประเพณี ของไทยบวชอยู่ 3 พรรษา หลังจากสึกออกมาได้เข้ารับราชการ ต่อ ณ. กรมมหาดไทยที่ศาลหลวงในกรมวัง ต่อมาในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) จึงได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตากจนได้เป็นพระยาตาก ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นได้ถูกเรียกตัวเข้ามาในกรุงศรีอยุธยา เพื่อแต่งตั้งไปเป็น พระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชรแทนเจ้าเมืองคนเก่าที่ถึงแก่อนิจกรรมลงใน พ.ศ. 2310 ครั้นเจริญวัยวัฒนา ก็ได้ไปถวายตัวทำราชการกับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความดีความชอบจนได้รับเลื่อนหน้าที่ราชการไปเป็นผู้ปกครองหัวหน้าฝ่าย เหนือคือ เมืองตาก และเรียกติดปากมาว่า “พระยาตากสิน” สมเด็จพระเจ้าตากสินหรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ( ตามหนังสือราชการ ) เป็นยอดวีรบุตรนักรบ ฝีหัตถ์เยี่ยม ทรหดอดทน กล้าหาญ ไม่กลัวตาย และเป็นผู้ดึงอิสระเสรีของชาติไทยมาจากเงื้อมมือของผู้ช่วงชิงไป พระราชกรณียกิจที่สำคัญที่สุด การรวบรวมบรรดาหัวเมืองต่างๆ เข้าอยู่ภายใต้การปกครองเดียวกัน เนื่องจากมีคนพยายามตั้งตัวขึ้นเป็นผู้นำในท้องถิ่นต่างๆ มากมาย  เช่น  ชุมนุมเจ้าเมืองพิษณุโลก ชุมนุมเจ้าเมืองพิมาย ชุมนุมเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เป็นต้น    ตลอดรัชกาล มีศึกสงครามเกิดขึ้นมากมาย ได้แก่ ศึกพม่าที่บางกุ้ง ศึกเมืองเขมร ศึกเมืองเชียงใหม่ ศึกเมืองพิชัย ศึกบางแก้ว ศึกอะแซหวุ่นกี้ ศึกจำปาศักดิ์ ศึกวียงจันทน์   ซึ่งพระเจ้ากรุงธนบุรีได้รับชัยชนะในการศึกมาโดยตลอดในสมัยกรุงธนบุรีตอน ปลาย  จากหลักฐานต่างๆ มีระบุไว้ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีสติฟั่นเฟือน  ไม่อยู่ในทศพิธราชธรรม  กระทำการข่มเหงประชาราษฎร์ให้ได้รับความเดือดร้อน  เป็นเหตุให้เกิดความวุ่นวายในกรุงธนบุรี  พระยาสรรค์กับพวกควบคุมสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไว้  ต่อมาสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)  ได้ยกทัพกลับจากการปราบจลาจลที่เขมร  และปรึกษากับเหล่าขุนนางกรณีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  โดยเห็นว่าควรนำไปประหารชีวิต สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  สวรรคตเมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช   พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ (สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสรรเพชญ) หรือ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๑๗๕ – พ.ศ. ๒๒๓๑ ครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๙๙ – พ.ศ. ๒๒๓๑) พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๒๗ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย ทรงมีพระราชกรณียกิจที่สำคัญตลอดรัชกาลของพระองค์ ทั้งด้านการทหาร วรรณคดี และการทูต โดยเฉพาะการส่งคณะราชทูต นำโดยเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ไปเชื่อมสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งราชวงศ์บูร์บง สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าปราสาททอง และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกัลยาณี อัครราชเทวี พระราชมารดาเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เสด็จพระบรมราชสมภพ เมื่อ วันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. ๒๑๗๕ และทรงมีพระนมอยู่พระองค์หนึ่งคือ เจ้าแม่วัดดุสิต ทรงเป็นพระอนุชาใน สมเด็จเจ้าฟ้าไชย และยังทรงมีพระอนุชาอีกได้แก่ เจ้าฟ้าอภัยทศ พระไตรภูวนาทิตยวงศ์ พระองค์ทอง และพระอินทราชา สมเด็จพระนารายณ์ทรงรับการศึกษาจากพระโหราธิบดี ซึ่งเป็นข้าราชการระดับสูงในพระราชวัง และพระอาจารย์พรหม พระพิมลธรรม รวมทั้งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์และพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ระดับสูงในพระนคร พระราชกรณียกิจที่สำคัญ – การลดส่วยและงดเก็บภาษีอากรจากราษฎรเป็นเวลา ๓ ปีเศษ – การประกาศใช้กฎหมายพระราชกำหนดและกฎหมายเพิ่มเติมลักษณะรับฟ้อง – การส่งเสริมงานด้านวรรณกรรม  หนังสือที่แต่งในสมัยนี้  เช่น  สมุทรโฆษคำฉันท์  โคลงทศรถสอนพระราม  โคลงพาลี-สอนน้อง  โคลงราชสวัสดิ์  เพลงพยากรณ์กรุงเก่า  เพลงยาวบางบท  รวมถึงวรรณกรรมชิ้นสำคัญ  คือ  โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์ นับเป็น  ยุคทองแห่งวรรณกรรม  ของไทยยุคหนึ่ง – การทำศึกสงครามกับเชียงใหม่และพม่า พ.ศ.๒๒๐๓  และได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ ลงมาอยุธยาด้วย – ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศนั้น  เจริญรุ่งเรืองมาทั้งประเทศตะวันออก เช่น จีน อินเดีย และประเทศตะวันตกที่สำคัญ ได้แก่ โปรตุเกส ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส  ทั้งด้านการเชื่อมสัมพันธไมตรีและการป้องกันการคุกคามจากชาติต่างๆ เหล่านี้จากพระราชกรณียกิจต่างๆ ดังกล่าว  จึงทรงได้รับการยกย่องว่าทรงเป็น มหาราช พระองค์หนึ่ง อีกทั้งในรัชสมัยของพระองค์ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคสำคัญด้านศิลป วัฒนธรรมยุคหนึ่งด้วย  สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๒๓๑  ที่เมืองลพบุรี ราชธานีแห่งที่สองที่พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  พระราชประวัติ             สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จพระราชสมภพ ณ เมืองพิษณุโลก เมื่อปีเถาะ พุทธศักราช 2098 พระองค์เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชา และพระวิสุทธิกษัตรี ราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ และสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ดังนั้น พระองค์จึงมีพระชาติ ทั้งราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัยทางพระราชบิดา และราชวงศ์อยุธยาทางพระราชมารดา พระองค์ทรงมีพระพี่นาง พระนามว่า พระสุวรรณเทวีหรือพระสุพรรณกัลยา และพระน้องยาเธอ พระนามว่า สมเด็จพระเอกาทศรถ เมื่อพระองค์มีพระชันษาได้ 9 ปี พระเจ้าหงสาวดีได้ขอไปเป็นพระราชบุตรบุญธรรม พระองค์ได้ประทับอยู่ที่หงสาวดีถึง 6 ปี เมื่อพระชันษาได้ 15 ปี จึงได้เสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา เพื่อช่วยราชการพระบิดา โดยได้เสด็จขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก พระราชกรณียกิจ พระราชภารกิจของพระองค์  ได้แก่  การทำศึกสงคราม  โดยเฉพาะสงครามครั้งสำคัญ  คือ  สงครามยุทธหัตถี  ที่ทรงรบกับพม่าที่ตำบลหนองสาหร่าย  ซึ่งพระองค์ทรงมีชัยชนะอย่างเด็ดขาดและถือเป็นพระเกียรติสูงสุด  เป็นวีรกรรมสุดยอดของกษัตริย์  แม้แต่ฝ่ายแพ้ก็ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นนักรบแท้  หลังจากนั้นตลอดระยะเวลา ๑๕๐ ปี  กรุงศรีอยุธยาไม่ถูกรุกรานจากพม่าอีก  สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางครอบคลุมทั้งล้านนา ล้านช้าง  ไทใหญ่  และกัมพูชา  รวมถึงพม่า  ครั้งสุดท้าย  คือ  การเดินทัพไปตีเมืองอังวะ  ซึ่งพระองค์ประชวรและสวรรคตที่เมืองหาง  ใน พ.ศ. ๒๑๔๘  พระชนมายุได้  ๕๐  พรรษา  เสวยราชสมบัติได้  ๑๕  ปี   สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นวีรกษัตริย์ที่ได้รับการจารึกไว้ในประวัติ ศาสตร์ในฐานะผู้กอบกู้เอกราชให้แก่กรุงศรีอยุธยา  ประชาชนชาวไทยจึงยกย่องพระองค์ให้เป็น  มหาราช  พระองค์หนึ่ง สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (พระเชษฐาธิราช) พระราชประวัติ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พระนามเดิมว่า พระเชษฐาธิราช ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๑๕ ที่เมืองพิษณุโลก ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้อภิเษกเป็นพระมหาอุปราชเมื่อพระชนมายุได้ ๑๓ พรรษา เมื่อสมเด็จพระราชบิดาเสด็จสวรรคต พระองค์ได้ถวายราชสมบัติแก่พระบรมราชาธิราชที่ ๓ ผู้ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดา และครองกรุงศรีอยุธยาอยู่ก่อนแล้ว เนื่องจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จไปประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก พระองค์จึงอยู่ในฐานะพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ เสด็จสวรรคต พระองค์จึงเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๓๔ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่สิบของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงจัดให้มีการจัดระเบียบกองทัพ และแต่งตำราพิชัยสงคราม ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้จัดทำบัญชีกำลังพล เมื่อปี พ.ศ.๒๐๖๑ เพื่อเกณฑ์พลเมืองเข้ารับราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน โดยกำหนดให้ไพร่ที่เป็นชาย อายุตั้งแต่ ๑๘ – ๖๐ ปี ต้องเข้ารับราชการทหาร ยกเว้นผู้ที่มีบุตรชายแล้วเข้ารับราชการ ตั้งแต่สามคนขึ้น ผู้เป็นบิดาจึงพ้นหน้าที่รับราชการทหาร ชายที่มีอายุ ๑๘ ปี ต้องขึ้นทะเบียนทหารเพื่อเข้ารับการฝึกหัดทหาร เรียกว่า ไพร่สม   เมื่ออายุ ๒๐ ปี จึงเรียกเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการเรียกว่า ไพร่หลวง ส่วนพวกที่ไม่สามารถมารับราชการทหารได้ ก็ต้องมีของมาให้ราชการเป็นการชดเชยเรียกว่า ไพร่ส่วย พระราชกรณียกิจ ใน พ.ศ. ๒๐๕๔ โปรตุเกสได้เข้ามาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยา นับเป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย ไทยจึงเริ่มเรียนรู้ศิลปวิทยาของชาวตะวันตกโดยเฉพาะด้านการทหาร  ทำให้สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒  ทรงพระราชนิพนธ์ตำราพิชัย-สงครามของไทยได้เป็นครั้งแรก  นอกจากนี้ทรงให้ทำสารบัญชี  คือ  การตรวจสอบจัดทำบัญชีไพร่พลทั้งราชอาณาจักร นับเป็นการสำรวจสำมะโนครัวครั้งแรก  โดยทรงตั้งกรมสุรัสวดีให้มีหน้าที่สำรวจและคุมบัญชีไพร่พล ทางด้านศาสนา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงสร้างวัดพระศรีสรรเพชญ์ไว้ในเขตพระราชฐานและให้หล่อ  พระศรีสรรเพชญ์  สูง 8 วา  หุ้มทองคำ ไว้ในพระมหาวิหารของวัดด้วย  ในรัชสมัยนี้อยุธยาและล้านนายังเป็นคู่สงครามกันเช่นเดิมเนื่องจากกษัตริย์ ล้านนา  คือ  พระเมืองแก้ว  (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๐๓๘ – ๒๐๖๘)  พยายามขยายอาณาเขตลงมาทางใต้ จนถึง พ.ศ. ๒๐๖๕  มีการตกลงเป็นไมตรีกัน สงครามจึงสิ้นสุดลง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระราชประวัติ             พระบรมไตรโลกนาถ ทรงเป็นโอรสของเจ้าสามพระยา และมีพระมารดาเป็นเจ้าหญิงจากราชวงศ์สุโขทัย ดังนั้นพระองค์จึงมีเชื้อสายของฝ่ายอยุธยา(ราชวงศ์สุพรรณบุรี) และราชวงศ์สุโขทัย เมื่อพระธรรมราชาที่ 4 แห่งราชวงศ์สุโขทัยเสด็จสวรรคต พระบรมไตรโลกนาถเมื่อยังทรงดำรงตำแหน่ง พระราเมศวร พระชนมายุเพียง 7 พรรษา ได้ถูกส่งขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก (ซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยสมัยนั้น) แทน และเมื่อพระราชบิดาสวรรคต พระองค์ก็ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ของอยุธยาเมื่อพระชนม์ 17 พรรษา พระบรมไตรโลกนาถเป็นมหากษัตริย์ที่ทรงมีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา ในช่วงที่ทรงปกครองอยู่ที่พิษณุโลก พระองค์ได้ดำเนินนโยบายเกี่ยวกับศาสนาแบบฉบับของพระเจ้าแผ่นดินสุโขทัยคือ ตามแบบของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ทำให้พระองค์ได้รับการยอมรับและยกย่องจากฝ่ายราชวงศ์สุโขทัย ในปี พ.ศ. 2008 พระองค์ทรงออกผนวชเป็นเวลา 8 เดือน (ตามรอยพระธรรมราชาที่ 1) และทรงให้มีการบูรณะฟื้นฟูวัด เช่น วัดพระศรีมหาธาตุ อันเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธชินราช อันเป็นพระพุทธรูปสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในเมืองพิษณุโลก และทรงให้มีการก่อสร้างปรางค์ที่ วัดจุฬามณี อันเป็นที่ประทับในระหว่างที่ออกผนวช พระราชกรณียกิจที่สำคัญ    1. การรวมอาณาจักรสุโขทัยเข้ากับอยุธยา เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นเสวยราชย์ใน พ.ศ. ๑๙๙๑ นั้น ทางสุโขทัยไม่มีพระมหาธรรมราชาปกครองแล้ว คงมีแต่พระยายุทธิษเฐียร  พระโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ ๔   ได้รับแต่งตั้งจากอยุธยาให้ไปปกครองเมืองพิษณุโลก ถึง      พ.ศ. ๑๙๙๔  พระยายุทธิษเฐียรไปเข้ากับพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา  พระราชมารดาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ปกครองเมืองพิษณุโลกต่อมาจนสิ้นพระ ชนม์เมื่อ พ.ศ.๒๐๐๖  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้เสด็จไปประทับที่พิษณุโลกและถือว่าอาณาจักรสุโขทัย ถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยานับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 2. ด้านการปฏิรูปการปกครอง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีพระประสงค์ที่จะดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางหรือ ราชธานี  จึงลดบทบาทของเจ้านายลงและเพิ่มอำนาจให้ขุนนาง  เพื่อป้องกันการแย่งชิงอำนาจจากเชื้อพระวงศ์ เช่น ลดฐานะเมืองลูกหลวง เมืองหลานหลวงลงเป็นเมืองชั้นจัตวาและส่งขุนนางไปปกครองแทนเจ้านาย มีการแยกฝ่ายทหารและพลเรือนโดยใช้ขุนนางตำแหน่งสมุหพระกลาโหมดูแลกิจการฝ่าย ทหาร  สมุหนายกดูแลกิจการฝ่ายพลเรือนทั่วราชอาณาจักร ทรงตรากฎมนเทียรบาลขึ้นเพื่อความมั่งคงของสถาบันกษัตริย์  นอกจากนี้ยังทรงตราพระราชกำหนดศักดินา  ได้แก่  พระอัยการตำแหน่งนาพลเรือนและพระอัยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง   พ.ศ. ๑๙๙๘  เพื่อประโยชน์ในการลำดับชั้นของบุคคลว่ามีศักดิ์ สิทธิ์ และอำนาจหน้าที่ต่างกันอย่างไร  เป็นการจัดระเบียบการปกครองให้มีแบบแผนรัดกุมกว่าเดิมในรัชสมัยสมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถ อยุธยาทำสงครามยืดเยื้อกับอาณาจักรล้านนา ซึ่งมีพระเจ้าติโลกราชเป็นกษัตริย์ (ครองราชย์ พ.ศ. ๑๙๘๔ – ๒๐๓๐)  ทำให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถประทับที่เมืองพิษณุโลกนานถึง ๒๕ ปี  เพื่อดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือและเพื่อความสะดวกในการป้องกันการรุกรานของล้าน นา  ในระยะนี้จึงถือว่าเมืองพิษณุโลกมีฐานะเป็นราชธานีของอาณาจักรอยุธยา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสวรรคตใน พ.ศ. 2031  ทรงอยู่ในราชสมบัติ 40 ปี นับว่านานที่สุดในบรรดากษัตริย์อยุธยาทุกพระองค์

สัปดาห์ที่ 28 พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้             ดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ครอบคลุมพื้นที่ในปัจจุบัน ได้แก่ประเทศตุรกี เลบานอน อิสราเอล จอร์แดน อิรัก อิหร่านซาอุดีอาระเบียคูเวตไซปรัส โอมาน กาตารสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์บาห์เรนและเยเมนดินแดนบริเวณนี้มีเรื่องราวทางประวัติสาสตร์์ตั้งแต่อารยธรรมเริ่มแรก ที่มีกลุ่มชนกลุ่มต่างๆ ข้ามามีอำนาจผลัดเปลี่ยนกัน ปกครองโดยเริ่มประมาณ 500 ปีก่อนพุทธศักราช             ชาวบาบิโลนและชาวอัสซีเรีย ซึ่งมีอำนาจอยู่ได้ถูกโค่นล้มไปในที่สุดและมหาอำนาจที่ขึ้นมาครอบครองดินแดนนี้คือชาวเปอร์เซีย             ภายหลังจากนั้นดินแดนในภูมิภาคนี้ได้รับอิทธิพลจากความเชื่อนศาสนาอิสลาม เป็นจักรวรรดิอิสลาม ดังนี้ การสถาปนาอาณาจักรเปอร์เซีย  ( ประมาณ 31 ปี ก่อนพุทธศักราช –พ.ศ. 230 )             ชาวเปอร์เชียเป็นชนในกลุ่มชาติพันธุ์อินโดยูโรเปียนมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ริเวรทางใต้ของรัสเซียและเอเชียกลางเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ยุคแรกๆ คือเมื่อประมาณ 257 ปีก่อนพุทธศักราช             ดังปรากฏในเอกสารอัสซีเรียซึ่งบันทึกไว้ว่ากษัตริย์อัสซีเรียได้รบชนะพวกบัคส และเปอร์เซีย จึงผนวกเอาดินแดนทั้งสองพวกนี้เป็นส่วนหนึ่งของอัสซีเรียแต่ชาวเปอร์เซียไม่ยอมจำนน              จึงได้ก่อกบฏต่อต้านพวกอัสซีเรียเรื่อยมาจนกระทั่งประมาณ 31 ปี ก่อนพุทธศักราช ชาวเปอร์เซียจึงสามารถรบชนะพวกอัสซีเรียและยึดเมืองหลวงได้สำเร็จ             โดยกษัตริย์ไซรัสมหาราช แห่งเปอร์เซีย( ประมาณ 17 ปีก่อนพุทธศักราชถึง พ.ศ. 13 )ทรงรวบรวมประชาชนเชื้อชาติเดียวกันให้เป็นปึกแผ่น              ในรัชสมัยของพระองค์ได้ทำสงครามพิชิต ดินแดนต่างๆและกษัตริย์แห่งจักรวรรดิเปอร์เซียองค์ต่อมามีอำนาจมากขึ้น สามารถขยายดินแดนออกไปอย่างว้างขวางโดยเฉพาะในสมัยของพระเจ้าดา ริอุสมหาราชครองราชยประมาณ พ.ศ. 22-85 ดินแดน             อาณาจักรของเปอร์เซีย มีอาณาเขตทางตะวันตกเริ่มจากแม่น้ำไนล์ในอียิปต์ไปจนจรดแม่น้ำสินธุทางตะวันออก ล้วนเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์             ทำให้อาณาจักรเปอร์เซียในยุคนั้นมีความมั่งคั่งอันเนื่องจากความครอบครองทรัพยากรในดินแดนดังกล่าว              รวมทั้งติดต่อค้าขายกับดินแดนเหล่านั้น เช่น การติดต่อกับอินเดีย โดยส้นทางมหาสมุทรอินเดีย และแล่นเรือเลียบฝั่งทะเลอาหรับไปยังทะเล แดง เดินทางไปถึงอียิปส์             เปอร์เซียมีอำนาจเหนือดินแดนที่ปกครอง ต่อเนื่องมาจนถึงปลายรัชกาลพระเจ้า ดาริอุสมหาราช              ทั้งนี้เนื่องจากเปอร์เซียทำสงครามกับนครรัฐกรีก การทำสงครามกับกรีกติดพันต่อมาจนกระทั่งพระเจ้าดาริอุสมหาราชสวรรคต              พระโอรสของพระองค์ยังคงทำสงครามกับกรีกต่อมารวมทั้ง ทำสงครามปราบปรามผู้นำในดินแดนต่างๆ ที่ไม่ยอมรับอำนาจของพระองค์             ในที่สุดพระโอรสของพระเจ้าดาริอุสมหาราช ทำสงครามพ่ายแพ้นครรัฐกรีก จึงเป็นเหตุให้พระองค์ ยุตินโยบายการขยายดินแดน              แต่ก็ยังคงรักษาอำนาจในดินแดนเอเชียและแอฟริกาที่เปอร์เซียยึดครองไว้ได้ โดยมีศูนยกลางการปกครองอยู่ที่กรุงเปอร์ซีโปลิสในประเทศอิหร่านปัจจุบัน การเมืองการปกครอง             อาณาจักรเปอร์เซีย ปกครองโดยแบ่งจักรวรรดิออกเป็น 20 มณฑล แต่ละมณฑล มีข้าหลวงปกครองและกษัตริย์ทรงแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายจัดเก็บภาษีเป็นผู้แทนพระองค์ ไปประจำแต่ละมณฑล             นอกจากนี้ยังมีผู้ตรวจราชการพิเศษ คอยเป็นหูเป็นตาให้กับกษัตริย์ โดยผู้ตรวจราชการจะเดินทางไปตรวจราชการตามมณฑลต่างๆ โดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า             ในเขตแดนอาณาจักรเปอร์เซียประกอบด้วยประชากรหลายเชื้อชาติ ประชากรเหล่านั้นได้รับอนุญาตให้ดำเนินชีวิต ตามวัฒนธรรมของตน รวมทั้งความเชื่อทางศาสนา              แต่ต้อปฏิบัติตามกฎหมายของอาณาจักร อาณาจักรเปอร์เซียพัฒนาระบบการคมนาคม โดยสร้างถนนเชื่อมระหว่าง ดินแดนต่างๆ ในจักรวรรดิ              และมีการสร้างสถานที่พักระหว่างทางซึ่งมีอาหารม้า และน้ำสำหรับผู้เดินทางทุกๆ 14 ไมล์ ทำให้สะดวกรวดเร็วในการเดินทาง              นอกจากนี้ยังส่งผลดีด้านการปกครอง ต่อจักรวรรดิเพราะเมืองหลวงสามารถที่จะควบคุมอำนาจ และแก้ไขเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามมณฑลต่างๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว เศรษฐกิจ             ดินแดนอาณาจักรเปอร์เซียในสมัยนั้นมีอาณาเขตกว้างขวาง ทำให้อาณาจักรเปอร์เซียในยุคนั้นมีความมั่งคั่งอันเนื่องจากทรัพยากรในดินแดนดังกล่าว              อาณาจักรนี้มีความสำคัญในการเชื่อมต่อ การค้าจากอินเดีย ซึ่งเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์มีทรัพยากรที่สำคัญ ได้แก่ ไหมทองคำ เพชรและมีสัตว์ แปลกๆ              โดยเส้นทางทะเลจากบริเวณอ่าวเปอร์เซียสามารถแล่นเรือข้ามทะเลอาหรับไปยังทะเลแดง เดินทางไปจนถึงอียิปส์ สังคมและวัฒนธรรม             ความเชื่อทางศาสนา ในดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ประกอบด้วยกลุ่มชนหลายเผ่าพันธุ์ ซึ่งแต่ละเผ่าต่างนับถือเทพเจ้าประจำเผ่า              ซึ่งมีหลายองค์เทพเจ้าต่างๆมัก เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ เช่น เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์พายุหรือเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์             และเทพเจ้าแห่งสงครามแต่มีเผ่าฮิบรูหรือ ชาวยิว ที่นับเทพเจ้าองค์เดียวเป็นเทพเจ้าประจำเผ่า              ในเวลาต่อมาคติในความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวทำให้มีการพัฒนาเป็นศาสนาสำคัญของโลกคือ ศาสนายูดาย คริสต์ศาสนาและศาสนาอิสลาม              ศาสนาที่เป็นศาสนาดั้งเดิมของชาวเปอร์เซียได้แก่ศาสนาโซโรแอสเตอร์ มีหลักคำสอนให้รู้จักว่า มีทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว              ฝ่ายดีมีพระอาหุรา มาสดา เป็นเทพเจ้าแห่งความดี และความยุติธรรม              ฝ่ายชั่วคืออาหริมันเป็นเทพเจ้าแห่งความชั่วและความเดือดร้อน             ศาสนาโซโรแอสเตอร์ ยังมีผู้นับถือและประกอบพิธีกรรม             ในปัจจุบันภาษา การปกครองอาณาจักรอันกว้างไกลของเปอร์เซียมีการใช้ภาษาอรามาอิคเป็นภาษากลาง              ซึ่งพัฒนามาจากภาษาของชาวอัสซีเรียแต่ไม่ใช้ตัวอักษร “ลิ่ม” ของชาวสุเมเรียนเป็นตัวเขียน แตนำตัวอักษรของชาวฟินีเซีย เขียนเป็นภาษา่อรามาอิคแทนความเชื่อของอาณาจักร             เปอร์เซียเมื่อประมาณ พ.ศ. 200 พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช แห่งกรีกได้ยกทัพมาพิชิต เปอร์เซียแล้วผนวกเอาเปอร์เซีย เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรกรีกสาเหตุที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชยกกองทัพมาโจมตีเปอร์เซีย              เนื่องจากเปอร์เซียยังคงมีอำนาจอยู่ในดินแดนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้านเอเชียซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับนครรัฐกรีกทำให้นครรัฐกรีกหวาดกลัวว่าเปอร์เซียอาจยกทัพมาโจมตีอีกในที่สุด             พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช จึงได้รวบรวมกองทัพกรีก เริ่มโจมตีชายแดนของอาณาจักรเปอร์เซียที่ตุรกี อียิปส์ ดินแดนบนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้านเอเชีย และเมืองในลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส จนกระทั่งเข้าโจมตีกรุงเปอร์ซีโปลิสและยึดได้ประมาณ พ.ศ. 230             ผลจากการขยายอำนาจของกรีก เข้ามาในดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างคนพื้นเมืองกับชาวกรีก               จึงทำให้ อารยธรรมกรีกในด้านปรัชญาและศาสนา ตลอดจนความรด้านวิทยาศาสตรและูการแพทย์ สถาปัตยกรรมและประติมากรรมแพร่หลายในดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้             ขณะเดียวกันแคว้นต่างๆ ที่อยู่ในภายใต้อาณาจักรเปอร์เซียแยกแตก ออกไปเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย              บรรดาผู้นำและเผ่าพันธุ์อันหลากหลายต่างสู้รบกันเพื่อตั้งตัวขึ้นเป็นใหญ่และได้ครอบครองดินแดนที่อุดมสมบูรณ์สภาพความแตกแยกระหว่างเผ่าพันธุ์ต่างๆดำเนินมาจนกระทั่งในที่สุดจึงได้รวมกันภายใต้จักรวรรดิอิสลาม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในดินแดนเอเชียใต้             เอเชียใต้มีพื้นที่ครอบคลุมดินแดนสำคัญ ได้แก่ ประเทศอินเดีย เนปาล บังกลาเทศ ปากีสถาน อัพกานิสถาน ภูฎานมัลดีฟส์ และศรีรังกาในปัจจุบัน ดินแดนแห่งนี้มีลักษณะเด่นประการหนึ่งคือได้รับอิทธิพลจากอายธรรมอินเดียละ อารยธรรมอิสลามดังนั้น             การอธิบายเรื่องพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอเชียใต้ จึงนำเสนอประวัติศาสตร์อินเดีย และศรีลังกา เนื่องจากเป็นชาติที่มีประวัติิต่อเนื่องยาวนานโดยแบ่งหัวข้อออกเป็นดังนี้ 1. ประวัติศาสตร์อินเดีย ( ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 3-23 )             1. ยุคราชวงศ์ ( พุทธศตวรรษที่ 3-17 ) อินเดียในยุโบราณแบ่งแยกเป็นแว่นแคว้นอิสระมีพระราชาหรือกษัตริย์ปกครองแต่ละแคว้น              ซึ่งบางครั้งกษัตริย์เหล่า นี้ต่างทำสงครามสู้รบกัน เนื่องจากอินเดียมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เช่นผ้า อัญมณี เครื่องเทศ และ สัตว์ป่านานาชนิด              จึงทำให้อินเดียถูกรุกรานจากศัตรูภายนอก เช่นเปอร์เซียนและกรีก ในพุทธศตวรรษที่ 3 อินเดียเผชิญกับการรุกราน จากกองทัพพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช แม้ว่ากองทัพหลวงได้ถอยทัพกลับไป แต่ยังมีีแม่ทัพนายกองตั้งทัพอยู่              ในที่สุดพระเจ้าจันทรคุปต์ จึงรวบรวมกำลังขับไล่กองทัพกรีกออกไป และรวบรวมอินเดียเป็นหนึ่งอันเดียวกันได้เป็นครั้งแรก             พระเจ้าจันทรคุปต์ทรงสถาปนาราชวงศ์เมารยะ ( ระหว่าง พ.ศ. 221 -358 ) โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปาฏลีบุตรแห่งแคว้นมคธ ซึ่งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มน้ำคงคาทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย              พระองค์ ทรงรวบรวมแคว้นในลุ่มน้ำสินธุและคงคา ทำให้ดินแดนภายใต้การปกครองของราชวงศ์เมารยะขยายออกไป              กษัตริย์ที่ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าจันทรคุปต์ คือ พระเจ้าพินทุสารพระองค์ทรงขยายอาณาจักรลงไปทางตอนใต้ บริเวณที่ราบสูงเดคคาน              เมื่อสิ้นรัชกาลของพระองค์พระราชโอรส คือพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงขยายอาณาจักรครอบคลุมที่ทางตอนเหนือของแม่น้ำสินธุทั้งหมด และขยายอำนาจลงมาทางตะวันออกเฉียงใต้ถึงแม่น้ำกฤษณา             การขยายอำนาจในครั้งนั้นมีการสู้รบครั้งสำคัญเมื่อปี พ.ศ. 281 กล่าวคือพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงโจมตีแคว้นลิงคะที่มีความมั่งคั่งและมีความเข้มแข็งทางทหารจนได้รับชัยชนะ              แต่ผลของสงครามทำให้มีผู้ส้นชีวิตจำนวนมาก พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสลดพระทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงยุติการทำสงคราม แล้วเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา พระองค์ทรงสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 311              ภายหลังจากรัชกาลของพระองค์ บรรดาพระราชโอรสทรงขัดแย้งกันเอง และขณะเดียวกันเจ้าเมืองที่อยู่ภายใต้อำนาจ ราชวงศ์เมารยะ ต่างตั้งตัวเป็นอิสระ โดยอำนาจจากส่วนกลาง ไม่สามารถปราบปรามได้ ราชวงศ์เมารยะจึงค่อยๆ เสื่อมอำนาจลง              จักรวรรดิของราชวงศ์เมารยะยังถูกศัตรภายนอกรุกรานจากทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือได้แก่ พวกพื้นเมืองเชื้อสายกรีก กษัตริย์องค์สำคัญของพวกนี้ พระเจ้ามิลินทร์             นอกจากนี้ยังมีชนเผ่ากุษาณะที่ได้ตั้งอาณาจักรกุษาณะขึ้นทางตอนเหนือของอินเดีย ราชวงศ์กุษาณะ แต่เดิมเป็นชนเผ่าเร่ร่อนได้เข้าครอบครองดินแดนทางตอนเหนือของอินเดีย และสถาปนากุษาณะ ประมาณ พ.ศ. 432 -800 โดยมีเมืองหลวงคือเมืองเปษวาร์ และมีเมืองตักศิลา เป็นศูนย์กลางความเจริญ              กษัตริย์ที่มีอำนาจแห่งราชวงศ์นี้ คือพระเจ้ากนิษกะ แต่ภายหลังจากรัชกาลของพระองค์ ราชวงศ์กุษาณะสลายลง เนื่องจากถูกุกรานจากชนเผ่าที่มาจากเอเชียกลาง              จึงทำให้บ้านเมืองแตกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย หลังจากอาณาจักรกุษาณะเสื่อมอำนาจ อินสามารถรวบรวมเป็นปึกแผ่นได้อีกครั้งภายใต้การปกครองของ ราชวงศ์คุปตะ ( พ.ศ. 863 -1078 )              ผู้สถาปนาราชวงศ์คือ พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 สมัยราชวงศ์คุปตะถือกันว่าเป็นยุคแห่งอารยธรรมฮินดูในภาคเหนือของอินเดีย              การฟื้นฟูศาสนาและศิลปะฮินดูในสมัยนี้เกิดจากการต่อต้านการปกครองของราชวงศ ต่างชาติในศตวรรษที่ผ่านมา ราชวงศ์คุปตะเจริญสูงสุดในรัชสมัยของพระเจ้าจันทรคุปตที่ 2 ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 918 – 958ทรงทำสงคราขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวาง             ต่อมาราชวงศ์คุปตะค่อยๆ หมดอำนาจลงเนื่องจากกษัตริย์อ่อนแอ ทั้งยัง์ถูกชาวฮั่นทางตอนเหนือยกทัพเข้ามารุกรานจนปกครองอินเดียตอนเหนือได้ทั้งหมด ทำให้ราชวงศ์คุปตะหมด อำนาจลงอินเดียในยุคราชวงศ์ได้พัฒนาในด้านต่างๆดังนี้ การเมืองการปกครอง             ในยุคราชวงศ์เมารยะ ซึ่งปกครองอาณาจักรอินเดียอันกว้างใหญ่ไพศาล ได้ใช้วิธีการปกครอง ที่กษัตริย์ทรงมีอำนาจเด็ดขาดในการปกครอง              ซึ่งเป็นผลจากการรับแนวคิดจากคัมภีร์อรรถศาสตร์ ที่ว่าด้วยการสร้างและรักษาอำนาจการใช้วิเทโศบายทางการเมืองต่างๆ  เพื่อเอาชนะศัตรูในด้านการบริหารงานราชการแผ่นดินแบ่งเป็น 3 ฝ่ายคือ -ฝ่ายตุลาการ มีกษัตริย์เป็นประมุข -ฝ่ายทหาร มีกษัตริย์เป็นจอมทัพ ควบคุมกองทหารต่างๆ -ฝ่ายพลเรือน ประกอบด้วยข้าราชการส่วนกลาง และหัวเมือง             โดยราชการส่วนกลางแบ่งเป็น 6 หน่วยตามประเภทงานคือ  หน่วยดูแลชาวต่างชาติ  หน่วยจัดทำทะเบียนประชากร หน่วยดูแลการค้าขาย  และหน่วยทำหน้าที่เก็บเป็นต้น             ส่วนหัวเมืองแบ่งแคว้นเรียกว่า  เทศาแต่ละ เทศาแบ่งย่อยออกไปจนถึงหมู่บ้านตามลำดับ ผู้ปกครองเทศเรียกว่าราชาหรืออุปราช ที่อาจเป็นพระราชวงศ์หรือขุนนางผู้ใหญ่ขึ้นตรงต่อกษัตริย์              นอกจากนี้ส่วนกลางยังแต่งตั้งข้าราชการจากเมือง หลวงและหน่วยสืบราชการลับคอยสอดส่องการปฏิบัติงานของขุนนางหัวเมือง              นอกจากดูแลความสงบเรียบร้อยแล้วยังมีการ พัฒนาด้านต่างๆ การชลประทาน การทำเหมืองแร่ การทำป่าไม้ เป็นต้นรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช              ในระยะต้นราชการ พระองค์ยังคงใช้วิธีการปกครองตามแนวของคัมภีร์อรรถศาสตร์ของฮินดู แต่เมื่อทรงเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา             พระองค์ทรงเปลี่ยนวิธีการปกครอง โดยใช้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นแนวทาง โดยกษัตริย์มีฐานะเป็น “ ธรรมราชา’’ และไม่ยึดมั่นในระบบวรรณะอย่างเคร่งครัด              ดังนั้นในสมัยราชวงศ์เมาเรยะ ข้าราชการชั้นผู้น้อยที่มีความสามารถจึงขึ้นสู่ตำแหน่งสูงได              ราชวงศ์กุษาณะ บริหารราชการแผ่นดินคล้ายกับสมัยราชวงศ์ คุปตะ คือ กษัตริย์ทรงมีอำนาจมาก              ทรงบริหารงานการปกครอง โดยมีคณะที่ปรึกษาและข้าราชการ ซึ่งได้รับหมอบหมายให้ทำหน้าที่ต่างๆ กัน              การแต่งตั้งข้าราชการโดยมิได้มีการแบ่งแยกวรรณะ หรือความแตกต่างทางเชื้อชาติ เนื่องกษัตริย์พระราชวงศ์นี้นับถือพระพุทธศาสนา             แต่การปกครองสมัยราชวงศ ์คุปตะ ฐานะของกษัตริย์เปลี่ยนไปโดยได้รับการยกย่องให้เป็นสมมุติเทพ มีพระราชอาจเด็ดขาด              แต่ขณะเดียวกันก็ต้องปกครองราษฎรให้มีความสงบสุข และกษัตริย์ ต้องประพฤติอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม              สำหรับการบริหารราชการทั้งส่วนกลางและหัวเมืองมีรูปแบบคล้ายการปกครองสมัยราชวงศ์เมารยะ เศรษฐกิจ ยุคราชวงศ์เมารยะ มีความก้าวหน้าทางด้านต่างๆ คือ ด้านการเกษตรมีการปลูกข้าวเป็นอาชีพหลัก รัฐจัดทำแปลงนาสาธิตเพื่อเป็นการพัฒนาผลผลิต มีการปรับปรุงชลประทานอุตสาหกรรม และการค้ามีทั้งการค้าภายในกับการค้ากับต่างชาติ ด้านการค้าภายในีการจัดขบวนการคาเป็นรูปแบบ ของกองเกวียนคาราวาน โดยรัฐจัดการให้มีการสร้างถนนเชื่อมโยงกับเมืองต่างๆตามเส้นทางการค้ามีที่พัก และเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ความคุ้มครองดูแลความปลอดภัย ด้านอาณาจักร เปอร์เซียและอียิปตเศรษฐกิจในสมัยราชวงศ์กุษาณะขึ้นอยู่กับการกสิกรรม์เป็นส่วนใหญ่รายได้ของประเทศขึ้นอยกับผลิตผลทางด้านเกษตรกรรมการค้าในสมัยคุปตะขยายตัวอย่างมากทั้งการค้าภาย ในประเทศและการค้าต่างประเทศ มีการค้ากับเอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน มีการใช้เหรียญเงินเหรียญทองเป็นเงินตรา แลกเปลี่ยนสินค้า วัดในพระพุทธศาสนาเป็นหน่วยเศรษฐกิจที่สำคัญอีกหน่วยหนึ่ง เนื่องจากกษัตริย์และเศรษฐีชอบบริจาคทรัพย์ และ ที่ดินให้วัด วัดส่วนมากจึงร่ำรวย มีที่ดินให้เช่า มีเงินให้กู้หรือลงทุนการค้าแข่งกับสมาคมพ่อค้า สังคมและวัฒนธรรม – ศาสนา ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชทรงเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา ดังนั้นวัดและพระสงฆ์จึงได้รับกาอุปถัมภ์ ราชวงศ์กุษาณะซึ่งนับถือ พระพุทธศาสนาได้ส่งเสริมให้มีการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในเอเชียกลาง (บนเส้นทางสายไหม ) ตลอดจนถึงชายแดนจีนจึงทำให้พระพุทธศาสนา รุ่งเรืองขึ้น ศิลปกรรม ยุคสมัยราชวงศ์เมารยะรัชกาลพระเจ้าอโศกมหาราช มักเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา แต่ในสมัยคุตศิลปกรรม มีลักษณะเป็นฮินดูอย่างแท้จริง ทั้งภาพแกะสลักและภาพวาดมีลักษณะการแสดงออกของความรู้สึกที่สำรวมงามสง่า วิทยาการ  ความเจริญทางด้านวิทยาการแขนงอื่นๆเจริญอย่างมาก วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ เคมีและการแพทย์ศูนย์กลางการศึกษาที่มหาวิทยาลัย นาลันทาและตักศิลาและพาราณสี นักดาศาสตร์ อินเดียสามารถคำนวณเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงจันทร์ได้ในด้านเคมีสามารถ ทำสบู่และซีเมนต์ด้านการแพทย์ได้รับการยกย่องว่ามีวิธีการและเทคนิคสูง ในการรักษาโรคโดยเฉพาะการผ่าตัด ความเสื่อมของยุคราชวงศ์ แม้ว่าอินเดียปกครองอาณาจักรที่กว้างใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพแต่ความเสื่อมเกิดขึ้นจากการที่พระราชวงศ์มักสู้รบกันเอง เช่น พระเจ้าอโศกมหาราชทรงปราบปรามพระเชษฐาเพื่อขึ้นครองบัลลังก์นอกจากนี้ดินแดนทางตอนเหนือของอินเดียยังถูรุกรานจากคนต่างชาติิต่างศาสนาดังเช่นอาหรับ เปอร์เซีย แอฟริก ปาทาน ตุรกีและมองโกล ซึ่งมีความเข้มแข็งในด้านการรบทำให้ตอนปลายของแต่ละราชวงศ์ในยุคราชวงศ์อาณาจักรแตกแยกเป็นแว่นแคว้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 1735 มุสลิมเชื้อสายตุรกียึดกรุงเดลลีได้มีผลให้ชาวอารยันที่เป็นชนชั้นผู้ปกครองอินเดียหมดอำนาจลง พัฒนาการประวัติศาสตร์ในดินแดนในเอเชียตะวันออก ตะวันออกมีอาณาเขตครอบคลุมประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ และมองโกเลีย ซึ่งเป็นดินแดนที่ได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมจีนที่มี แหล่งกำเนิดบริเวณลุ่มน้ำฮวงเหอต่อมาจึงแพร่หลายออกไปสู่ดินแดนใกล้เคียง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของชาติสำคัญในดินแดนเอเชียตะวันออก ได้แก่ จีน เกาหลี และญี่ปุ่น มีดังนี้ ๑.พัฒนาการทางประวัติศาสตร์จีน (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๙-๒๔)               ภายหลังจากที่ราชวงศ์ฮั่นสลายลง เมื่อ พ.ศ. ๗๖๔ ดินแดนจีนได้แตกแยกโดยมีผู้นำแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ที่เรียกว่าสมัยสามก๊ก(พ.ศ. ๗๖๔-๘๐๘) ได้แก่ กลุ่มโจโฉ ปกครองอาณาบริเวณทางตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มซุนกวน ซึ่งสืบเชื้อสายจากราชวงศ์ฮั่น ปกครองบริเวณลุ่มน้ำแยงชีและกลุ่มเล่าปปกครองบริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลเสฉวน ทั้งสามกลุ่มต่างสู้รบ เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ จนกระทั่งในที่สุดทายาทของกลุ่มโจโฉสามารถรวม อาณาจักรและตั้งราชวงศ์  ได้สำเร็จเมื่อประมาณ พ.ศ.๘๐๘ แต่กษัตริย์ราชวงศ์นี้ไม่สามารถรวบรวม อาณาจักรได้นาน เพราะเกิดการขัดแย้งทางการเมือง ภายในทำให้มีผู้ตั้งตัวเป็นกษัตริย์ปกครองแว่นแคว้นต่างๆ ขณะเดียวกันต้องเผชิญกับการรุกรานจากกกลุ่มชนทางตอนเหนือ ได้แก่ พวกตุรกี ฮั่นและมอง โกล ในที่สุดหยางเฉิน เป็นผู้นำในการรวบรวมอาณาจักรโดยปราบปรามแคว้นต่างๆ แต่ผู้ที่ตั้ง เป็นจักรพรรดิและสถาปนาราชวงศ์สุยได้สำเร็จคือหางตี้ ซึ่งเป็นโอรสของพระองค์ ราชวงศ์ซึ่งสถาปนาเมื่อ พ.ศ.๑๑๒๔ ทำการปกครองจีนต่อมาอาณาจักรถูกรุกรานจากเผาต่างๆที่มาจากทางเหนือทำให้อาณาจักร เสื่อมลงเป็นเหตุให้หลี หยวน หรือจักรพรรดิ ถัง ไท จื่อ สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิตั้งราชวงศ์ถังได้ในปี พ.ศ.๑๑๖๑ สมัยราชวงศ์ถังซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองซีอาน ถือว่าเป็นยุคทองยุคหนึ่งของจีนเนื่องจากราชวงศ์นี้ได้สร้างความเจริญในด้านต่าง ทั้งทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจการต่างประเทศยุคนี้มี กบฏเกิดขึ้นหลายครั้ง ทำให้้ราชวงศ์ถังสิ้นสุดลงใน พ.ศ. ๑๔๕๐ ภายหลังจากราชวงศ์ถึงระหว่าง พ.ศ. ๑๔๕๐-๑๕๐๓ อาณาจักร จีนอันกว้างขวางได้แตกแยกเป็นแคว้นถึงสิบแคว้นมีกษัตริย์ปกครองเป็นอิสระในที่สุดนายพลเจา กวง หยิน สามารถตั้งตัวเป็นจักรพรรด ิซ่ง ไทย สือ ผู้สถาปนาราชวงศ์ซ่ง(พ.ศ. ๑๕๐๓-๑๘๒๒) ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไคฟงและเมืองฮังโจวราชวงศ์นี้แม้ว่าได้ทำการปรับปรุงเศรษฐกิจ การฃปกครองและการศึกษา แต่เนื่องจากต้องใช้จ่ายเงินในการป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าที่อยู่ทางตอนเหนือ โดยเฉาะพวกมองโกลและเกิดภาวการณ์เพิ่มประชากร ทำให้มีผลกระทบเช่นความอด อยาก การขาดแคลนที่ดินทำกิน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ราชวงศ์นี้เสื่อมลง โดยถูกพวกมองโกลยึดครองกุลไลข่านชาวมองโกลได้สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หยวน (พ.ศ.๑๘๒๒-๑๙๑๑)มีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองข่านพาลิก(ปัจจุบันคือกรุงปักกิ่ง)ในรัชกาลจักรพรรดิกุบไลข่านจีน ได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง แต่เมื่อสิ้นรัชกาล ราชวงศ์หยวนก็เริ่มเสื่อมลง เนื่องจากการต่อต้านโดยชาวจีนประกอบกันเกิดภาวะเงินเฟ้อและ ภัยธรรมชาติ ในที่สุด จู หยวน จัง อดีตพระในพระพุทธศาสนาจึงยึดอำนาจ พร้องทั้งสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิหุง อู่ แห่งราชวงศ์หมิงใน พ.ศ.๑๙๑๑ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองหนานจิง ภายหลังจึงยึดกรุงปักกิ่งได้สำเร็จจีนสมัยราชวงศ์หมิง มีการขยายตัวทางการค้า เนื่องจากบ้านเมืองมีความสงบแต่ในตอน ปลายราชวงศ์เกิดการแย่งชองราชบัลลังก์ในกลุ่มพระราชวงศ์ ผ๔ที่ขึ้นมาเป็นจักรพรรดิ ขาดความสามารถประกอบกับอาณาจักรยังคงถูกรุกรานจากมองโกลและแมนจูที่อยู่ทางตอนเหนือจึงทำให้ราชวงศ์หมิงค่อยๆ เสื่อมอำนาจลง จนในที่สุ เนอฮาชิ ชาวแมนจูซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองมุกเดนในแหลมเลียวตุงได้รวบรวมกำลังเข้ายึดกรุงปักกิ่งสถาปนาราชวงศ์ชิง( พ.ศ.๒๑๘๗-๒๔๕๕)ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ราชวงศ์ชิงเริ่มเสื่อมลงเนื่องจากได้รับการต้านจากชาวจีนที่ถือว่าราชวงศ์นี้เป็นชาวต่างชาติราชวงศ์แมนจูยังต้องเผชิญกับภาวะการเพิ่มประชากรและโจรสลัดในน่านน้ำทะเลจีนใต้ทำให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีน รวมทั้งการขยายอิทธิพลของชาติตะวันตกในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ซึ่งมีผลกระทบทำให้ยุคราชวงศ์ของจีสิ้นสุดลงในเวลาต่อมา ประวัติศาสตร์จีนช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙-๒๔ มีพัฒนาการ ดังนี้ การเมืองการปกครอง                  สมัยราชวงศ์สุย (พ.ศ.๑๑๒๔-๑๑๖๑) จีนได้มีการปกครองในรูปแบบจักรวรรดิอีกครั้งหนึ่งจักพรรดิแห่งราชวงศ์สุยได้ทำการประมวลกฎหมาย อาญาและปรับปรุงระบบการบริหารภายในซึ่งราชวงศ์ถึงได้นำมาเป็นอย่างแล้วปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยการแบ่งหน่วยงานส่วนกลางออกเป็น ๖กระทรวง ได้แก่ กระทรวงข้าราชการ การคลัง ทหาร ยุติธรรม โยธา และพิธีกรรม ส่วนในหัวเมือง ราชวงศ์ถังได้แบ่งหน่วยปกครองออกเป็นมณฑลและจังหวัด โดยแต่ละมณฑล จักรพรรดิโปรดส่งข้าหลวงไหปกครองและให้แยกอำนาจออก เป็น ๓ ฝ่าย คือ ฝ่ายพลเรือน ฝ่ายทหารและฝ่ายตุลาการทำใหอำนาจ ของจักรพรรดิกระจายออกไปยังมณฑลต่างๆ เมื่อสิ้นราชวงศ์ถัง จีนได้ตกอยู่ในภาวะแตกแยกทางการเมือง จนกระทั่งราชวงศ์ซ่งขึ้นมามีอำนาจราชวงศ์นี้ พยายามเลียนแบบการบริหารและการปกครองแบบราชวงศ์ถังแต่เพื่อป้องกันการกบฏจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ซ่งได้เสริมสร้างอำนาจส่วนกลางให้ควบคุม หัวเมืองรัดกุมขึ้น เช่น ให้ฝ่ายทหารหัวเมืองขึ้นอยู่กับฝ่ายพลเรือน จึงเป็นเหตุให้หัวเมืองต่างๆอ่อนแอดังนั้น เมื่ออาณาจักรจีนถูกรุกรานจากพวกมองโกลและพวกแมนจู หัวเมืองจึงไม่อาจต้านทานกำลังจากผู้รุกรานเหล่านี้จนในที่สุดราชวงศ์ซ่ง จึงหมดอำนาจลงแล้วชาวมองโกลจึงเข้ามาปกครองจีนชาวมอง โกลเป็นนักรบที่เข้มแข็งสามารถใช้กองกำลังขยายอาณาจักรได้อย่างกว้างขวาง แต่ไม่คุ้นเคยกับการปกครองอาณาจักรที่กว้างขวาง ดังคำกล่าวของเย หลู ชู ไฉ (พ.ศ. ๑๗๓๓-๑๗๘๗)ฉซึ่งเป็นที่ปรึกษาของเจงกิสข่านจักรพรรดิแห่งมองโกล ได้กล่าวว่า”จักรวรรดิได้ถูกพิชิตบนหลังม้าจริงแต่เราไม่อาจปกครองเขา จากหลังม้าได้” ดังนั้น เมื่อกุบไลข่านซึ่งเป็นพระนัดดาของจักรพรรดิเจงกิสข่าน ตั้งราชวงศ์หยวนและขึ้นปกครองจีนได้เลียนแบบวิธีการปกครองของจีนที่พัฒนามาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถึงทำให้ยังคงมีขุนนางจีนบริหารราชการแผ่นดิน แต่ขณะเดียวกันมองโกลได้ตั้งวิทยาลัยเพื่อฝึกหัดพวกมองโกลเข้ารับราชการ ทำให้มีขุนนางสมัยราชวงศ์หยวนประกอบด้วยกลุ่มคนหลายเชื้อชาติ ศาสนาราชวงศ์หมิง ซึ่งมีชาวจีนแท้ เมื่อล้มล้างอำนาจของพวกมองโกลได้แล้วจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิงได้ออก กฎหมายใหม่ให้มีการฟื้นฟูการปกครองแบบจีน เช่นการสอบเข้ารับราชการพลเรือนสำหรับด้านการปกครองให้มีการ แบ่งหน่วยงานออกเป็นส่วนกลาง ซึ่งได้แบ่งเป็น ๓ หน่วย คือ พลเรือน ทหาร และตุลาการ สำหรับการปกครองหัวเมืองได้แบ่งเป็นมณฑลจังหวัดและ อำเภอลดหลั่นตามลำดับ โดยจักรพรรดิมีอำนาจเด็ดขาดนสมัยนี้ยันทีซึ่งรับใช้พระราชวงศ์ฝ่ายในเข้ามามีอิทธิพลในการบริหารราชการ แผ่นดินทำให้เกิด ความขัดแย้งระหว่างยันทีกับขุนนาง ซึ่งเป็นสาเหตุ สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ราชวงศ์หมิงเสื่อมลงราชวงศ์ชิงซึ่งเป็น พวกแมนจูจึงได้เข้ามาปกครองจีนพวกแมนจูไม่คุ้นเคยกับการปกครองอาณาจักซึ่งมีอาณาเขตกว้างขวางจึงเลียนแบบการปกครองสมัย ราชวงศ์หมิงแต่ได้นำวิธีการปกครองหน่วยทหารและ หน่วยเขตการปกครองแบบแมนจู แบ่งออกเป็น๒๔ยังมีหน้าที่เก็บภาษีเกณฑ์แรงงาน ควบคุมและระดมพลเมื่อเกิดสงครามการทำสงครามนั้นแต่ละหน่วย ต่างออกสู้รบโดย มิได้ทำการบร่วมกันแม่ทัพสูงสุดที่บังคับบัญชา ในแต่ละหน่วยเป็นพวกแมนจูการปกครองแบบแมนจูทำให้การควบคุมกำลังคนเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพแต่การแบ่งกำลังออกสู้รบ ในแต่ละหน่วยโดยไม่ช่วยกันอาจได้ผลในการสู้รบแบบประชิดตัวซึ่งให้ระยะเวลาสั้นๆแต่เมื่อกองทัพจีนต้องรบกับกองทัพอังกฤษที่มีอาวุธทันสมัย ทำให้การจัดทัพด้วยวิธีนี้ไม่อาจต้านทานกองทัพอังกฤษที่เดินทางมาถึงจีนเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ด้านเศรษฐกิจ ในสมัยราชวงศ์สุย เมื่อจีนมีการปกครองที่มั่นคง จักรพรรดิราชวงศ์สุยจึงโปรดให้ทำการค้าติดต่อกับต่างชาติ เช่น มีการติดต่อค้าขายกับญี่ปุ่นและได้ ้ส่งทูตไปเรียกร้องบรรณ การและค้าขายกับหมู่เกาะทาง ตอนใต้ ทำให้จีนได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากบรรณาการต่างๆที่นำมาถวายโดยนำมาให้หรือ แปรรูปสมัยราชวงศ์ถัง จีนเริ่มปฏิรูปที่ดินเพื่อให้ชาวนามีที่ดินทำกินเพราะที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ในเมืองจีนมีจำนวนน้อยนอกจากนี้จีนยังทำการค้ากับนา นาชาติ โดยใช้เส้นทางบกไปจนถึง อินเดียเปอร์เซียและยุโรปส่วนเส้นทางทะเลจีนได้ติดต่อกับญี่ปุ่น อาณาจักรจามปา ศรีวิชัยและเมืองในเกาะลูซอนทั้ง นี้เนื่องจากสินค้าประเภทผ้าไหมและภาชนะเครื่องเคลือบจีนเป็นที่นิยมของชาวต่างชาติ ส่วนพ่อค้าต่างชาติได้นำสินค้าและพืชผลมาเผยแพร่เช่นของป่า ประเภทเขาสัตว์งาช้าง เครื่องเทศและพริกไทย นอกจากนี้ ยังมีข้าว มะกอง และหัวผักกาด เป็นต้นความเจริญทางด้านการค้าทั้งทางบก และทางทะเลของ             จีนเนื่องมาถึง สมัยราชวงศ์ซ่ง โดยเฉพาะการค้าโดยพ่อค้าเอกชน ในสมัยนี้การติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้า เช่น ผ้าไหม เครื่องลายคราม ถ้วยชามเครื่อง เงิน ใบชา และเหรียญทองแดง สินค้าเหล่านี้เป็นที่ต้องการโดยทั่วไปขณะเดียวกันจีนได้พัฒนาเทคโนโลยการต่อเรือขนาดใหญ่เพื่อบรรทุกสินค้าได้มาขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่ง จีนพัฒนาการค้ากับนานาชาติ ทำให้เกิดเมืองสำคัญทางตอนใต้ เช่นเมืองเซียงไฮและกวางตุ้งที่มีพ่อค้าชาวต่างชาติมาตั้งหลังแหล่ง ตามชายฝั่งเป็นต้นการค้านานาชาติเป็นแหล่งรายได้สำคัญ ดังนั้นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หยวน ทรงสนับสนุนด้านการค้าในยุคนี้การขยายไปอย่างกว้าง ขวาง มีทั้งพ่อค้ามุสลิม และพ่อค้ายุโรปมีชื่อเสียงได้แก่ มาร์โค โปโล เดินทางมาติดต่อค้าขายกับจีน นอกจากนี้ราชวงศ์หยวนยังพัฒนาระบบการคมนาคม เช่น ถนนที่เป็นเส้นทางการค้าไปยังเอเชียกลาง โดยจัดให้มีสถานีตั้งอยู่เป็นระยะสนันสนุนสมาคมพ่อค้ามุสลิมให้การค้าระหว่างจีนกับเอเชียกลางส่วน การค้าทางทะเลนั้นราชวงศ์หยวน สนับสนุนพ่อค้าจีนในเรื่องทุนและเรือสินค้า                        สมัยราชวงศ์หมิง  มีการปรับปรุงด้านการค้าภายใน กล่าวคือ มีการประมวลพระราชบัญญัติการเก็บภาษีได้แก่ การเก็บภาษีข้าว แท่งโลหะผ้าไหม และการเกณฑ์แรงงานในด้านเงินตรา เนื่องจากเกิดภาวะเงินเฟ้อตั้งแต่ในสมัยราชวงศ์หยวนราชวงศ์หมิงจึงใช้อีแปะทองเหลืองแทน แต่ไม่สะดวกสิ้น เปลืองและปลอมแปลงง่าย ในที่สุดจึงคิดค้นการใช้ธนบัตร แต่เกิดภาวะเงินเฟ้อเช่นกันจักรพรรดแห่งราชวงศ์หมิงได้นำอุดมการณ์ทางการเมืองมาใช้เป็นกฎเกณฑ์ในความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับต่างชาติ โดยถือว่าจีนเป็นศูนย์กลางโลก และจักรพรรดิเป็นโอรสแห่งสวรรค์ดังนั้นชาติต่างๆต้องทำการค้า กับจีนนามของรัฐ เมื่อถวายบรรณาการแบะยอมรับกฎเกณฑ์นี้แล้ว จังได้รับอนุญาตให้ค้าขายการที่ชาติต่างๆยอมรับระบบรัฐบรรณาการได้เพราะจีนเป็นตลาดค้าใหญ่ที่ทำกำไรให้กับพ่อค้าได้เป็นอย่างดี ในยุคนี้มีพ่อค้าต่างชาติมาติดต่อค้ายายกับจีนเป็นจำนวนมากราชวงศ์หมิงจึงจัดระบบการค้าใหรัดกุมยิ่งขึ้นโดยใน พ.ศ.๑๙๒๗ รัฐบาลจีนได้จัดให้มี “หนังสือสำคัญเข้าเมือง”ประเทศที่ต้องการติดต่อค้าขายกับจีนต้องนำหนังสือสำคัญเข้าเมืองมาแสดงจึงจะได้รับอนุญาตให้ทำการค้าได้สินค้าส่งออกที่สำคัญของจีนได้แก่ เครื่องเคลือบ เครื่องลายคราม เครื่องสำริด เครื่องลงรัก ผ้าฝ้าย ไหมส่วนสินค้านำเข้าที่ ได้รับความนิยมเป็นสินค้าจากตะวันตกได้แก่ นาฬิกา แว่นตา แก้วผลึก ข้าวโพด มันฝรั่ง ถั่วลิสง ยาสูบต้นกระบองเพชร ส่วนสินค้าในเอเชียได้แก่เครื่องเทศ สมุนไพร ไม้เนื้อแข็งที่มาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พัดชนิดพับได้จากเกาหลี เป็นต้น ในเวลาต่อมาจีนได้ออกกฎหมายห้ามชาวจีนออกนอกประเทศ เนื่องจากมีการปล้นสดมภ์ในน่านน้ำจีน และห้ามติดต่อกับชาวต่างชาติ เนื่องจากความระแวงเกี่ยวกับการเผยแผ่คริสต์ศาสนาจึงทำให้การค้ากับต่างชาติ   ของจีนซบเซาลง                 ในพุทธศตวรรษที่ ๒๔เมื่อราชวงศ์ชิงปกครองประเทศจีน มีการค้ากับต่างชาติขยายมากขึ้นทั้งนี้เพราะชาวตะวันตกบังคับให้จีน เปิดเมืองท่าสิน ค้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องลงรัก หมึกจีน พลอยเทียม และชา สำหรับสินค้านำเข้า ได้แก่ ผ้าขนสัตว์ยารักษา โรค ฝิ่น และเครื่องจักรกล ในปลายราชวงศ์ชิงมีการตั้งธนาคารแห่งชาติ เพื่อจ่ายเงินตามแบบตะวันตก สังคมและวัฒนธรรม – ความเชื่อและศาสนา ในช่วงสามก๊ก สังคมจีนเกิดความยุ่งยากเนื่องจากการสู้รบทำให้ผู้คนแสวงหาที่พึ่งทางจิตใจ พระพุทธศาสนาได้รับการ  ฟื้นฟูพระสงฆ์ในยุคนั้นมีความรู้ ในพระธรรมวินัยและให้วิธีการเผยแผ่ศาสนาโยวิธีสังคมสงเคราะห์ การศึกษาพระพุทธศาสนามีความก้าวหน้าดังจะเห็นได้จากการที่มีภิกษุจีนที่เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ดินเดียพระภิกษุที่มี ชื่อเสียงได้แก่ พระภิกษุฟาเลียน ที่เดินไปอินเดียโดยทางบกผ่านดินแดนเดเชียกลาง แต่เดินทางกลับจีนทางทะเลและพระภิกษ ุถังชำจั๋งเดินทางบกไปกลับจากอินเดียพระภิกษุเหบ่นนี้ได้พระไตรปิฎกและพระสูตรเป็นภาษาจีนทำให้พระพุทธศาสนาแพร่หลาย ในสังคมพระสงฆ์จึงเป็นผู้มีบทบาทในด้านการศึกษาและด้านสัง คมสงเคราะห์นอกจากพระพุทธศาสนาแล้วลัทธิขงจื๊อได้รับการฟื้นฟ ูในด้านพิธีการรมเกี่ยวกับการเซ่นไหว้บรรพบุรุษมารยาททางสังคมและสัมพันธ์ของ คนในสังคม ส่วนลัทธิเต๋ารับความนิยมเพิ่มขึ้น เนื่องจากเน้นในด้านความสันโดษ ความสงบของจิตใจและความกลมกลืนกับธรรมชาตความเชื่อและศาสนาในสมัยสามก๊ก สามารถเป็นที่พึ่งพาทางใจให้กับคนจีนในยุคนั้นและในเวลาต่อมทา แต่ละสมัยซ่งได้มีการนำปรัชญาทางพระพุทธศาสนาลัทธิขงจื๊อ และ เต๋ามารวมเป็น  “ปรัชญาขงจื๊อใหม่”ที่เชื่อว่าตัวของมนุษย์นี้มีความดีอยู่แล้ว การศึกษาหาความรเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้มนุษย์ปรับปรุง ตนเองไดและเข้าใจสัจธรรมคือ อริยสัจสี่เมื่อจีนถกปกครองโดยราชวงศ์หยวน ปรัชญาขงจื๊อใหม่ไม่ได้รับความนิยมจากราชสำนักเนื่อง จากชาวมองโกลมีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์และพระพุทธศาสนามหายานลัทธิลามะของธิเบตซึ่งได้รับอุปถัมภ์จากราชสำนักในยุคน ศาสนาอิสลามได้แพร่หลายเข้ามาตามเส้นทางการค้า ทางตะวันตก เช่น ที่มณฑลยูนนาน และซินเกียง เช่นที่บริเวณมณฑลกวางตุ้ง เพิ่มขึ้นเมืองท่าทางตอนใต้ของจีมบาทหลวงคริสต์สาสนาเข้ามาเผยแผ่ศาสนา ซึ่งในระยะแรกจักรพรรดิจีนทรงต้อนรับบาทหลวงเหล่านี้ เนื่องจากมีความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่ เช่น ดาราศาสตร์ เครื่องจักรกลและการแพทย์แต่ต่อมารัฐบาลระแวงชาวตะวันตกว่าเป็นผู้รุกรานจีน ดังนั้นในสมัยราชวงศ์ชิงคริสต์ศาสนาจึงได้รับการต่อต้าน พัฒนาการทางประวัตศาสตร์ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครอบคลุมพื้นที่ประเทศบรูไน อินโดนีเซีย กัมพูชา  ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม พม่าและติมอร์ตะวันออก ในปัจจุบัน บางประเทศมีประวัติศาสตร์ยาวนาน แต่บางประเทศเป็นประเทศที่ตั้งใหม่ภายหลังสงครามโลกครั้ง ที่สองการศึกษาเรื่องพัฒนาการทางประ วัติศาสตร์ในดินแอนแห่งนี้จึงศึกษาในภาพกว้าง โดยจะอธิบายยุคอาณาจักร เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อให้เห็นพัฒนาสืบเนื่องจากยุคการสร้างสรรค์อารยธรรมและการเปลี่ยนแปลงก่อนการเข้ามาของชาติตะวันตก อาณาจักรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๖ถึง ๒๓)                หลักฐานการศึกษาเรื่องอาณาจักรโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ หลักฐานทางด้านโบราณคดี คือ โบราณวัตถุโบราณสถานซึ่งเป็นหลักฐานประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จดหมายเหตุจีนราชวงศ ต่าง ๆบันทึกชาวต่างชาติที่มาเยือนดินแดน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยโบราณตลอดจนจารึกต่างๆ                พัฒนาการของอาณาจักรโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกิดจากการรวมตัวของแว่นแคว้นต่างๆในภูมิภาคดังนี้              -อาณาจักรฟูนันหรือพนม  ตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๖-๑๒มีศูนย์กลางการปกครองอยู่บริเวณที่ราบลุ่มเหนือปากแม่น้ำ – อาณาจักรจามปา ตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๒๑มีศูนย์กลางการปกครองสมัยแรกบริเวณเมืองสิงหปุระต่อมาย้ายมาศูนย์กลางลงมาทางตอนใต้ที่เมืองวิชัยนคร – อาณาจักรสุธรรมวดี ตั้งขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๖ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำอิระวดีลงไปถึงทวายสันนิษฐานว่า ศูนย์กลางการปกครองเดิมอยู่ ที่สะเทิม ต่อมาย้ายไปที่หงสาวดี ทางตอนใต้ขอ่งพม่า – อาณาจักรเจินละ  ตั้งขึ้นเมื่อประมารณพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๖ มีศูนย์กลางอยู่ที่ราบลุ่มน้ำโขง ทางภาคไต้ของประเทศลาว – อาณาจักรทวารวดี ตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔ สันนิษฐานว่ามีอาณาเขตบริวตะวันตกของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบ่างบริเวณเมืองนครชัยศร – อาณาจักรศรีวิชัย ตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๖ มีศูนย์กลางปกครองเคลื่อนย้ายในบางยุคสมัย เช่นที่บริเวณเมืองปาเล็มบังบนเกาะสุมาตรา – อาณาจักรศรีเกษตร ตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๖ มีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองแปรในประเทศพม่า – อาณาจักรกัมพูชา ตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๒๐ มีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองพระนครประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน การปกครอง อาณาจักรโบราณในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เดิมเป็นเพียงแว่นแคว้นแต่สามารถพัฒนาเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจ เหนือดินแดนอื่นได้ด้วยปัจจัยสำคัญ คือ การรับคติความเชื่อจากศาสนาฮินดูเรื่อผู้นำคือเทพเจ้าที่อวตารลงมาเกิดในโลกมนุษย์ นอกจากมีความเชื่อจากพระพุทธศาสนาเรื่องผู้นำที่ทำ ความดีโดยบำเพ็ญบารมีหลายชาติภพ ผู้นำในอาณาจักรโบราณ พยายามนำความเชื่อเหล่านี้มาเสริมสร้างสถานภาพของพระองค์เสริมสร้างฐานะกษัตริย์ให้เป็นเจ้าที่สถิตย์อยู่บนภูเขาชื่อว่าพระศิวะ ทำให้มีการสร้างศิวะลึงค์เพื่อสถาปนาสถานะความเป็นเทพเจ้าความเชื่อกล่าวสั่งเสริมให้ผู้นำมีอำนาจ สูงสุด เศรษฐกิจ คนในอาณาจักรโบราณในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รู้จักปลูกข้าวเพื่อรับประทานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร ยุคอาณาจักรโบราณมีการพัฒนาการชลประทานเพื่อทดน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากรและระบายน้ำยุคอาณาจักรโบราณมีการพัฒนาการชลประ ทานเพื่อทดน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากร และระบายน้ำเครื่องปั้นดินเผา ทอผ้า ต่อเรือหรืออาจเสียภาษีเป็นผลิตผลที่มีค่า เช่น เครื่องหอม ไข่มุก หรือทองคำเพื่อขอความคุ้ม ครองเป็นการตอบแทนคนในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เดิมปลูกข้าวเลี้ยงสัตว์ไว้เป็นอาหาต่อมาจึงเริ่มมีการค้าขายกันดินแดนกับประเทศเพื่อนบ้านเช่นจีน สังคมและวัฒนธรรม สังคมของอาณาจักรโบราณในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แม้ว่าได้มีการพัฒนาให้กษัตริย์มีสถานภาพสูง ด้วยคติที่รับ จากอินเดียแต่ไม่รับการ แบ่งชนชั้นแบบวรรณะของอินเดีย คงแบ่งชนชั้นแบบกว้างๆ คือชนชั้นผู้ปกครอง ชนชั้นที่อยู่ใต้การปกครองที่รวมด้วยทาส – ความเชื่อและศาสนา  ความเชื่อดั้งเดิมของคนในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นับถือธรรมชาติโดยไม่เชื่อว่ามีวิญญาณที่ม อำนา๗เหนือธรรมชาติต่างๆ สถิตอยู่แบะมีความเชื่อในชีวิตหลังการตาย ดังนั้นการรับศาสนาฮินดู ซึ่งนับถือเทพเจ้าหลายองค์ จึงไม่ขัดกับความเชื่อแบบเดิม – ภาษาและวรรณกรรม ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีภาษาถิ่นมากมายและมีเรื่องเล่าในท้องถิ่นเป็นแบบตำนาน  นอกจากนี้วรรณกรรมต่างๆได้แก่ มหาภารตะ รามเกียรติ์และอาหรับราตรีเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย – วิทยาการและเทคโนโลยี  ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความรู้และพัฒนาเทคโนโลยีในด้านการถลุงโลหะมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตรรู้จัก ชลประทาน และการเดินเรือเลียบชายฝั่ง จึงได้นำเทคโนโลยีบางประการมาใช้ – ศิลปกรรม   อาณาจักรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๖-๒๑ผลิตงานด้านศิลปะ เช่นสถาปัตยกรรม ประติมากรรมและดนตรีโดยได้รับ อิทธิพลทางด้านศาสนาและโบราณสถานนอกจากนี้ยังนิยมการแกะสลักมีทั้งภาพลอยตัวและภาพนูนต่ำ ความเสื่อม               อาณาจักรในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เสื่อมสลายไปในเวลาที่ต่างกันบางอาณาจักรสลายไปโยไม่สามารถฟื้นตัวได้อีก ความเสื่อมจากภายใน เนื่องจากการต่อสู้เพื่อแย่งชินอำนาจทากงการเมืองในหมู่สมาชิกมีผลให้อาณาจักรแยกออกเป็นเจินละและเจินละน้ำทำให้เกิดผลเสียทางเศรษฐกิจโดยมี สามเหตุสำคัญคือ ต้องการควบคุมแหล่งทรัพยากรและกำลังคน  ความเสื่อมจากภายนอก  โดยมักเกิดจากการที่อาณาจักรถกศัตรูภายนอกโจมตรวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจที่เป็นพื้นฐานการค้ากับนานาชาติ สภาพทางการเมืองการปกครอง สังคม และเศรษฐกิจ ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๒ เป็นช่วงระยะเวลาที่ชาติตะวันตกเริ่มเดินทางเข้ามาติดต่อกับอาณาจักรต่าง ๆในเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้บรรดาอาณาจักร ต่างๆในภูมิภาคนี้ได้พยายามพัฒนาดังแปลงวัฒนธรรมที่ได้รับจากภายนอกให้ผสมกลมกลืมกับวิถีชีวิต เอเชียกลาง ดินแดนเอเชียกลางเป็นบริเวณที่ทำการเกษตรได้ลำบากและอยู่ห่างไกลจากทะเลทำให้ถูกตัดขาดจากเส้นทางการค้า เมืองใหญ่ๆเกิดขึ้นในบริเวณนี้น้อย ชาวนอมาดิกที่เชี่ยวชาญการขี่ม้าเป็นกลุ่มชนหลักในทุ่งหญ้าสเตปในบริเวณนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างชาวนอมาดิกและกลุ่มชนอื่นๆในเอเชียกลาง เต็มไปด้วยความขัดแย้ง ทักษะในการขี่ม้าของพวกเขาทำให้กลายเป็นนักรบที่มีประสิทธิภาพกลุ่มหนึ่งของโลก ผู้นำเผ่าจะเป็นผู้จัดการนำเผ่าย่อยๆมารวมกันเป็นกองทัพ ตัวอย่างของกลุ่มชนเหล่านี้ เช่น ชาวฮั่นที่เข้ารุกรานยุโรป ชาวเติร์กที่อพยพเข้าสู่ทรานโซเซียนา ชาวหวู่และหู่ที่โจมตีจีนและชาวมองโกลที่มีอิทธิพลในเอเชียและยุโรป ความโดดเด่นของชาวนอมาดิกสิ้นสุดลงในพุทธศตวรรษที่ 21 เมื่ออาวุธสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทในสงคราม จักรวรรดิรัสเซีย ราชวงศ์หมิงของจีน และมหาอำนาจอื่นเข้าครอบครองเอเชียกลางทั้งหมดในพุทธศตวรรษที่ 24 หลังการปฏิวัติรัสเซีย พ.ศ. 2460 รัสเซียเข้าครอบครองเอชียกลางเอบทั้งหมด เหลือแต่มองโกเลียและอัฟกานิสถานที่เป็นรัฐเอกราช แต่มองโกเลียก็เป็นรัฐบริวารรัฐหนึ่งของโซเวียต และโซเวียตพยายามเข้าครอบงำอัฟกานิสถานแต่ไม่สำเร็จ ส่วนที่ถูกโวเวียตยึดครองได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมแต่วัฒนธรรมท้องถิ่นถูกกดขี่ เมื่อ โซเวียตสลายตัวไปเมื่อ พ.ศ. 2534 รัฐของโซเวียตในเอเชียกลาง 5 รัฐได้เป็นรัฐเอกราช หลักฐานทางพันธุศาสตร์กล่าวว่ามนุษย์เข้าสู่เอเชียกลางเมื่อ 40,000 – 50,000 ปีมาแล้ว ถือว่าเป็นแหล่งที่อยู่เก่าแก่ของมนุษย์แห่งหนึ่ง แหล่งนี้อาจเป็นที่อยู่ของกลุ่มชนก่อนอพยพเข้าสู่ยุโรป ไซบีเรียและอเมริกาเหนือ คาดว่าบริเวณนี้เป็นแหล่งกำเนิดของตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียนในช่วงต้นราว 4,000 ปีก่อนพุทธศักราช มีชุมชนเล็กๆพัฒนาการสร้างที่อยู่อาศัยแบบถาวรและเริ่มทำการเกษตร รวมทั้งเริ่มเลี้ยงม้าซึ่งกลายเป็นสิ่งสำคัญตั้งแต่เป็นอาหาร และเริ่มใช้เป็นพาหนะในอีก 500 ปีต่อมา กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้เป็นที่รู้จักในชื่อชาวนอร์มาดิก ชาวนอร์มาดิกมีสัตว์เลี้ยงที่สำคัญคือ แกะ แพะ ม้า และอูฐ นิยมเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน อาศัยอยู่ในเตนท์หรือค่ายพักที่เคลื่อนย้ายได้ง่าย มีการตั้งถิ่นฐานเป็นเมืองเล็กๆในบริเวณที่ชุ่มชื้นของเอเชียกลาง เช่นการเกิดอารยธรรมบักเตรีย-มาร์เกียนา ที่มีการปลูกข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์และมีการประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้ บักเตรีย-มาร์เกียนาอาจจะมีปฏิสัมพันธ์กับวัฒนธรรมอันโครโนโว ในช่วงยุคสำริดที่เป็นแหล่งกำเนิดของการใช้รถม้าซึ่งอยู่ทางเหนือของไซบีเรียตะวันตก รัสเซีย และบางส่วนของคาซัคสถาน และคงอยู่มาจนถึง 457 ปีก่อนพุทธศักราช บักเตรีย-มาร์เกียนาอาจจะเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมอารยันที่เป็นบรรพบุรุษของผู้พูดภาษากลุ่มอินโด-อิหร่าน และอาจจะเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมยูราลิกและอัลไตอิกด้วย รวา พ.ศ. 443 นครซอกเดียกลายเป็นเมืองสำคัญและเป็นที่พักของพ่อค้าบนเส้นทางสายไหม มีประชากรที่หลากหลายเข้ามาอยู่ในบริเวณนี้ กลุ่มของชาวนอร์มาดิกในเอเชียกลาง รวมทั้งชาวฮั่นและชาวเติร์กกลุ่มอื่นๆ ของโตคาเรีย ชาวเปอร์เซีย ชาวไซเทีย และกลุ่มผู้พูดภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียนอื่นๆ และชาวมองโกลอีกจำนวนหนึ่ง เหรียญของกษัตริย์ยูเครติเดส อาณาจักรกรีก-บักเตรีย เมื่อ 171-145 ปีก่อนคริสตกาล ตั้งแต่ 2,000 – 1,000 ปีก่อนคริสตกาล มีรัฐขนาดใหญ่และมีอำนาจในทางใต้ของเอเชียกลาง และพยายามแผ่อำนาจเข้ามาครอบครองบริเวณนี้ จักรวรรดิเมเดียและจักรวรรดิอาแคเมนิดเคยครอบครองบางส่วนของเอเชียกลาง จักรวรรดิเซียหนูจัดเป็นจักรวรรดิแห่งแรกในเอเชียกลาง ตามมาด้วยจักรวรรดิตูเยยและจักรวรรดิมองโกลในเวลาต่อมา หลังจากสงครามจีน-เซี่ยหนู จีนเริ่มแผ่อำนาจมาทางตะวันตกจักรวรรดิเปอร์เซียและมาซีโดเนียเข้ามามีอิทธิพลในเอเชียกลางโดยเข้ามาก่อตั้งเมืองและควบคุมเส้นทางการค้า พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้นำวัฒนธรรมกรีกเข้ามาและสร้างเมืองอเล็กซานเดรีย เอสชาเตเมื่อ พ.ศ. 214 ในบริเวณที่เป็นทาจิกิสถานในปัจจุบันนี้ หลังจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 220 บริเวณที่เป็นเอเชียกลางรวมอยู่ในจักรวรรดิเซเลซูอิด ใน พ.ศ. 293 เอเชียกลางมีการตั้งอาณาจักรบักเตรียหรืออาณาจักรกรีก-บักเตรียที่มีการขยายอำนาจไปสู่อินเดียและจีนจนกระทั่งจนกระทั่งสิ้นสุดอำนาจลงไปเมื่อ พ.ศ. 418 อาณาจักรอินโด-กรีกที่มีฐานที่มั่นในปัญจาบและควบคุมเขตอิทธิพลไปถึงอัฟกานิสถาน ได้พัฒนามาเป็นอาณาจักรพุทธแบบกรีก อาณาจักรกุษาณเป็นอาณาจักรที่ขึ้นมามีอำนาจในช่วงพุทธศตวรรษที่ 7-9 และสืบทอดวัฒนธรรมแบบพุทธและแบบกรีก อาณาจักรเหล่านี้มีอำนาจควบคุมเส้นทางสายไหมที่เชื่อมจีนกับยุโรปซึ่งต่อมาอำนาจจากภายนอก เช่น จักรวรรดิซัสซาเนียพยายามเข้ามาครอบครองเส้นทางสายนี้

สัปดาห์ที่ 27 แหล่งอารยธรรมของโลกอยู่ที่เอเชีย

แหล่งอารยธรรมของโลกอยู่ที่เอเชีย             เมโสโปเตเมีย ( Mesopotamia) เป็นคำกรีกโบราณ ตามรูปศัพท์แปลว่า “ที่ระหว่างแม่น้ำ” โดยมีนัยหมายถึง “ดินแดนระหว่างแม่น้ำ แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส” เมโสโปเตเมีย (meso=กลาง,potamia=แม่น้ำ)ดินแดนดังกล่าวนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ “ดินแดนรูปพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์” ซึ่งเป็นดินแดนรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ ที่ทอดโค้งขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจรดอ่าวเปอร์เซีย ชนชาติแรกอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำไทกริสเมื่อประมาณ 4000 ปีก่อนคริสต์กาล บริเวณที่เข้ามาตอนแรกคือ แคว้นซูเมอร์ซึ่งอยู่ทางตอนใต้สุดของเมโสโปเตเมียติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีลักษณะเป็นนครรัฐ แต่ละนครรัฐมีอิสระไม่ขึ้นต่อกัน เช่น ลากาซ บาบิโลน อูร์ อูรุค นิปเปอร์             อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ เป็นอารยธรรมที่ถือกำเนิดขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุในประเทศอินเดียและปากีสถานในปัจจุบัน ถือเป็นอารยธรรมยุคแรกๆของโลก วัฒนธรรมเก่าสุดเริ่ม             ดินแดนอินเดียโบราณทางศาสนามักเรียกว่าชมพูทวีป เป็นบริเวณกว้างใหญ่ไพศาลครอบคลุมดินแดนอินเดีย ปากีสถาน และบังกลาเทศในปัจจุบัน ชื่ออินเดียมาจากภาษาสันกกฤตว่าสินธุ  ซึ่งเป็นชื่อแม่น้ำสายสำคัญทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียโบราณ ชาวอินเดียเองเรียกดินแดนของเขาว่า ภารตวรรษ  ซึ่งมีความหมายว่าดินที่อยู่ของชาวภารตะ  คำว่าภารตะมาจากคำว่าภรตะ  ซึ่งเป็นชื่อของ กษัตริย์             อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเป็นที่ราบลุ่ม ที่อุดมสมบูรณ์มี อารรธรรมอินเดียโบราณที่ปรากฏหลักฐานอยู่ คือ ที่เมืองฮารัมปาในแคว้นปัญจาบ และเมืองโบราณโมเฮนโจ ดาโร ในแคว้นซินค์ เมืองทั้งสองนี้มีลักษณะที่บอกให้รู้ถึงการวางผังเมืองอย่างเป็นระเบียบ มีการแบ่งเขตภายในเมืองออกเป็นสัดส่วน  จัดที่ตั้งอาคารสำคัญไว้เป็นหมวดหมู่ มีถนนสายสำคัญๆ มีท่อระบายน้ำสร้างด้วยอิฐฝังลึกอยู่ในดิน มีสระน้ำใหญ่สร้างด้วยอิฐ และมีซากสิ่งก่อสร้างที่สันนิษฐานว่าเป็นยุ้งข้าวใหญ่โตหัวเสา สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ประเทศอินเดีย             อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ ถูกสร้างขึ้นโดยชาวดราวิเดียน (มิลักขะหรือ ทมิฬ) ชนพื้นเมืองเดิมของอินเดียผิวดำ ร่างเล็ก จมูกแบนพูดภาษาตระกูลดราวิเดียน (ทมิฬ ) มีการค้นพบหลักฐานเมื่อ คริสต์ศักราช 1856 เมื่อมีการก่อสร้างทางรถไฟบริเวณลุ่มน้ำสินธุ  ค้นพบซากสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ คริสต์ศักราช 1920 ปรากฏเป็นรูปเมือง บริเวณเมือง ฮารัมปา(Harappa)  และเมืองโมเฮนโจ  ดาโร(Mohenjo  Daro) อายุประมาณ 2500 ปีก่อนคริสต์ศักราช หลักฐานที่ค้นพบจัดเป็นอารยธรรมยุคโลหะเป็นสังคมเมือง ป้อมปราการขนาดใหญ่ มีสระอาบน้ำสาธารณะนักโบราณคดีสันนิฐานว่าอาจเป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา มีการวางผังเมือง ตัดถนน มีกำแพงอิฐ บ้านเรือนสร้างด้วยอิฐ             มีระบบระบายน้ำสองท่อทำด้วยดินเผาอยู่ข้างถนน เพื่อรับน้ำที่ระบายจากบ้าน มีอักษรภาพใช้ พบโบราณวัตถุรูปแกะสลักหินชายมีเครา มีแถบผ้าคาด  มีตราประทับตรงหน้าผาก รูปสำริดหญิงสาว รูปแกะสลัก บนหินเนื้ออ่อน เครื่องประดับ สร้อยทองคำ สร้อยลูกปัด มีการเพาะปลูกพืชเกษตรเช่นฝ้าย ข้าวสาลี ถั่ง งา ข้าวโพด พบหลักฐานการค้ากับต่างแดนทั้งทางบกและทางทะเล เช่น เปอร์เชีย อัฟกานิสถาน เมโสโปเตเมีย ธิเบต โดยพบโบราณวัตถุจากอินเดีย  หินสี เงิน อัญมณีจากเปอร์เชีย หยกจากธิเบต และ มีการขุดค้นพบอารยธรรมนี้กว่า 100 แห่งบริเวณแม่น้ำสินธุ ส่วนใหญ่อยู่ในปากีสถาน อารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโห จีน   อารยธรรมจีนในแถบลุ่มแม่น้ำฮวงโห             อารยธรรมจีนได้สร้างสมอยู่ในแผ่นดินแถบบริเวณนี้เป็นมาเวลาช้านาน และมีอิทธิพลที่สร้างกันมานั้นก็ได้มาจากความนึกคิดของเขาเป็นสิ่งสำคัญซึ่งย่อมหมายถึง วิถีการดำรงชีวิต ตลอดจนทัศนคติที่มีต่อโลก คนจีนจึงมุ่งที่จะสนใจในปรัชญาของชีวิตและนับถือนักปราชญ์ผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ให้คำแนะนำในการดำเนินชีวิต เช่น ขงจื๊อ เล่าจื๊อ เป็นต้น             อารยธรรมของจีนโบราณที่ศึกษา คือ จีนยุคหินใหม่ ที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น ที่มณฑลโฮนาน และกัสสู ได้พบเครื่องมือหินและเครื่องปั้นดินเผา  เช่นเครื่องปั้นดินเผายางเซา ซึ่งเชื่อว่ามีมาก่อน 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และที่มณฑลซานตุง ได้พบเครื่องปั้นดินเผาสีดำ ใกล้ตำบลลุงชาน จึงเรียกว่าเครื่องปั้นดินเผาลุงชาน             อารยธรรมของจีนก่อตัวขึ้นที่ลุ่มแม่น้ำฮวงโห และลุ่มแม่น้ำซีเกียงหลังจากนั้นได้ขยายไปสู่ทะเล และภาคพื้นทวีปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและขยายสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีร่องรอยความเจริญให้ชาวโลกได้ศึกษาในด้านต่างๆ ดังนี้             1. ด้านการปกครอง จีนมีการปกครองที่เป็นปึกแผ่นมีผู้นำที่มีความสามารถ จีนเชื่อว่ากษัตริย์ที่มาปกครองจีนนั้นเป็นคำสั่งของสวรรค์ ดังนั้นกษัตริย์ คือ  โอรสของสวรรค์ที่จะลงมาปกครองราษฎร์ให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข  ถ้ากษัตริย์พระองค์ใดปกครองราษฎร์ให้ได้รับความทุกข์ ความเดือดร้อน  กษัตริย์พระองค์นั้นหรือราชวงศ์นั้นก็จะถูกลบล้างไป และมีกษัตริย์พระองค์ใหม่ระบบครอบครัวของจีนยึดความกตัญญูและนับถือผู้อาวุโสตามหลักคำสอนของ ขงจื๊อ             หลักคำสอนของขงจื๊อ  ถือว่ามนุษย์ที่สมบูรณ์เพียบพร้อมที่สุดคือเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมแนวคำสอนที่เป็นพื้นฐานของภูมิปัญญาจีนที่เชื่อว่าปัญหาต่างๆในสังคมเกิดจากคนแต่ละคน การแก้ปัญหาทางหนึ่งคือการฝึกฝนตนเองการอบรมตนเอง  และสามารถปกครองครอบครัวได้ เมื่อปกครองครอบครัวได้ ก็สามารถปกครองแค้วนได้ คุณธรรมประกอบด้วย หลัก 5 ประการ ความสุภาพ มีใจโอบอ้อมอารี จริงใจ  ตั้งใจ  เมตตากรุณา   คุณธรรมที่สำคัญที่เป็นหัวใจของปรัชญาขงจื๊อ คือ เหริน เพราะคำนี้ประกอบด้วย อักขระสองตัวคือ “คน” กับ “สอง” หมายถึง มนุษยสัมพันธ์เป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์  เหรินคือความรัก ความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ เริ่มจากความรักในบิดา มารดา ความรักในความเป็นพี่น้องกัน             ผลงานของขงจื๊อรวบรวมไว้เรียก ตำรับ 5 เล่มของขงจื๊อประกอบด้วย 1)  อี้จิง ตำรับว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง 2)  ชูจิง ตำรับว่าด้วยประวัติศาสตร์ 3)  ซือจิง ว่าด้วยกาพย์กลอน 4)  หลี่จิ้ง ว่าด้วยพิธีการ 5)  ชุนชิว พงศาวดารฤดูใบไม้ผลิและใบไม้ร่วง             2. ด้านศิลปวิทยาการต่าง ๆ แต่ละราชวงศ์จะมีศิลปะวิทยาการต่าง ๆ แตกต่างกันออกไปตามพื้นฐานของกษัตริย์ หลักฐานที่ปรากฏให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเช่น เครื่องปั้นดินเผาวัฒนธรรมยางเซา วัฒนธรรมลุงชาน และกำแพงเมืองจีน             อาณาจักรอิสลาม    คาบสมุทรอาระเบีย   อยู่ทางตะวันตกสุดของทวีปเอเชีย แหล่งชาวอาหรับนับถือเทพเจ้าหลายองค์ เกิดศาสนาอิสลามจึงหันมานับถือพระเจ้าองค์เดียวคืออัลเลาะห์เป็นปึกแผ่นคาบสมุทรอาระเบีย             อาณาจักรบิแซนตีน  หรืออาณาจักรตะวันออก  มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงสแตนติโนเปิล( เมืองท่าปากทางเข้าทะเลดำซึ่งก็ตั้งตามชื่อของเขาเอง ซึ่งเดิมชื่อ ไบแซนทิอุม หรือ ไปแซนไทม์ —Byzantium–)             มีจักรพรรดิ์สำคัญคือ จัสติเนียน  ผู้มีความสามารถทางการเมือง การปกครองและการทหาร และจัดทำประมวลกฎหมายจัสติเนียน ซึ่งเป็นแม่บทของกฎหมายต่างๆ ในทวีปยุโรป มรดกความเจริญทางวัฒนธรรม คือ สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม วิทยาการ แบบบิแซนตีน

สัปดาห์ที่ 26 การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์             พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็น  สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกภายหลังที่ได้ทรงเลิกทัพกลับจากกรุงกัมพูชาเพราะในกรุงธนบุรีเกิดการจลาจล             เมื่อถึงกรุงธนบุรีบรรดาขุนนางน้อยใหญ่ทั้งหลายก็พากันอ่อนน้อมยอมสวามิภักดิ์ เรียกร้องให้แก้ไขวิกฤติการณ์ พร้อมกันนั้นก็พากันอันเชิญให้พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินไทยสืบต่อไป เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี (นับเป็นวันเริ่มต้นแห่งราชวงศ์จักรี              ทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 6 เมษายน ของทุกปี เป็นวันจักรี เพื่อระลึกถึงวันแห่งการสถาปนาราชวงศ์จักรี)             ภายหลังเมื่อเหตุการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว รัชกาลที่ 1 ทรงเห็นว่าก่อนจะประกอบพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์เห็นว่าควรจะย้ายราชธานีไปอยู่ฟากตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเสียก่อน              โดยบริเวณที่ทรงเลือกที่จะสร้างพระราชวังนั้น เคยเป็นสถานีการค้าขายกับชาวต่างประเทศในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีนามเดิมว่า “บางกอก” ซึ่งในขณะนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของชาวจีน              เมื่อได้ทรงชดเชยค่าเสียหายให้พอสมควรแล้วทรงให้ชาวจีนย้ายไปอยู่ตำบลสำเพ็ง แล้วโปรดเกล้าฯ ให้สร้างรั้วไม้แทนกำแพงขึ้น และสร้างพลับพลาไม้ขึ้นชั่วคราว              หลังจากนั้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2325 ขณะที่พระองค์ทรงมีพระชนมายุได้ 45 พรรษา ได้ทรงประกอบพิธีปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดีฯ”              แต่ในสมัยปัจจุบันผู้คนนิยมเรียกพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” และทรงสถาปนาตำแหน่ง วังหน้า (กรมพระราชวังบวรสถานมงคล) และตำแหน่งวังหลัง (กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข)             พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงได้รับอัญเชิญขึ้นครองราชย์ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325              แต่ในขณะนั้นยังไม่ได้สร้างพระราชวังใหม่ จึงทรงประทับในพระราชวังเดิมไปก่อน ต่อมาเมื่อก่อสร้างพระบรมมหาราชวัง และราชธานีแห่งใหม่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเสร็จ ในปี พ.ศ.2328              ก็โปรดฯให้มีการสมโภชน์พระนครและกระทำพิธีปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ อีกครั้ง และพระราชทานนามพระนครใหม่นี้ว่า “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา  มหาดิลกภพนพรัตน์ ราชธานีบุรีรมย์อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตาลสถิต สักกทิตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” หรือที่คนยุคปัจจุบันนิยมเรียกว่า “กรุงรัตนโกสินทร์” นั่นเอง         (ครั้นในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงเปลี่ยนสร้อยที่ว่า “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “อมรรัตนโกสินทร์” นอกนั้นคงเดิม)          และในบริเวณพระบรมมหาราชวัง ได้สร้างวัดพระแก้ว (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) เป็นวัดที่ใช้ประกอบพระราชพิธีทางศาสนา เป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่         และเมื่อสร้างพระนครเสร็จสมบูรณ์ได้มีการอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่วัดนี้ และได้พระราชทานนามให้ใหม่ว่า พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เพื่อให้สอดคล้องกับนามของพระนครใหม่ สาเหตุการย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมาตั้งที่กรุงรัตนโกสินทร์             กรุงธนบุรีเป็นเมืองที่มีการสร้างป้อมปราการเอาไว้ทั้งสองฝั่งแม่น้ำ โดยเอาแม่น้ำผ่ากลาง (เรียกว่าเมืองอกแตก) เหมือนเมืองพิษณุโลก มีประโยชน์ตรงที่อาจเอาเรือรบไว้ในเมือง              เมื่อเวลาถูกข้าศึกมาตั้งประชิดแต่การรักษาเมืองคนข้างในจะถ่ายเทกำลังเข้ารบพุ่งรักษาหน้าที่ได้ไม่ทันท่วงทีเพราะต้องข้ามแม่น้ำ แต่แม่น้ำเจ้าพระยาทั้งกว้างและลึกจะทำสะพานข้ามก็ไม่ได้ ทำให้ยากแก่การรักษาพระนครเวลาข้าศึกบุก              กรุงธนบุรีอยู่ในท้องคุ้งน้ำ ทำให้น้ำกัดเซาะตลิ่งพังได้ง่าย บริเวณพระราชวังเดิมของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชคับแคบ มีวัดขนาบทั้งสองข้าง คือ วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) กับวัดท้ายตลาด (วัดโมฬีโลกยาราม) ทำให้ยากแก่การขยายพระราชวังให้กว้างออกไป   เหตุผลของการเลือกทำเลที่ตั้งฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา             1. ทางฝั่งกรุงเทพฯเป็นที่ชัยภูมิเหมาะสมเพราะเป็นหัวแหลมถ้าสร้างเมืองแต่เพียง ฟากเดียว จะได้แม่น้ำใหญ่เป็นคูเมืองทั้งด้านตะวันตกและด้านใต้ เพียงแต่ขุดคลองเป็นคูเมืองแต่ด้านเหนือและด้านตะวันออกเท่านั้น ถึงแม้ว่าข้าศึกจะเข้ามาโจมตีก็พอต่อสู้ได้              2. เนื่องด้วยทางฝั่งตะวันออกนี้ พื้นที่นอกคูเมืองเดิมเป็นพื้นที่ลุ่มที่เกิดจากการตื้นเขินของทะเล ข้าศึกจะยกทัพมาทางนี้คงทำได้ยาก ฉะนั้นการป้องกันพระนครจะได้มุ่งป้องกันเพียง ฝั่งตะวันตกแต่เพียงด้านเดียว              3. ฝั่งตะวันออกเป็นพื้นที่ใหม่ สันนิษฐานว่าชุมชนใหญ่ในขณะนั้นคงจะมีแต่ชาวจีนที่เกาะกลุ่มกันอยู่จึงสามารถขยายออกไปได้อย่างกว้างขวาง และขยายเมืองได้เรื่อยๆ ที่มา : ดร.ประเสริฐ วิทยารัฐและคณะ,หนังสือเรียน ส306 ประเทศของเรา 4 สมบูรณ์แบบ,           (กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช,2542)           คณะทำงานเฉพาะกิจการจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ,                      ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ , (กรุงเทพฯ : อัมรินทร์การพิมพ์,2525)            สุคน  สินธพานนท์ และพรรษมน กิตติสารศักดิ์. สังคมศึกษา ส306. 2542. หน้า 72.

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่25 การเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

25-การเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น การเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น การดำเนินการด้านการปกครอง             ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงใช้ในการปกครองประเทศนั้น ทรงเอาแบบอย่างซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือ พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสูงสุดและเด็ดขาดในการปกครองประเทศ มีอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหพระกลาโหม และ สมุหนายก ตำแหน่งสมุหนายก มีเสนาบดี 4 ตำแหน่ง ที่เรียกว่า จตุสดมภ์ ขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาโดยตรงที่แตกต่างออกไปคือ ทรงแบ่งการปกครองพระราชอาณาเขตออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การปกครองส่วนกลาง  การปกครองส่วนหัวเมือง และการปกครองเมืองประเทศราช  การปกครองส่วนกลาง              สมุหพระกลาโหม มียศและพระราชทินนามว่า เจ้าพระยามหาเสนา ใช้ตราคชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่งมีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งด้านการทหารและพลเรือน              สมุหนายก มียศและพระราชทินนามไม่ทรงกำหนดแน่นอน ที่ใช้อยู่ได้แก่ เจ้าพระยาจักรี  บดินทร์เดชานุชิต  รัตนาพิพิธ ฯลฯ  ใช้ตราราชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและอีสานทั้งด้านการทหารและพลเรือน          จตุสดมภ์ มีดังนี้          1. กรมเวียง หรือ กรมเมือง เสนาบดี คือ เจ้าพระยายมราช มีตราพระยมทรงสิงห์เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปในพระนคร          2. กรมวัง เสนาบดี คือ พระยาธรรมา ใช้ตราเทพยดาทรงพระนนทิการ (พระโค) เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแลพระราชวังและตั้งศาลชำระความ          3. กรมคลัง หรือ กรมท่า ใช้ตราบัวแก้ว เป็นตราประจำตำแหน่งมีเสนาบดีดำรงตำแหน่งตามหน้าที่รับผิดชอบคือ  - ฝ่ายการเงิน ตำแหน่งเสนาบดีคือ พระยาราชภักดี  - ฝ่ายการต่างประเทศ ตำแหน่งเสนาบดีคือ พระยาศรีพิพัฒน์  - ฝ่ายตรวจบัญชีและดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออก ตำแหน่งเสนาบดีคือ พระยาพระคลัง         4. กรมนา เสนาบดีมีตำแหน่ง พระยาพลเทพ ใช้ตราพระพิรุณทรงนาค เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแลนาหลวง เก็บภาษีข้าว และพิจารณาคดีความเกี่ยวกับที่นา             การปกครองหัวเมือง คือ การบริหารราชการแผ่นดินในหัวเมืองต่างๆ ซึ่งแบ่งออกเป็นหัวเมืองชั้นในและหัวเมืองชั้นนอก              หัวเมืองชั้นใน  (เดิมเรียกว่า เมืองลูกหลวง หรือ เมืองหน้าด่าน) ได้แก่ หัวเมืองที่กระจายอยู่รายล้อมเมืองหลวง ถือเป็นเมืองบริวารของเมืองหลวง ไม่มีศักดิ์เป็นเมืองอย่างแท้จริง เพราะไม่มี เจ้าเมือง มีเพียง ผู้รั้ง (ซึ่งไม่มีอำนาจอย่างเจ้าเมือง จะต้องฟังคำสั่งจากเมืองหลวง)              หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ เมืองทั้งปวง(นอกจากเมืองหลวง เมืองชั้นใน และเมืองประเทศราช)              เมืองเหล่านี้จัดแบ่งระดับเป็นเมืองชั้น เอก โท ตรี ตามขนาด จำนวนพลเมืองและความสำคัญ แต่ละเมืองยังอาจมีเมืองเล็กๆ(เมืองจัตวา) อยู่ใต้สังกัดได้อีกด้วย เจ้าเมืองของเมืองเหล่านี้ มีอำนาจสิทธิ์ขาดในเมืองของตน แต่ต้องปฏิบัติตามพระบรมราชโองการและนโยบายของรัฐบาลที่เมืองหลวง ตามเขตการรับผิดชอบคือ              หัวเมืองเหนือและอีสาน อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหนายก              หัวเมืองใต้ (ตั้งแต่เมืองเพชรบุรีลงไป) อยู่ในความรับผิดชอบของ สมุหพระกลาโหม              หัวเมืองชายทะเลตะวันออก (นนทบุรี  สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สาครบุรี ชลบุรี  บางละมุง  ระยอง  จันทบุรี  และตราด) อยู่ในความรับผิดชอบของ เสนาบดีกรมพระคลัง  คือ พระยาพระคลัง การแต่งตั้งเจ้าเมือง                        เมืองเอก ได้แก่ เมืองพิษณุโลก  นครราชสีมา  นครศรีธรรมราช  ถลาง และสงขลา  พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเอง              เมืองโท  ตรี และจัตวา  เสนาบดีผู้รับผิดชอบเป็นผู้แต่งตั้ง  การปกครองเมืองประเทศราช              เมืองประเทศราชของไทยได้แก่  1. ล้านนาไทย (เชียงใหม่  ลำพูน  ลำปาง  เชียงแสน) 2. ลาว (หลวงพระบาง  เวียงจันทน์  จำปาศักดิ์)  3. เขมร  4. หัวเมืองมลายู (ปัตตานี  ไทรบุรี  กลันตัน  ตรังกานู)              เมืองประเทศเหล่านี้มีเจ้าเมืองเดิมเป็นผู้ปกครอง  แต่มีความผูกพันต่อราชธานี คือ การส่งเครื่องราชบรรณาการ ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง ตามกำหนดเวลา และช่วยราชการทหารตามแต่กรุงเทพฯ หรือ ราชธานี จะมีใบบอกแจ้งไป ภารกิจของราชธานี (กรุงเทพฯ) คือ ปกป้องดูแลมิให้ข้าศึกศัตรูโจมตีเมืองประเทศราช  การชำระแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย             พระราชกรณียกิจที่เกี่ยวกับการปกครองที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดให้ดำเนินการนอกเหนือไปจากการปรับปรุงแก้ไขระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน              ได้แก่ การรวบรวมและชำระกฎหมายเก่า ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เมื่อได้ชำระเรียบร้อยแล้วโปรดเหล้าฯให้อาลักษณ์คัดลอกไว้เป็น 3 ฉบับ ทุกฉบับประทับ  ตราคชสีห์  ตราราชสีห์ และตราบัวแก้ว               ซึ่งเป็นตราประจำตำแหน่งสมุหพระกลาโหม  สมุหนายกและพระยาพระคลัง ตามลำดับ เสนาบดีทั้งสามเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการปกครอง ดูแลหัวเมืองทั่วพระราชอาณาจักร              กฎหมายฉบับนี้จึงมีชื่อเรียกว่า “กฎหมายตราสามดวง” หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1  ได้ใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศมาจนถึงรัชกาลที่ 5 ก่อนที่จะมีการปฏิรูปกฎหมายและการศาลตามแบบสากล  ที่มา : ดร.ประเสริฐ วิทยารัฐและคณะ,หนังสือเรียน ส306 ประเทศของเรา 4 สมบูรณ์แบบ,           (กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช,2542)           คณะทำงานเฉพาะกิจการจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ,          ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ , (กรุงเทพฯ : อัมรินทร์การพิมพ์,2525)           สุคน  สินธพานนท์ และพรรษมน กิตติสารศักดิ์. สังคมศึกษา ส306. 2542. หน้า 72.          http://www.thaigoodview.com/node/45490

สัปดาห์ที่ 24 การเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง

24-การเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง การเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง      วิกฤตการณ์ทางการเมืองและการล่าอาณานิคมของชาวตะวันตก นโยบายของไทยที่มีต่อการล่าอาณานิคม             การดำเนินวิเทโศบายของรัชกาลที่ 4 และ 5 ในยุคล่าอาณานิคมของชาวตะวันตกพระองค์ทรงตะหนักถึงความเป็นมหาอำนาจของชาติตะวันตก การต่อต้านโดยใช้กำลังจึงเป็นไป  ไม่ได้ จึงต้องใช้วิธีการอื่นแทน ซึ่งพอสรุปได้ 3 ประการ ได้แก่                 1. การผ่อนหนักเป็นเบา                   2. การปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัย                     3.การผูกมิตรกับประเทศมหาอำนาจในยุโรป การผ่อนหนักเป็นเบา             1.ยอมทำสนธิสัญญาเสียเปรียบ คือ สนธิสัญญาเบาริง ทำกับประเทศอังกฤษในสมัย  รัชกาลที่ 4 แม้จะทรงทราบดีว่าเสียเปรียบ แต่ก็พยายามให้เสียเปรียบให้น้อยที่สุด                           2.การยอมเสียดินแดน รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ทรงทราบดีถึงวิธีการเข้าครอบครองดินแดนไว้เป็นอาณานิคมของชาวตะวันตก เช่น ขั้นแรกจะเน้นเข้ามาค้าขายหรือเผยแพร่ศาสนาก่อนแล้วภายหลังก็จะอ้างถึงข้อขัดแย้ง หรือขอสิทธิพิเศษ (เช่น ขอเช่าเมือง,แทรกแซงกิจการ ภายในประเทศ) ขั้นต่อไปก็จะส่งกำลังทหารเข้ายึด อ้างว่าเพื่อคุ้มครองคนของตนให้ปลอดภัยหรือเพื่อเป็นหลักประกันให้ปฏิบัติตามสัญญา ขั้นสุดท้ายก็ใช้กำลังเข้ายึดเพื่อเอาเป็นดินแดนอาณานิคม โดยอ้างข้อพิพาทต่างๆ (กรณีอังกฤษยึดพม่า) ด้วยพระปรีชาสามารถในการหยั่งรู้ความคิดนี้ ทำให้พระองค์สามารถประคับ   ประครองให้ชาติไทยพ้นจากการถูกยึดครองของชาวตะวันตก ซึ่งเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการเสียสละดินแดนส่วนน้อยเพื่อรักษาดินแดนส่วนใหญ่ของชาติเอาไว้ (ถือเป็นมาตรการสุดท้ายที่จะทำเพื่อรักษาเอกราชเอาไว้) นโยบายผ่อนหนักเป็นเบา              1. สนธิสัญญาเบาริง ข้อเสียเปรียบอย่างยิ่งของไทยจากสนธิสัญญาเบาริง สนธิสัญญาเบาริงเป็นสนธิสัญญาที่ไทยเสียเปรียบในทุกๆ ด้าน ในบรรดาความเสียเปรียบเหล่านั้นมีความเสียเปรียบ ที่ยิ่งใหญ่ 2 ประการ                 1.ทำให้ไทยต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่คนอังกฤษและคนในบังคับอังกฤษ  สิทธิสภาพนอกอาณาเขต คือ สิทธิที่ไม่ต้องขึ้นศาลไทย เมื่อคนอังกฤษหรือคนในบังคับอังกฤษ (ประเทศอาณานิคมของอังกฤษ) หรือคนชาติใดๆ ที่ขอจดทะเบียนเป็นคนในบังคับอังกฤษ ทำความผิดหรือมีคดี กับคนไทย ในระเทศไทย ให้ไปขึ้นศาลกงสุลอังกฤษ โดยอ้างว่า กฎหมายของไทยป่าเถื่อนและล้าหลัง                 2.ทำให้อังกฤษเป็นชาติอภิสิทธิ์ คือ อังกฤษเป็นชาติที่มีสิทธิพิเศษ ไม่ว่าไทยจะทำสัญญากับประเทศอื่นใด ภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาริง ก็ให้ถือว่าอังกฤษมีสิทธิเช่นเดียวกับชาตินั้นๆ โดยอัตโนมัติ              2. การยอมเสียดินแดนการเสียดินแดนของไทยเป็นการเสียให้แก่ชาติตะวันตกเพียง 2 ชาติ คือ ฝรั่งเศสและอังกฤษ รวมทั้งสิ้น 6 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นการเสียให้แก่ฝรั่งเศส ครั้งแรกเสียไปในตอนปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4              หลังจากนั้นเป็นการเสียดินแดนในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทั้งสิ้น              การเสียดินแดนเป็นมาตรการขั้นสุดท้ายในการรักษาเอกราชของชาติ การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเร่งปรับปรุงชาติบ้านเมืองให้เจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ และการเสด็จประพาสยุโรปเพื่อผูกมิตรกับชาติมหาอำนาจในยุโรปถึง 2 ครั้งของพระองค์ เป็นเครื่องยืนยันพระราชวิริยะอุตสาหะของพระองค์ที่จะรักษาเอกราชของชาติไว้ ทุกครั้งที่ทรงยินยอมเสียดินแดนไปนั้นล้วนแล้วแต่เป็นกรณีที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ทั้งสิ้น พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์  ยุคปฏิรูปบ้านเมืองรัชกาลที่ 4  พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองสมัยรัชกาลที่ 4 สาเหตุการปรับปรุงการปกครองสมัยรัชกาลที่ 4              1.ทรงได้รับแนวคิดจากชาวตะวันตก ซึ่งพระองค์ได้สัมผัสและทรงคุ้นเคยตั้งแต่ครั้งยังผนวชอยู่             2.เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า และเป็นพื้นฐานที่จะได้มีการเปลี่ยนแปลงในโอกาสต่อไป เพื่อรักษาเอกราชของประเทศชาติให้พื้นจากการครอบครองของประเทศ ตะวันตกที่กำลังขยายอิทธิพลเข้ามาในประเทศไทยในขณะนั้น การปรับปรุงการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 4             1.ออกประกาศต่างๆ เรียกว่า ประกาศรัชกาลที่ 4 เพื่อให้ประชาชนได้รับข่าวสารระเบียบแบบแผนการปฏิบัติของผู้คนในสังคมอย่างถูกต้อง             2.ปรับปรุงกฎหมาย ทรงตราพระราชกำหนดกฎหมายใหม่ และออกประกาศข้อบังคับต่างๆ ถือว่าเป็นกฎหมายเช่นเดียวกันรวมทั้งหมดประมาณ 500 ฉบับ             3.โปรดให้จัดตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระบรมหาราชวัง มีชื่อเรียกว่า “โรงอักษรพิมพการ”  เพื่อใช้พิมพ์ประกาศและกฎหมายต่างๆ เป็นหนังสือแถลงข่าวของทางราชการ เรียกว่า ราชกิจจานุเบกษา             4.ให้ราษฎรมีโอกาสได้ถวายฎีการ้องทุกข์ได้สะดวก พระองค์ทรงเปลี่ยนแปลงระเบียบวิธีการร้องทุกข์  โดยพระองค์จะเสด็จออกมารับฎีการ้องทุกข์ด้วยพระองค์เองทุกวันโกณ ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ เดือนละ 4 ครั้ง และโปรดเกล้าฯให้ตุลาการ ชำระความให้เสร็จโดยเร็ว  ทำให้ราษฎรได้รับความยุติธรรมมากขึ้นกว่าแต่ก่อน             5.ทรงประกาศให้เจ้านายและข้าราชการทำการเลือกตั้งตำแหน่ง พระมหาราชครูปุโรหิตาจารย์  และตำแหน่งพระมหาราชครูมหิธร อันเป็นตำแหน่งที่ว่างลง แทนที่ พระองค์จะทรงแต่งตั้งด้วยพระราชอำนาจของพระองค์เอง นับเป็นก้าวใหม่ของการเลือกตั้งข้าราชการบางตำแหน่ง             6.การปรับปรุงระบบการศาล ทรงเปลี่ยนแปลงประเพณีบางอย่างเกี่ยวกับระบบ การศาล ได้แก่ ทรงยกเลิกการพิจารณาคดีแบบจารีตนครบาล เริ่มมีการจัดตั้ง ศาลกงสุลเป็นครั้งแรก             7.ทรงเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา โดยพระองค์ทรงเสวย น้ำพระพิพัฒน์สัตยาร่วมกับขุนนางข้าราชการ และทรงปฏิญาณนความซื่อสัตย์ของ    พระองค์ต่อข้าราชการทั้งปวงด้วย ซึ่งแต่เดิม ขุนนางข้าราชการจะเป็นผู้ ถวาย สัตย์ปฏิญาณแต่เพียงฝ่ายเดียว นับว่าพระองค์ทรงมีความคิดที่ทันสมัยมาก             8.ทรงริเริ่มการจัดกองทหารแบบตะวันตก พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์  ยุคปฏิรูปบ้านเมืองรัชกาลที่ 5             สาเหตุสำคัญในการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5             1.ปรับปรุงประเทศให้เจริญก้าวหน้าเพื่อป้องกันการคุกคามของประเทศมหาอำนาจตะวันตก             2.การปกครองแบบเก่า อำนาจการปกครองบ้านเมืองตกอยู่กับขุนนาง ถ้าปฏิรูปการปกครองใหม่ จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจอย่างแท้จริง  การปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน              รัชกาลที่ 5 ทรงจัดตั้งสภาที่ปรึกษาเพื่อช่วยในการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้             1.การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) สมาชิกสภาประกอบด้วยข้าราชการที่มีบรรดาศักดิ์ชั้นพระยาจำนวน 12 คน ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งมีหน้าที่ ถวายคำปรึกษาในเรื่องเกี่ยวกับราชการแผ่นดินโดยทั่วไป พิจารณาร่างกฎหมายต่างๆ             2.องคมนตรีสภา (สภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์) (Privy Council) สมาชิกประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ ์และข้าราชการระดับต่างๆ จำนวน 49 คน ทำหน้าที่ ถวาย คำปรึกษาข้อราชการและเสนอความคิดเห็นต่างๆ และมีหน้าที่ช่วยปฏิบัติราชการ ตามแต่จะมีพระบรมราชโองการ ปัจจุบันคือ คณะองคมนตรี              ต่อมาภายหลัง 2 สภาถูกยกเลิกไปเพราะขุนนางไม่พอใจ คิดว่ากษัตริย์จะล้มล้างระบบขุนนาง จึงเกิดการ ต่อต้าน  การปฏิรูปการปกครองส่วนกลางของรัชกาลที่ 5             มีการปฏิรูปการปกครองส่วนกลางโดยยกเลิก จตุสดมภ์ และใช้การบริหารงานแบบกระทรวงตามแบบอย่างของตะวันตก โดยจัดรวมกรมต่างๆ ที่มีลักษณะงาน คล้ายๆ กันมาเป็นกรมขนาดใหญ่ 12 กรม              ต่อมาเปลี่ยนเป็น กระทรวง อยู่ในความดูแลของเสนาบดี มี 12 กระทรวง             1.กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือรวมทั้งเมืองประเทศราชทางเหนือ              2.กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้รวมทั้งเมืองประเทศราชทางใต้              3.กระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องการต่างประเทศ              4.กระทรวงวัง มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องในราชสำนักและพระราชพิธีต่างๆ ตลอดจนพิจารณาคดีแทนพระมหากษัตริย์              5.กระทรวงเมือง มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยในพระนคร ดูแลรักษาบัญชีคนดูแลเกี่ยวกับคุก ดูแลกิจการตำรวจ (ภายหลังเปลี่ยนเป็นกระทรวงนครบาล)             6.กระทรวงเกษตราธิการ มีหน้าที่ จัดการเรื่องการเพาะปลูก การป่าไม้ เหมืองแร่ การค้าขาย และการขุดคลอง รวมทั้งโฉนดที่ดิน ที่เริ่มมีขึ้นตั้งแต่รัชกาลที่ 5 นี่เอง             7.กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องภาษีอากร รายรับ-รายจ่ายของแผ่นดิน ตลอดจนรักษาทรัพย์สมบัติของแผ่นดิน             8.กระทรวงยุทธนาธิการ มีหน้าที่ดูแลจัดการเรื่องการทหาร ทั้งทหารบก และทหารเรือ              9.กระทรวงธรรมการ มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการศาสนา การศึกษา การพยาบาลและพิพิธภัณฑ์              10.กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่จัดการเรื่องการก่อสร้างต่างๆ ตลอดจนการไปรษณีย์โทรเลขและการรถไฟ              11.กระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดี โดยรวมการพิจารณาพิพากษาคดี ที่กระจายอยู่ตามกระทรวงต่างๆเข้าด้วยกัน              12.กระทรวงมุรธาธิการ มีหน้าที่ดูแลรักษาพระราชลัญจกร ตลอดจนพระราชกำหนดกฎหมายและหนังสือราชการต่างๆ เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์              ต่อมาได้ยุบกระทรวงยุทธนาธิการไปรวมกับกระทรวงกลาโหมและยุบกระทรวงมุรธาธิการไปรวมกับกระทรวงวัง เพื่อความเหมาะสมและรัดกุมมากยิ่งขึ้นและให้กระทรวงกลาโหมทำหน้าที่เกี่ยวกับการทหาร ทั่วประเทศอย่างเดียว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย  ยาวนานมาก (23ปี)             มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานการบริหารงานในกระทรวงมหาดไทยมีความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี             มีผลงานด้านการปกครองที่สำคัญคือการจัดตั้งมณฑล 18 มณฑล   จังหวัด 71 จังหวัด อันเป็นรากฐานสำคัญในการปกครองและบริหารท้องที่ในปัจจุบันจนได้รับการยกย่องว่าเป็น   “พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย” การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคของรัชกาลที่ 5             1.ยกเลิกหัวเมือง เอก โท ตรี จัตวา และยกเลิกหัวเมืองประเทศราช จัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล แบ่งเขตการปกครองเป็นมณฑล                 เมือง อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย เป็นการรวมอำนาจตามหัวเมืองเข้าสู่ราชธานี                             1.1 มณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาล เป็นผู้ดูแล แต่ละมณฑลแบ่งออกเป็น เมือง                 1.2 เมือง มีผู้ว่าราชการเป็นผู้ดูแล แต่ละเมืองแบ่งออกเป็นอำเภอ                  1.3 อำเภอ มีนายอำเภอเป็นผู้ดูแล แต่ละอำเภอแบ่งออกเป็นตำบล                  1.4 ตำบล มีกำนันเป็นผู้ดูแล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน                  1.5 หมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ดูแล  การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่นของรัชกาลที่ 5             1.ทรงริเริ่มให้สิทธิแก่ราษฎรในการเลือกผู้ปกครองตนเองเป็นครั้งแรก โปรดเกล้าฯให้มีการทดลองเลือกตั้ง “ผู้ใหญ่บ้าน”ที่บางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แทนการแต่งตั้งโดยเจ้าเมือง ต่อมาใน พ.ศ.2440 ทรงออกพระราชบัญญัติการปกครองท้องที่ ร.ศ.116 กำหนดการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน กำนัน โดยอาศัยเสียงข้างมากของราษฎร             2.โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก และสุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรก ที่ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีคณะกรรมการประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทำหน้าที่บริหารงาน สุขาภิบาล มีรายได้จากภาษีโรงเรือนในท้องถิ่น  ผลของการปฏิรูปการปกครองของรัชกาลที่ 5             1.ก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในราชอาณาจักร ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปกครองส่วนภูมิภาคในรูปมณฑลเทศาภิบาล    โดยมีศูนย์รวมอยู่ที่กรุงเทพมหานคร             2.รัฐบาลไทยที่กรุงเทพฯ สามารถขยายอำนาจเข้าควบคุมพื้นที่ภายในราชอาณาจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพทางการเมือง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการหยุดยั้งการคุกคามจากประเทศมหาอำนาจตะวันตก ต่อประเทศไทย              3.ทำให้กลุ่มผู้เสียผลประโยชน์จากการปฏิรูปการปกครอง พากันก่อปฏิกิริยาต่อรัฐบาลที่กรุงเทพฯ ดังจะเห็นได้จากกรณีกบฏผู้มีบุญภาคอีสาน ร.ศ.121  กบฏเงี้ยวเมืองแพร่    ร.ศ.121 กบฏแขกเจ็ดหัวเมือง ร.ศ.121 แต่รัฐบาลก็สามารถควบคุมสถานสถารณ์ไว้ได้ พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์  ยุคปฏิรูปบ้านเมืองรัชกาลที่ 6             การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 6             1.การจัดตั้ง ดุสิตธานี เพื่อทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยโปรดฯให้สร้างนครจำลองขึ้น              พระราชทานนามว่า ดุสิตธานี เดิมตั้งอยู่ที่พระราชวังดุสิต ต่อมาย้ายไปอยู่ที่พระราชวังพญาไท (บริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าฯในปัจจุบัน)              ภายในดุสิตธานีมีสิ่งสมมุติ หรือ แบบจำลองต่างๆ เช่น ที่ทำการรัฐบาล วัดวาอาราม อาคารบ้านเรือน ถนน สาธารณูปโภค สถานที่ราชการ ฯลฯ              โปรดฯ ให้มีการบริหารงานในดุสิตธานี โดยวิธีการเลือกตั้งตามแบบประชาธิปไตย มีการเลือกตั้งในระบบพรรคการเมือง             พรรคการเมืองที่ได้รับเสียงข้างมาก เป็นผู้จัดตั้งคณะผู้บริหารดุสิตธานี เรียกว่า นคราภิบาล              ลักษณะการบริหารงานในดุสิตธานี เป็นการจำลองการบริหารงานแบบเทศบาล ของประเทศตะวันตก  การปรับปรุงการปกครองส่วนกลางของรัชกาล 6             1.โปรดให้จัดตั้งกระทรวงใหม่ คือ กระทรวงมุรธาธิการ (ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงยกเลิกไป) กระทรวงทหารเรือ กระทรวงพาณิชย์             2.ทรงยกเลิกกระทรวงนครบาล รวมเข้ากับกระทรวงมหาดไทย             3.ทรงให้เปลี่ยนชื่อกระทรวงโยธาธิการ เป็นกระทรวงคมนาคม การปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาคของรัชกาลที่ 6             1.ปรับปรุงเขตการปกครองของมณฑล บางมณฑล             2.โปรดฯให้รวมมณฑลที่อยู่ติดกันหลายๆ มณฑล รวมกันเป็น ภาค แต่ละภาคมีอุปราชเป็นผู้บังคับบัญชา ทำหน้าที่ตรวจตราควบคุมดูแลการบริหารงานของสมุหทศาภิบาลมณฑลในภาคนั้น ๆ             3.เปลี่ยนคำว่า เมือง เป็น จังหวัด การขยายกิจการทหารของรัชกาลที่ 6             ทรงจัดตั้งกระทรวงทหารเรือ กองบิน และสร้างสนามบินขึ้นเป็นครั้งแรก ในสมัยรัชกาลที่ 6              ได้มีเหตุการณ์ ร.ศ.130 ในปีพ.ศ.2445 มีนายทหารและพลเรือนกลุ่มหนึ่งได้เตรียมการยึดอำนาจ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง มาสู่ระบอบประชาธิปไตย              แต่รัฐบาลได้ล่วงรู้ก่อนได้จับกุมกลุ่มกบฏ ร.ศ.130 จำคุกและได้รับการลดโทษและอภัยโทษภายหลัง พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์  ยุคปฏิรูปบ้านเมืองรัชกาลที่ 7             พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองสมัยรัชกาลที่ 7             1.ทรงแต่งตั้งอภิรัฐมนตรีสภา เพื่อเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน มีสมาชิกประกอบด้วย พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง 5 พระองค์             2.ทรงแต่งตั้งองคมนตรีสภา มีหน้าที่พิจารณาถวายความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายที่ออกใหม่และการบริหารราชการด้านต่างๆ             3.ทรงแต่งตั้งเสนาบดีสภา มีหน้าที่ในการถวายคำปรึกษาแด่พระมหากษัตริย์ หรือปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายงานในหน้าที่ของกระทรวง สมาชิกเสนาบดีสภา    ประกอบด้วย เสนาบดีบังคับบัญชากระทรวงต่างๆ การปรับปรุงการบริหารราชการส่วนกลาง              การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ.2475-2461) ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างมาก รัฐบาลจึงมีนโยบายลดหน่วยราชการ จึงรวมกระทรวงคมนาคมกับกระทรวงพาณิชย์ เข้าด้วยกัน เรียกชื่อว่า กระทรวงพาณิชย์และการคมนาคม การปรับปรุงการบริหารส่วนภูมิภาค          1.ยกเลิกมณฑลบางมณฑลที่ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยรวมมณฑลหลายมณฑลเข้าด้วยกัน         2.ยุบเลิกจังหวัดบางจังหวัด การเปลี่ยนแปลงการปกครอง               1.เปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (พระมหากษัตริย์มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน) มาเป็นระบอบประชาธิปไตย (ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน    ทุกคนเท่าเทียมกัน)             2.ผู้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือ คณะราษฎร ประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือและพลเรือน นำโดย พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าฝ่ายทหาร คือ จอมพลแปลก(ป)  พิบูลสงคราม  หัวหน้าฝ่ายพลเรือน คือ นายปรีดี  พนมยงค์  (หลวงประดิษฐ์  มนูธรรม)เข้าทำการยึดอำนาจและส่งผู้แทนเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ซึ่งพระองค์ก็ทรงยอมรับข้อเสนอของคณะราษฎร    และพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 ซึ่งประเทศไทยถือวันนี้ของทุกปีเป็นวันรัฐธรรมนูญ             3.วันที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง คือ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475             4.พระมหากษัตริย์องค์แรกของการปกครองแบบประชาธิปไตย และอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ รัชกาลที่ 7             5.นายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา การปฏิรูปกฎหมายและการศาลไทยรัชกาลที่ 4-7             การปฏิรูปกฎหมายและการศาลของรัชกาลที่ 5  ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นระยะเวลาที่ชาวตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลในประเทศไทย แม้จะมีการออกประกาศและตรากฎหมายต่างๆ ขึ้นมาใช้บังคับราษฎร              แต่ยังมีกฎหมายวิธีพิจารณาคดี ที่เรียกว่า จารีตนครบาล คือ การพิจารณาคดีที่ถือว่า ผู้ใดถูกกล่าวหา ผู้นั้นต้องหาพยานหลักฐานมาแสดงให้เห็นได้ว่าตนบริสุทธิ์ และมีการทำทารุณกรรม เพื่อให้ผู้ต้องหารับสารภาพว่าทำผิด เช่น การตอกเล็บ บีบขมับ จนกว่าจะรับสารภาพ              ซึ่งชาวตะวันตกเห็นว่าเป็นการกระทำที่ป่าเถื่อน ไร้อารยธรรม จึงไม่ยอมให้ใช้กับคนในบังคับของตน เป็นเหตุให้ไทยต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (สิทธิทางการศาล)              โดยไทยต้องยอมให้ต่างประเทศตั้งศาลกงสุลชำระคดีความที่คนของตนและคนในบังคับตน ทำความผิดในประเทศไทย ซึ่งเท่ากับทำให้ไทยเสียเอกราชทางการศาล              รัชกาลที่ 5 จึงทรงพยายามดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆ ขึ้น ได้แก่             1.จัดตั้งกระทรวงยุติธรรม พ.ศ.2434             2.จัดตั้งโรงเรียนสอนกฎหมาย (ภายหลังได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)โดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรี ดิเรกฤทธิ์ หรือพระนามเดิมคือ    พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ โอรสของรัชกาลที่ 5 หลังจากสำเร็จวิชากฎหมายจาก มหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ก็กลับมารับราชการเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม และดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนสอนกฎหมายขึ้น และทรงดำเนินการสอนเอง ภายหลังได้รับการยกย่อง ว่าเป็น พระบิดาแห่งกฎหมายและการศาลไทย              3.ตั้งคณะกรรมการตรวจชำระและร่างกฎหมายลักษณะอาญา ประกาศใช้ในพ.ศ.2451 จัดเป็นกฎหมายแบบใหม่และทันสมัยที่สุดฉบับแรกของไทย             4.ยกเลิกกฎหมายตราสามดวง และประกาศใช้กฎหมายอีกหลายฉบับ เช่น  พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ ร.ศ.116 พระราชบัญญัติกรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือร.ศ.120    กฎหมายว่าด้วยการเลิกทาส พ.ศ.2448 ฯลฯ             5.มีการปฏิรูปภาษากฎหมายไทยให้รัดกุมและชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น             6.ปรับปรุงรวบรวมปรับปรุงศาล เพื่อให้ทำหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น ตราพระธรรมนูญศาล ยุติธรรม พ.ศ.2451 ให้มีศาลฎีกา ศาลสถิตยุติธรรมกรุงเทพฯ และศาลหัวเมือง             7.ในพ.ศ.2455 มีการจัดระบบศาลใหม่ ให้มีศาลในกระทรวงยุติธรรม 2 แผนก คือ                1.ศาลยุติธรรมกรุงเทพฯ ได้แก่ ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ ศาลพระราชอาญา ศาลแพ่ง ศาลต่างประเทศ ศาลโปรีสภา                2.ศาลหัวเมือง ได้แก่ ศาลมณฑล ศาลเมือง และศาลแขวง การปฏิรูปกฎหมายและการศาลของไทยนอกจากจะเป็นผลงานของ   พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการไทยแล้ว ยังได้ว่าจ้างนักกฎหมายชาวญี่ปุ่น และชาวยุโรป มาช่วยด้วย  การปรับปรุงกฎหมายและการศาลของรัชกาลที่ 6         1.ปรับปรุงระเบียบการศาล โดยแบ่งงานในกระทรวงยุติธรรมเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายธุรการ กับฝ่ายตุลาการ โดยตุลาการทำหน้าที่พิจารณาคดีได้อย่างอิสระ         2.มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นครั้งแรก         3.โปรดฯให้ตั้งสภานิติศึกษา มีหน้าที่จัดระเบียบและวางหลักสูตรการศึกษาของโรงเรียนกฎหมาย  ที่มา : ดร.ประเสริฐ วิทยารัฐและคณะ,หนังสือเรียน ส306 ประเทศของเรา 4 สมบูรณ์แบบ,           (กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช,2542)           คณะทำงานเฉพาะกิจการจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ,          ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ , (กรุงเทพฯ : อัมรินทร์การพิมพ์,2525)           สุคน  สินธพานนท์ และพรรษมน กิตติสารศักดิ์. สังคมศึกษา ส306. 2542. หน้า 72.          http://th.wikipedia.org/wiki/          http://www.suratphotoclub.net/forum/

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 23 ลักษณะทางเศรษฐกิจของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

23-ลักษณะทางเศรษฐกิจของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ลักษณะทางเศรษฐกิจของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น     เมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นใหม่ๆนั้นการค้ากับต่างประเทศมียังไม่มาก เพราะมีปัญหาภายในและต้องทำสงครามกับพม่า  ภายหลังไทยสามารถเอาชนะพม่าได้อย่างเด็ดขาดในสงครามท่าดินแดง(พ.ศ.2329) ทำให้มีหลายประเทศเข้ามาทำการค้าด้วย เศรษฐกิจไทยเริ่มดีขึ้น สิ่งที่แสดงให้เห็นว่า  เศรษฐกิจการค้าในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  เจริญรุ่งเรือง คือ การปรับปรุงจัดทำเงินตราขึ้นใหม่ เงินตราที่ใช้ในสมัยนี้ คือ                                        1.  รายได้จากการค้ากับต่างประเทศ                                                                  กรุงเทพฯ นับว่าอยู่ในทำเลที่เหมาะสมในการติดต่อค้าขายทางเรือ  เพราะตั้งอยู่ไม่ไกลจากปากทะเล ในสมัยรัชกาลที่ 2 พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์  (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3)  ซึ่งทรงบังคับบัญชากรมท่า มีบทบาทในการส่งเสริมการค้าโดยเฉพาะกับจีน จนสมเด็จพระบรมชนกนาถ  ทรงเรียกพระนามว่า "เจ้าสัว"  ต่อมาเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างจริงจัง การค้าขายกับต่างประเทศจึงขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าใน 2 รัชกาลแรก รายได้จากการค้ากับต่างประเทศที่สำคัญ สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้คือ  (1)  การค้าสำเภาหลวง   พระคลังสินค้า ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐขึ้นอยู่กับพระคลัง  (พระยาโกษาธิบดี) มีหน้าที่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ โดยการแต่งเรือสำเภาหลวงบรรทุกสิ่งของ ที่เป็นส่วย เช่น ดีบุก พริกไทย ครั่ง ขี้ผึ้ง ไม้หอม ฯลฯ  รวมทั้งสินค้าอื่น ๆ ที่จัดซื้อหาเพิ่มเติมออกไปค้าขายกับจีนและประเทศใกล้เคียง เช่น เขมร ญวน และมลายู แล้วรับซื้อสินค้าต่างประเทศที่ต้องการใช้ภายในประเทศ เช่น ผ้า ถ้วยชาม มาจำหน่ายแก่ประชาชนอีกต่อหนึ่ง ผลกำไรจากการค้าสำเภาหลวงนับเป็นรายได้ที่สำคัญยิ่งของแผ่นดิน ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น      (2)  กำไรจากการผูกขาดสินค้า   พระคลังสินค้ามีหน้าที่ควบคุมการค้ากับต่างประเทศ  เช่นในสมัยอยุธยา โดยผูกขาดสินค้าบางอย่างซึ่งเป็นสินค้าหายาก ราคาแพง  เช่น รังนก ฝาง ดีบุก  งาช้าง พริกไทย เนื้อไม้ ตะกั่ว และพลวง  เป็นสินค้าผูกขาดของหลวง  ราษฎรผู้ใดมีสินค้าดังกล่าว  ให้นำมาขายแก่พระคลังสินค้า เท่านั้น  ห้ามเอกชนซื้อขายกับพ่อค้าต่างชาติโดยตรง  ถ้าชาวต่างประเทศ ต้องการซื้อสินค้าเหล่านี้ จะต้องซื้อผ่านพระคลังสินค้าซึ่งทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลาง เรียกสินค้าเหล่านี้ว่า  สินค้าต้องห้าม      (3)  ภาษีปากเรือ   เป็นค่าธรรมเนียม ซึ่งเก็บจากเรือสินค้าของชาวต่างประเทศที่เข้ามาจอดในเมืองท่าของไทย  กำหนดเก็บภาษีตามส่วนกว้าง ที่สุดของเรือ            (4)  ภาษีสินค้าขาเข้า   เก็บจากสินค้าที่พ่อค้าต่างประเทศนำเข้ามาจำหน่าย เช่น ผ้าฝ้าย   ผ้าแพรจีน  เครื่องแก้ว  เครื่องลายคราม  ใบชา  อัตราการเก็บไม่แน่นอน  ยืดหยุ่นตามความเหมาะสม  เช่น  เรือของประเทศที่มีสัมพันธไมตรีเข้ามาค้าขายเป็นประจำ จะได้รับสิทธิพิเศษ ในสมัยรัชกาลที่ 2  เรือสินค้าของชาวจีนเสียภาษีสินค้าขาเข้าร้อยละ 4 ถ้าเป็นเรือสินค้าของชาติตะวันตก เสียภาษีร้อยละ 8  ของราคาสินค้า      (5)   ภาษีสินค้าขาออก   เก็บจากสินค้าที่ส่งออกในอัตราที่ต่างกันไปตามชนิดของสินค้า   เช่น  ในสมัยรัชกาลที่ 2 รังนกนางแอ่นกับเขากวางอ่อน  เสียภาษีร้อยละ 20 ของราคาสินค้า   งาช้างหาบละ 10 สลึง  เกลือเกวียนละ 4 บาท  หนังวัว  หนังควาย  กระดูกช้าง หาบละ 1 บาท     2.  รายได้ภายในประเทศ     ส่วนใหญ่คงเป็นแบบเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายและสมัยกรุงธนบุรี   รัฐบาลมีรายได้จากการเก็บภาษีอากร แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ      (1)   จังกอบ   หมายถึง  ภาษีสินค้าผ่านด่านทั้งทางบกและทางน้ำ  โดยการเก็บ ตามสัดส่วนสินค้าในอัตรา 10 หยิบ 1  หรือเก็บเงินตามขนาดของยานพาหนะที่ขนสินค้า ผ่านด่าน ส่วนใหญ่วัดตามความกว้างที่สุดของปากเรือ      (2)   อากร   เป็นเงินที่เก็บจากผลประโยชน์ที่ราษฎรได้จากการประกอบอาชีพต่าง ๆ  ที่ไม่ใช่การค้าขายโดยตรง เช่น การทำนา ทำสวน หรือเงินที่พ่อค้าเสียให้แก่รัฐบาล ในการให้สัมปทานการประกอบการต่าง ๆ เช่น การให้เก็บของป่า การต้มสุรา  อัตราที่เก็บประมาณ 1 ใน 10 ของผลประโยชน์ที่ราษฎรทำมาหาได้      (3)   ส่วย   เป็นเงินหรือสิ่งของที่ไพร่หลวงที่ไม่ต้องการเข้าเวรรับราชการส่งมาให้รัฐแทนการเข้าเวร รับราชการ  โดยรัฐเป็นผู้กำหนดว่าให้ไพร่หลวงต้องเข้าเวรภายใน 3 เดือน  ผู้ใดไม่ต้องการจะเข้าเวร   จะต้องเสียเป็นเงินเดือนละ 6 บาท      (4)   ฤชา   เป็นเงินค่าธรรมเนียมที่รัฐเรียกเก็บจากราษฎร  ในกิจการที่ทางราชการจัดทำให้   เช่น  การออกโฉนด  เงินปรับสินไหม ที่ฝ่ายแพ้จะต้องชดใช้ให้แก่ฝ่ายชนะ  รัฐก็จะเก็บไปครึ่งหนึ่งเป็นค่าฤชา   เรียกว่า  "เงินพินัยหลวง" นอกจากนี้ ยังได้มีการปรับปรุงภาษีบางอย่างเพิ่มขึ้นจากเดิมในสมัยรัชกาลที่ 2 รัชกาลที่ 3   ที่สำคัญ ๆ ดังนี้       สมัยรัชกาลที่ 2 มีการปรับปรุงภาษี ดังนี้ การเดินสวน  คือ  การให้เจ้าพนักงานที่ได้รับการแต่งตั้งออกไปสำรวจเรือกสวนของราษฎรว่าได้จัดทำผลประโยชน ์ในที่ดินมากน้อยเพียงใด แล้วออกหนังสือสำคัญให้เจ้าของถือไว้เพื่อเป็นหลักฐานการเสียภาษีอากร  ซึ่งการจัดแบ่งภาษีการเดินสวนจัดแบ่งตามประเภทของผลไม้ การเดินนา  คือ  การให้เจ้าพนักงานออกไปสำรวจที่นาของราษฎร  แล้วออกหนังสือสำคัญให้เจ้าของถือไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการเสียภาษีอากรที่เรียกว่า "หางข้าว"   คือ การเก็บข้าวในอัตราไร่ละ 2 ถัง และต้องนำไปส่งที่ฉางหลวงเอง เงินค่าผูกปี้ข้อมือจีน   เดิมชาวจีนได้รับการยกเว้นจากการเกณฑ์แรงงานในขณะที่ราษฎรไทยที่เป็นไพร่ และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในเมืองไทยต้องถูกสักข้อมือเป็นไพร่และต้องทำงานให้แก่มูลนายและพระเจ้าแผ่นดิน   รัฐบาลไทยในสมัยรัชกาลที่ 2 เห็นควรที่จะได้ใช้ประโยชน์จากแรงงานจีน จึงได้พิจารณาเก็บเงินค่าราชการ จากชาวจีน 1 บาท 50 สตางค์ ต่อ 3 ปี   จีนที่มาเสียค่าแรงงานแล้ว จะได้รับใบฎีกาพร้อมกับได้รับการผูกปี้ข้อมือด้วยไหมสีแดงประทับตราด้วยครั่งเป็นตราประจำเมือง ซึ่งแตกต่างกันออกไป  เช่น เมืองเพชรบุรีเป็นรูปหนู  กาญจนบุรี เป็นรูปบัว   การผูกปี้ข้อมือจีนนี้ เริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2  ได้เป็นประเพณีปฏิบัติสืบมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 จึงมีพระราชบัญญัติลักษณะการผูกปี้ข้อมือจีน พ.ศ. 2443  ออกใช้บังคับทั่วทุกมณฑล และได้ยกเลิกไปในตอนปลายรัชกาลเมื่อ พ.ศ. 2451      สมัยรัชกาลที่ 3  มีการเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้นหลายชนิด  เช่น  ภาษีพริกไทย  น้ำตาล  เป็นต้น   ในสมัยนี้มีระบบการเก็บภาษีแบบใหม่เกิดขึ้น  เรียกว่า  "ระบบเจ้าภาษีนายอากร"  หมายถึงการที่รัฐเปิดประมูลการเก็บภาษี   ผู้ชนะการประมูล คือ ผู้ที่เสนอผลประโยชน์สูงสุดให้แก่รัฐบาล  มีอำนาจไปดำเนินการเก็บภาษีแทนรัฐบาลอีกต่อหนึ่ง   ผู้ที่ประมูลภาษี เรียกว่า "เจ้าภาษีนายอากร" ส่วนมากเป็นชาวจีนผู้มีฐานะดีทางเศรษฐกิจจากการลงทุนค้าขาย   ผลดีของระบบเจ้าภาษีนายอากร คือรายได้จากการเก็บภาษีอากร ได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น  แต่มีข้อเสีย คือ เป็นระบบผูกขาด ที่ให้แก่ชาวจีนเป็นส่วนใหญ่ และอาจจะมีการขูดรีดภาษีจากราษฎรได้   ที่มา : ดร.ประเสริฐ วิทยารัฐและคณะ,หนังสือเรียน ส306 ประเทศของเรา 4 สมบูรณ์แบบ,            (กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช,2542)           คณะทำงานเฉพาะกิจการจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ,           ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ , (กรุงเทพฯ :  อัมรินทร์การพิมพ์,2525)           สุคน  สินธพานนท์ และพรรษมน กิตติสารศักดิ์. สังคมศึกษา ส306. 2542. หน้า 72           http://www.oursiam.in.th/content/           http://4.bp.blogspot.com/_sQrXJzxTtT0/

สัปดาห์ที่ 22 ลักษณะทางเศรษฐกิจไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง(รัชกาลที่ 4-7)

22-ลักษณะทางเศรษฐกิจไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง (รัชกาลที่ 4-7) ลักษณะทางเศรษฐกิจไทยสมัยสภาพเศรษฐกิจในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยรัชกาลที่ 4 นั้น    พระราชกรณียกิจทางการบริหารประเทศอันดับแรกที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงกระทำเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศ คือ การลดภาษีสินค้าขาเข้า การอนุญาตให้ส่งข้าวเป็นสินค้าออกได้ และการค้าฝิ่นโดยผ่านระบบเจ้าภาษี การทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษ หลังทำสนธิสัญญาเบาว์ริงแล้ว ระบบเศรษฐกิจของไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจแบบยังชีพไปสู่เศรษฐกิจแบบเงินตรากับนานาประเทศ การค้าขายขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางโดยใช้เงินตราเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน                                  สาระสำคัญของสัญญาเบาว์ริงทางเศรษฐกิจ 1. คนในบังคับอังกฤษหรือชาติต่างๆ ทำการค้าได้โดยเสรี 2.ยกเลิกภาษีเบิกร่องหรือค่าปากเรือ โดยให้เก็บภาษีขาเข้าร้อยละ 3 แทน อนุญาตให้    นำฝิ่นเข้ามาโดยไม่ต้องเสียภาษี แต่จะต้องขายให้กับผู้ผูกขาดการค้าฝิ่นในเมืองไทยเท่านั้น 3.ไทยอนุญาตให้ส่งข้าวเป็นสินค้าออกได้ ยกเว้นในปีที่ทำนาไม่ได้ผล 4.สินค้าออกให้เก็บเป็นภาษี " ขาออกอย่างเดียว 5.ให้ไทยตั้งโรงภาษีหรือศุลกากร เพื่อทำการตรวจสินค้าต่างๆ ที่นำขึ้นมาจากเรือ และลงเรือเพื่อเก็บภาษีขาเข้าหรือขาออกแล้วแต่กรณีสนธิสัญญาเบาว์ริงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจของไทยอยู่หลายประการ คือ 1.การเปลี่ยนแปลงระบบการค้า ไทยยกเลิกวิธีการค้าแบบพระคลังสินค้าให้มีการค้าอย่างเสรี 2.การเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจ การผลิตหลังจากที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ    ระบบเศรษฐกิจของไทยเปลี่ยนจากเศรษฐกิจแบบเลี้ยงตนเอง เป็นระบบเศรษฐกิจเพื่อการค้า 3.การเปลี่ยนแปลงด้านภาษีอากร ไทยต้องยกเลิกการค้าแบบผูกขาด 4.การขยายตัวทางเศรษฐกิจอื่นๆ มีบริษัทและร้านค้าที่ชาวต่างชาติขอเปิดขึ้น     มากมายในกรุงเทพฯ เช่น บริษัท บอร์เนียว จำกัด  บริษัท เรมีเดอมองตินยี จำกัด  หรือโรงแรมสมัยใหม่     เช่น โฮเตลฟอลด์ เป็นต้น 5.การพัฒนาประเทศเพื่อรองรับความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ ได้แก่      5.1 การตัดถนน ถนนสายแรกคือ ถนนเจริญกรุง ฝรั่งเรียกว่า นิวโรด (New Road)ต่อมา            ได้ตัดถนนเพิ่มขึ้นอีกหลายสาย เช่น ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื้องนคร ถนนพระรามที่ 4  นนสีลม      5.2 การขุดคลอง พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองผดุงเกษม เพื่อใช้เป็นแนว            ป้องกันพระนครชั้นนอกและเพื่อสะดวกในการคมนาคม    คลองมหาสวัสดิ์ คลองเจดีย์บูชา             คลองดำเนินสะดวก เพื่อสะดวกในการคมนาคม  ขนส่งสินค้าระหว่างกรุงเทพฯกับหัวเมืองใกล้เคียง การปฏิรูปเงินตราสมัยรัชกาลที่ 4    สมัยรัชกาลที่ 4 ระบบการค้าเริ่มขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ระบบเศรษฐกิจแบบ เงินตรามีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากการขาดแคลนเงินตราในการซื้อขาย       แลกเปลี่ยน เงินตราที่ใช้อยู่ทั่วไปคือ เบี้ย ซึ่งเป็นหอยชนิดหนึ่งได้มาจากหมู่เกาะมาลดีบในมหาสมุทรอินเดีย แต่อัตราแลกเปลี่ยนเบี้ยในท้องตลาดไม่ค่อยจะคงตัว โดยปกติจะอยู่ราว 800 เบี้ย ต่อ 1 เฟื้อง นอกจากนี้ก็มีการใช้เงินพดด้วง เป็นลักษณะก้องกลมมีตราประทับบนตัวด้วง เงินตราทั้ง 2ชนิดไม่เหมาะกับการค้าสมัยใหม่เพราะ เบี้ยแตกง่าย  เงินพดด้วงก็ปลอมได้ง่ายและผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการครั้งเมื่อพ่อค้าต่างชาตินำเงิน     เหรียญสเปน หรือเหรียญเม็กซิโกเข้ามาใช้ ก็ไม่มีใครยอมรับ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อ      การค้าขายมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหานี้ชาวต่างประเทศถึงกับแนะนำให้รัฐบาลไทยเลิกใช้    เงินบาท โดยพ่อค้าเหล่านั้นจะผลิตเงินบาทเข้ามาใช้เอง แต่รัชกาลที่ 4  ไม่ทรงเห็นด้วยเพราะจะเป็นโอกาสให้มีเหรียญปลอมระบาดมากขึ้น การแก้ปัญหาของรัชกาลที่ 4 ในเรื่องนี้ คือมีพระราชดำริที่จะเลิกใช้เงินพดด้วงซึ่ง ทำด้วยมือซึ่งผลิตได้ช้าไม่ทันการมาใช้เงินเหรียญที่ผลิตจากเครื่องจักรแทน โดย            ซื้อเครื่องจักรมาจากต่างประเทศ เริ่มมีการผลิตเงินเหรียญเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ.2403 และตั้งแต่นั้นมามีการผลิตเงินเหรียญในชนิดและอัตราต่างๆออกมา ในปีพ.ศ.2405 โปรดเกล้าฯให้ผลิตเหรียญดีบุกขึ้น2 ชนิด คือ อัฐมีราคา 8 อันต่อ 1 เฟื้อง  และโสฬส  มีราคา 16 อันต่อ 1 เฟื้อง ปีพ.ศ.2406  โปรดเกล้าฯให้มีการผลิตเหรียญทองมีอัตราต่างกันตามลำดับ ดังนี้ คือ ทศราคาอันละ 8 บาท  พิศราคาอันละ 4  บาทและพัดดึงส์ราคาอันละ 10  สลึง ปี พ.ศ.2408 โปรดเกล้าฯให้ผลิตเหรียญทองแดง 2 ชนิดคือ  ซีกมีราคา 2 อันต่อ 1 เฟื้อง และเซี่ยว(ปัจจุบันเรียก เสี้ยว) มีราคา 4 อันต่อ 1 เฟื้อง   โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ รัชกาลที่4 โปรดเกล้าฯให้มีประกาศแจ้งให้ราษฎรได้ทราบ และชักชวนให้ราษฎรมาใช้เงินเหรียญชนิดต่างๆที่ผลิตขึ้น นอกจากเงินเหรียญชนิดต่างๆ แล้วรัฐยังได้พิมพ์ธนบัตรที่เป็นกระดาษคล้ายกับ ปัจจุบันด้วยสมัยนั้น เรียกว่า “หมาย”มีราคาตั้งแต่เฟื้อง จนถึง 1 บาท ผู้ที่เป็นเจ้าของหมายจะได้รับเงินก็ต่อเมื่อนำหมายดังกล่าวนั้นไปขึ้นเงินที่พระคลังมหาสมบัติ แต่ราษฎรไม่เห็นประโยชน์จากการใช้กระดาษเป็นเครื่องแลกเปลี่ยน การใช้หมายดังกล่าวจึงไม่แพร่หลาย การตั้งโรงงานกระษาปณ์เพื่อผลิตเหรียญตรา ในปีพ.ศ.2403 ในขั้นแรกเป็นวิธีการ ที่รัฐพยายามที่จะ แก้ปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น แต่ผลที่ตามมานอกเหนือจากนั้น         ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบเงินตรา ซึ่งถือได้ว่าเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและการค้า เพราะการซื้อขายแลกเปลี่ยนด้วยเงินตราในระบบใหม่ที่สะดวกกว่าระบบเก่า ย่อมจะทำให้    การค้าระหว่างประเทศขยายตัว ปริมาณการหมุนเวียนของสินค้ามีมากขึ้นตามไปด้วย การปรับปรุงเศรษฐกิจในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปเศรษฐกิจ ดังนี้ 1.การปฏิรูปด้านการคลัง รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้น ในปี พ.ศ.2416 ในพระบรมมหาราชวัง ทำหน้าที่รับผิดชอบรวบรวมเงินภาษีอากร          ทุกชนิดนำส่งพระคลังมหาสมบัติ ทำบัญชีรวบรวมผลประโยชน์ ตรวจตราการเก็บ       ภาษีอากรของหน่วยราชการต่างๆ ให้เรียบร้อยรัดกุม รับผิดชอบการจ่ายเงินเดือนในอัตราที่แน่นอนให้กับข้าราชการฝ่ายพลเรือนและทหาร เฉพาะในส่วนกลางแทนการจ่าย เบี้ยหวัดและเงินปี                                       2. การปฏิรูประบบเงินตรา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงปฏิรูประบบเงินตรา  ดังนี้            2.1การประกาศกำหนดมาตราเงินใหม่ ให้มีเพียง 2 หน่วย คือ บาทกับสตางค์ สตางค์ที่ออกมาใช้  ครั้งแรก มี 4 ขนาด คือ 20 , 10 , 5 และ 2 สตางค์ครึ่ง และประกาศยกเลิกใช้เงินพดด้วง      2.2 การออกธนบัตร ประกาศใช้พระราชบัญญัติธนบัตร จัดตั้งกรมธนบัตรขึ้นเพื่อทำหน้าที่ออก ธนบัตรให้ได้มาตรฐาน ธนบัตรนั้นเดิมประกาศใช้มา   ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 แล้ว      2.3เปรียบเทียบค่าเงินไทยกับมาตรฐานทองคำ ในพ.ศ.2451 ประกาศใช้พระราชบัญญัติมาตรฐานทองคำ กำหนดอัตราแลกเปลี่ยน 13 บาท เท่ากับ 1 ปอนด์ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากล 3.การตั้งธนาคาร มีบุคคลคณะหนึ่งร่วมมือก่อตั้งธนาคารของไทยแห่งแรกเรียกว่า บุคคลัภย์ (Book Club) ได้รับพระราชทางพระบรมราชานุญาตจัดตั้งธนาคาร   จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายเรียกชื่อว่า แบงค์สยามกัมมาจล   (Siam Commercial Bank) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด 4.การทำงบประมาณแผ่นดิน ในพ.ศ.2439 รัชกาลที่ 5 โปรดให้มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อให้การรับจ่ายของแผ่นดินมีความรัดกุม โปรดให้แยกเงินส่วนแผ่นดินและส่วนพระองค์ออกจากกันอย่างเด็ดขาด โดยให้ พระคลังข้างที่ เป็นผู้ดูแลพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ 5.การปรับปรุงทางด้านการเกษตรและการชลประทาน มีการขุดคลองเก่าบางแห่งและขุดคลองใหม ่อีกหลายแห่ง เช่น คลองนครเนื่องเขต คลองดำเนินสะดวก คลองประเวศน์บุรีรัมย์ คลองเปรมประชา คลองทวีวัฒนา สร้างประตูระบายน้ำ เพื่อช่วยส่งน้ำให้เข้าถึงพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูกได้ ด้านการป่าไม้ โปรดให้ตั้ง  กรมป่าไม้ ส่งเสริมให้ปลูกสวนสัก และส่งนักเรียนไทยไปศึกษาวิชาป่าไม้  ณ  ต่างประเทศ                                   6.การพัฒนาทาด้านคมนาคม การสื่อสาร ได้มีการสร้างถนนขึ้นหลายสาย คือ ถนนเยาวราช ถนนราช   ดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินนอก ถนนบูรพา      ถนนอุณากรรณ ถนนดินสอ ส่วนสะพานข้ามคลองที่เชื่อมถนนต่างๆ ก็มี สะพานผ่านพิภพลีลา สะพานผ่านฟ้าลีลาศ สะพานมัฆวานรังสรรค์   สะพานเทวกรรมรังรักษ์ ในด้านการสื่อสาร ได้ทรงตั้งกรมไปรษณีย์ขึ้นเป็นครั้งแรก พ.ศ.2426  ในพ.ศ.2418 เปิดบริการโทรเลขสายแรกระหว่างกรุงเทพฯ – สมุทรปราการ ด้านการสร้างทางรถไฟ มีการสร้างทางรถไฟเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ กับหัวเมือง        ในส่วนภูมิภาค ได้แก่ ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ – นครราชสีมา  ทางรถไฟสายใต้                 ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ – สมุทรปราการ  กรุงเทพฯ – พระพุทธบาท           กรุงเทพฯ–มหาชัย–ท่าจีน– แม่กลอง    สายบางพระแบะสายแปดริ้ว ฯลฯ   การปรังปรุงเศรษฐกิจในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการปฏิรูปเศรษฐกิจต่อเนื่องมาจากสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งสรุปได้ดังนี้ 1.การสนับสนุนการลงทุนธุรกิจอุตสาหกรรม ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน การลงทุนจัดตั้งบริษัททำปูนซีเมนต์ สนับสนุนกิจการโรงไฟฟ้าสามเสน         ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนการจัดตั้งบริษัทพาณิชยนาวีสยาม 2.การส่งเสริมทางด้านการเกษตร เช่น จัดตั้งกรมทดน้ำเพื่อจัดหาน้ำไว้ใช้ใน การเพาะปลูก ส่งเสริมการขุดลอกคูคลอง จัดตั้งสถานีทดลองพันธ์ข้าวที่     คลองหกรังสิต  จัดตั้งสหกรณ์การเกษตรแห่งแรก  ชื่อ  สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้   ที่อำเภอเมือง   จังหวัดพิษณุโลก 3.การจัดตั้งสถาบันการเงิน ได้มีการตั้งธนาคารออมสินขึ้น เพื่อรับฝากเงินของราษฎรและ มีที่เก็บเงินโดยปลอดภัย และเพื่อประโยชน์ในการหมุนเวียนเงินตรา 4.การเปลี่ยนแปลงมาตราชั่ง ตวง วัด โปรดให้ประกาศใช้มาตราชั่ง ตวง วัด ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันแบบสากลโดยใช้ระบบของฝรั่งเศส 5.การปรับปรุงงานด้านการคมนาคมการขยายงานด้านรถไฟ โปรดให้ตั้งกรมรถไฟหลวงขึ้น และได้สร้าง - เส้นทางรถไฟสายเหนือถึงเชียงใหม่ สายตะวันออกเฉียงเหนือถึงอุบลราชธานีและขอนแก่น สายตะวันออกถึงอรัญประเทศ และสายใต้ถึง  ปาดังเบซาร์ โดยเปิดสถานีหัวลำโพง สร้างสะพานพระราม 6 เพื่อเชื่อม    ทางรถไฟสายเหนือและสายใต้เข้าด้วยกัน สร้างทางรถไฟสายแรกระหว่างกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เปิดเดินรถไฟเส้นทางระยะแรกระหว่าง    กรุงเทพฯ-อยุธยา -ด้านวิทยุโทรเลข โปรดให้กระทรวงทหารเรือ จัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขขึ้นที่ตำบลศาลาแดง กรุงเทพฯ และที่สงขลา -การวางรากฐานการคมนาคมทางอากาศ จัดตั้งกรมอากาศยานขึ้น และมีการบินขั้นทดลองครั้งแรก สร้างสนามบินดอนเมือง 6.การจัดตั้งกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์  ขึ้นอยู่กับกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ต่อมายกฐานะเป็นกระทรวงพาณิชย์ 7.การยกเลิกหวย ก รัชกาลที่ 6 โปรดให้ประกาศยกเลิก หวย ก.ข. การปรับปรุงเศรษฐกิจในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พ เศรษฐกิจตกต่ำในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ ใน พ.ศ.2468       ปัญหาแรกที่ต้องทรงแก้ไขอย่างรีบด่วน คือ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ จึงมีการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ คือ ทรงวางระเบียบการใช้จ่ายเงินภายในพระราชสำนักเป็นอันดับแรก      ตัดทอนรายจ่ายฝ่ายราชการลงด้วยการลดจำนวนข้าราชการบริพารในกระทรวงวัง โดยเฉพาะ      ในกรมมหาดเล็ก เพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่หน่วยราชการต่างๆ มีการดุลยภาพข้าราชการก่อนกำหนด โดยให้รับเบี้ยหวัดเบี้ยบำนาญแทน ที่มา : ดร.ประเสริฐ วิทยารัฐและคณะ,หนังสือเรียน ส306 ประเทศของเรา 4 สมบูรณ์แบบ,           (กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช,2542)           คณะทำงานเฉพาะกิจการจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ,ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ,           (กรุงเทพฯ :  อัมรินทร์การพิมพ์,2525)           สุคน  สินธพานนท์ และพรรษมน กิตติสารศักดิ์. สังคมศึกษา ส306. 2542. หน้า 72           http://www.rakbankerd.com/agriculture/