ยินดีต้อนรับเข้าสู่ บล็อกของ ณัฐธิดา พึ่งประโคน วิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส 22102 ครูผู้สอน คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม



ครูเกษียณอายุราชการ2558
ข่าวสารทั่วไป
24โดย : admin
24/ส.ค./2558
2 stars ( 2 / 12 )
ประกาศผลการสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 ( 2039 / )
ประกาศผลสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 อ่านต่อ....
12โดย : admin
12/ส.ค./2558
4.5 stars ( 4.5 / 9 )
ค้นหารายชื่อนักเรียน ( 473 / )
ค้นหาชื่อนักเรียน อ่านต่อ....
ภาพกิจกรรมใหม่ล่าสุด
รวมภาพกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์ประจำปีการศึกษา 2558
ข่าวการศึกษา
ข่าวครูบ้านนอก

Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส 22102 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา ในการฝึกทักษะเรียนรู้พื้นฐาน การจัดการความรู้ ทักษะภาษาดิจิตอล ทักษะการรู้คิดประดิษฐ์สร้าง ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่มีประสิทธิผล ทักษะการสืบค้น ฯลฯ เพื่อพัฒนาไปสู่ทักษะความรู้ที่มุ่งหวังของหลักสูตร โรงเรียนมาตรฐานสากล 6 ประการ ประกอบด้วย (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills (2) ทักษะการคิด Thinking Skills (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills (4) ทักษะชีวิต Life Skills (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skills ทฤษฎีระบบการเรียน KM (Knowlead Maneagement) โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา(Word Class Standard)

ข่าว

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 28 พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้             ดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ครอบคลุมพื้นที่ในปัจจุบัน ได้แก่ประเทศตุรกี เลบานอน อิสราเอล จอร์แดน อิรัก อิหร่านซาอุดีอาระเบียคูเวตไซปรัส โอมาน กาตารสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์บาห์เรนและเยเมนดินแดนบริเวณนี้มีเรื่องราวทางประวัติสาสตร์์ตั้งแต่อารยธรรมเริ่มแรก ที่มีกลุ่มชนกลุ่มต่างๆ ข้ามามีอำนาจผลัดเปลี่ยนกัน ปกครองโดยเริ่มประมาณ 500 ปีก่อนพุทธศักราช             ชาวบาบิโลนและชาวอัสซีเรีย ซึ่งมีอำนาจอยู่ได้ถูกโค่นล้มไปในที่สุดและมหาอำนาจที่ขึ้นมาครอบครองดินแดนนี้คือชาวเปอร์เซีย             ภายหลังจากนั้นดินแดนในภูมิภาคนี้ได้รับอิทธิพลจากความเชื่อนศาสนาอิสลาม เป็นจักรวรรดิอิสลาม ดังนี้ การสถาปนาอาณาจักรเปอร์เซีย  ( ประมาณ 31 ปี ก่อนพุทธศักราช –พ.ศ. 230 )             ชาวเปอร์เชียเป็นชนในกลุ่มชาติพันธุ์อินโดยูโรเปียนมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ริเวรทางใต้ของรัสเซียและเอเชียกลางเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ยุคแรกๆ คือเมื่อประมาณ 257 ปีก่อนพุทธศักราช             ดังปรากฏในเอกสารอัสซีเรียซึ่งบันทึกไว้ว่ากษัตริย์อัสซีเรียได้รบชนะพวกบัคส และเปอร์เซีย จึงผนวกเอาดินแดนทั้งสองพวกนี้เป็นส่วนหนึ่งของอัสซีเรียแต่ชาวเปอร์เซียไม่ยอมจำนน              จึงได้ก่อกบฏต่อต้านพวกอัสซีเรียเรื่อยมาจนกระทั่งประมาณ 31 ปี ก่อนพุทธศักราช ชาวเปอร์เซียจึงสามารถรบชนะพวกอัสซีเรียและยึดเมืองหลวงได้สำเร็จ             โดยกษัตริย์ไซรัสมหาราช แห่งเปอร์เซีย( ประมาณ 17 ปีก่อนพุทธศักราชถึง พ.ศ. 13 )ทรงรวบรวมประชาชนเชื้อชาติเดียวกันให้เป็นปึกแผ่น              ในรัชสมัยของพระองค์ได้ทำสงครามพิชิต ดินแดนต่างๆและกษัตริย์แห่งจักรวรรดิเปอร์เซียองค์ต่อมามีอำนาจมากขึ้น สามารถขยายดินแดนออกไปอย่างว้างขวางโดยเฉพาะในสมัยของพระเจ้าดา ริอุสมหาราชครองราชยประมาณ พ.ศ. 22-85 ดินแดน             อาณาจักรของเปอร์เซีย มีอาณาเขตทางตะวันตกเริ่มจากแม่น้ำไนล์ในอียิปต์ไปจนจรดแม่น้ำสินธุทางตะวันออก ล้วนเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์             ทำให้อาณาจักรเปอร์เซียในยุคนั้นมีความมั่งคั่งอันเนื่องจากความครอบครองทรัพยากรในดินแดนดังกล่าว              รวมทั้งติดต่อค้าขายกับดินแดนเหล่านั้น เช่น การติดต่อกับอินเดีย โดยส้นทางมหาสมุทรอินเดีย และแล่นเรือเลียบฝั่งทะเลอาหรับไปยังทะเล แดง เดินทางไปถึงอียิปส์             เปอร์เซียมีอำนาจเหนือดินแดนที่ปกครอง ต่อเนื่องมาจนถึงปลายรัชกาลพระเจ้า ดาริอุสมหาราช              ทั้งนี้เนื่องจากเปอร์เซียทำสงครามกับนครรัฐกรีก การทำสงครามกับกรีกติดพันต่อมาจนกระทั่งพระเจ้าดาริอุสมหาราชสวรรคต              พระโอรสของพระองค์ยังคงทำสงครามกับกรีกต่อมารวมทั้ง ทำสงครามปราบปรามผู้นำในดินแดนต่างๆ ที่ไม่ยอมรับอำนาจของพระองค์             ในที่สุดพระโอรสของพระเจ้าดาริอุสมหาราช ทำสงครามพ่ายแพ้นครรัฐกรีก จึงเป็นเหตุให้พระองค์ ยุตินโยบายการขยายดินแดน              แต่ก็ยังคงรักษาอำนาจในดินแดนเอเชียและแอฟริกาที่เปอร์เซียยึดครองไว้ได้ โดยมีศูนยกลางการปกครองอยู่ที่กรุงเปอร์ซีโปลิสในประเทศอิหร่านปัจจุบัน การเมืองการปกครอง             อาณาจักรเปอร์เซีย ปกครองโดยแบ่งจักรวรรดิออกเป็น 20 มณฑล แต่ละมณฑล มีข้าหลวงปกครองและกษัตริย์ทรงแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายจัดเก็บภาษีเป็นผู้แทนพระองค์ ไปประจำแต่ละมณฑล             นอกจากนี้ยังมีผู้ตรวจราชการพิเศษ คอยเป็นหูเป็นตาให้กับกษัตริย์ โดยผู้ตรวจราชการจะเดินทางไปตรวจราชการตามมณฑลต่างๆ โดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า             ในเขตแดนอาณาจักรเปอร์เซียประกอบด้วยประชากรหลายเชื้อชาติ ประชากรเหล่านั้นได้รับอนุญาตให้ดำเนินชีวิต ตามวัฒนธรรมของตน รวมทั้งความเชื่อทางศาสนา              แต่ต้อปฏิบัติตามกฎหมายของอาณาจักร อาณาจักรเปอร์เซียพัฒนาระบบการคมนาคม โดยสร้างถนนเชื่อมระหว่าง ดินแดนต่างๆ ในจักรวรรดิ              และมีการสร้างสถานที่พักระหว่างทางซึ่งมีอาหารม้า และน้ำสำหรับผู้เดินทางทุกๆ 14 ไมล์ ทำให้สะดวกรวดเร็วในการเดินทาง              นอกจากนี้ยังส่งผลดีด้านการปกครอง ต่อจักรวรรดิเพราะเมืองหลวงสามารถที่จะควบคุมอำนาจ และแก้ไขเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามมณฑลต่างๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว เศรษฐกิจ             ดินแดนอาณาจักรเปอร์เซียในสมัยนั้นมีอาณาเขตกว้างขวาง ทำให้อาณาจักรเปอร์เซียในยุคนั้นมีความมั่งคั่งอันเนื่องจากทรัพยากรในดินแดนดังกล่าว              อาณาจักรนี้มีความสำคัญในการเชื่อมต่อ การค้าจากอินเดีย ซึ่งเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์มีทรัพยากรที่สำคัญ ได้แก่ ไหมทองคำ เพชรและมีสัตว์ แปลกๆ              โดยเส้นทางทะเลจากบริเวณอ่าวเปอร์เซียสามารถแล่นเรือข้ามทะเลอาหรับไปยังทะเลแดง เดินทางไปจนถึงอียิปส์ สังคมและวัฒนธรรม             ความเชื่อทางศาสนา ในดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ประกอบด้วยกลุ่มชนหลายเผ่าพันธุ์ ซึ่งแต่ละเผ่าต่างนับถือเทพเจ้าประจำเผ่า              ซึ่งมีหลายองค์เทพเจ้าต่างๆมัก เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ เช่น เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์พายุหรือเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์             และเทพเจ้าแห่งสงครามแต่มีเผ่าฮิบรูหรือ ชาวยิว ที่นับเทพเจ้าองค์เดียวเป็นเทพเจ้าประจำเผ่า              ในเวลาต่อมาคติในความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวทำให้มีการพัฒนาเป็นศาสนาสำคัญของโลกคือ ศาสนายูดาย คริสต์ศาสนาและศาสนาอิสลาม              ศาสนาที่เป็นศาสนาดั้งเดิมของชาวเปอร์เซียได้แก่ศาสนาโซโรแอสเตอร์ มีหลักคำสอนให้รู้จักว่า มีทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว              ฝ่ายดีมีพระอาหุรา มาสดา เป็นเทพเจ้าแห่งความดี และความยุติธรรม              ฝ่ายชั่วคืออาหริมันเป็นเทพเจ้าแห่งความชั่วและความเดือดร้อน             ศาสนาโซโรแอสเตอร์ ยังมีผู้นับถือและประกอบพิธีกรรม             ในปัจจุบันภาษา การปกครองอาณาจักรอันกว้างไกลของเปอร์เซียมีการใช้ภาษาอรามาอิคเป็นภาษากลาง              ซึ่งพัฒนามาจากภาษาของชาวอัสซีเรียแต่ไม่ใช้ตัวอักษร “ลิ่ม” ของชาวสุเมเรียนเป็นตัวเขียน แตนำตัวอักษรของชาวฟินีเซีย เขียนเป็นภาษา่อรามาอิคแทนความเชื่อของอาณาจักร             เปอร์เซียเมื่อประมาณ พ.ศ. 200 พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช แห่งกรีกได้ยกทัพมาพิชิต เปอร์เซียแล้วผนวกเอาเปอร์เซีย เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรกรีกสาเหตุที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชยกกองทัพมาโจมตีเปอร์เซีย              เนื่องจากเปอร์เซียยังคงมีอำนาจอยู่ในดินแดนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้านเอเชียซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับนครรัฐกรีกทำให้นครรัฐกรีกหวาดกลัวว่าเปอร์เซียอาจยกทัพมาโจมตีอีกในที่สุด             พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช จึงได้รวบรวมกองทัพกรีก เริ่มโจมตีชายแดนของอาณาจักรเปอร์เซียที่ตุรกี อียิปส์ ดินแดนบนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้านเอเชีย และเมืองในลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส จนกระทั่งเข้าโจมตีกรุงเปอร์ซีโปลิสและยึดได้ประมาณ พ.ศ. 230             ผลจากการขยายอำนาจของกรีก เข้ามาในดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างคนพื้นเมืองกับชาวกรีก               จึงทำให้ อารยธรรมกรีกในด้านปรัชญาและศาสนา ตลอดจนความรด้านวิทยาศาสตรและูการแพทย์ สถาปัตยกรรมและประติมากรรมแพร่หลายในดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้             ขณะเดียวกันแคว้นต่างๆ ที่อยู่ในภายใต้อาณาจักรเปอร์เซียแยกแตก ออกไปเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย              บรรดาผู้นำและเผ่าพันธุ์อันหลากหลายต่างสู้รบกันเพื่อตั้งตัวขึ้นเป็นใหญ่และได้ครอบครองดินแดนที่อุดมสมบูรณ์สภาพความแตกแยกระหว่างเผ่าพันธุ์ต่างๆดำเนินมาจนกระทั่งในที่สุดจึงได้รวมกันภายใต้จักรวรรดิอิสลาม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในดินแดนเอเชียใต้             เอเชียใต้มีพื้นที่ครอบคลุมดินแดนสำคัญ ได้แก่ ประเทศอินเดีย เนปาล บังกลาเทศ ปากีสถาน อัพกานิสถาน ภูฎานมัลดีฟส์ และศรีรังกาในปัจจุบัน ดินแดนแห่งนี้มีลักษณะเด่นประการหนึ่งคือได้รับอิทธิพลจากอายธรรมอินเดียละ อารยธรรมอิสลามดังนั้น             การอธิบายเรื่องพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอเชียใต้ จึงนำเสนอประวัติศาสตร์อินเดีย และศรีลังกา เนื่องจากเป็นชาติที่มีประวัติิต่อเนื่องยาวนานโดยแบ่งหัวข้อออกเป็นดังนี้ 1. ประวัติศาสตร์อินเดีย ( ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 3-23 )             1. ยุคราชวงศ์ ( พุทธศตวรรษที่ 3-17 ) อินเดียในยุโบราณแบ่งแยกเป็นแว่นแคว้นอิสระมีพระราชาหรือกษัตริย์ปกครองแต่ละแคว้น              ซึ่งบางครั้งกษัตริย์เหล่า นี้ต่างทำสงครามสู้รบกัน เนื่องจากอินเดียมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เช่นผ้า อัญมณี เครื่องเทศ และ สัตว์ป่านานาชนิด              จึงทำให้อินเดียถูกรุกรานจากศัตรูภายนอก เช่นเปอร์เซียนและกรีก ในพุทธศตวรรษที่ 3 อินเดียเผชิญกับการรุกราน จากกองทัพพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช แม้ว่ากองทัพหลวงได้ถอยทัพกลับไป แต่ยังมีีแม่ทัพนายกองตั้งทัพอยู่              ในที่สุดพระเจ้าจันทรคุปต์ จึงรวบรวมกำลังขับไล่กองทัพกรีกออกไป และรวบรวมอินเดียเป็นหนึ่งอันเดียวกันได้เป็นครั้งแรก             พระเจ้าจันทรคุปต์ทรงสถาปนาราชวงศ์เมารยะ ( ระหว่าง พ.ศ. 221 -358 ) โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปาฏลีบุตรแห่งแคว้นมคธ ซึ่งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มน้ำคงคาทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย              พระองค์ ทรงรวบรวมแคว้นในลุ่มน้ำสินธุและคงคา ทำให้ดินแดนภายใต้การปกครองของราชวงศ์เมารยะขยายออกไป              กษัตริย์ที่ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าจันทรคุปต์ คือ พระเจ้าพินทุสารพระองค์ทรงขยายอาณาจักรลงไปทางตอนใต้ บริเวณที่ราบสูงเดคคาน              เมื่อสิ้นรัชกาลของพระองค์พระราชโอรส คือพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงขยายอาณาจักรครอบคลุมที่ทางตอนเหนือของแม่น้ำสินธุทั้งหมด และขยายอำนาจลงมาทางตะวันออกเฉียงใต้ถึงแม่น้ำกฤษณา             การขยายอำนาจในครั้งนั้นมีการสู้รบครั้งสำคัญเมื่อปี พ.ศ. 281 กล่าวคือพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงโจมตีแคว้นลิงคะที่มีความมั่งคั่งและมีความเข้มแข็งทางทหารจนได้รับชัยชนะ              แต่ผลของสงครามทำให้มีผู้ส้นชีวิตจำนวนมาก พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสลดพระทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงยุติการทำสงคราม แล้วเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา พระองค์ทรงสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 311              ภายหลังจากรัชกาลของพระองค์ บรรดาพระราชโอรสทรงขัดแย้งกันเอง และขณะเดียวกันเจ้าเมืองที่อยู่ภายใต้อำนาจ ราชวงศ์เมารยะ ต่างตั้งตัวเป็นอิสระ โดยอำนาจจากส่วนกลาง ไม่สามารถปราบปรามได้ ราชวงศ์เมารยะจึงค่อยๆ เสื่อมอำนาจลง              จักรวรรดิของราชวงศ์เมารยะยังถูกศัตรภายนอกรุกรานจากทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือได้แก่ พวกพื้นเมืองเชื้อสายกรีก กษัตริย์องค์สำคัญของพวกนี้ พระเจ้ามิลินทร์             นอกจากนี้ยังมีชนเผ่ากุษาณะที่ได้ตั้งอาณาจักรกุษาณะขึ้นทางตอนเหนือของอินเดีย ราชวงศ์กุษาณะ แต่เดิมเป็นชนเผ่าเร่ร่อนได้เข้าครอบครองดินแดนทางตอนเหนือของอินเดีย และสถาปนากุษาณะ ประมาณ พ.ศ. 432 -800 โดยมีเมืองหลวงคือเมืองเปษวาร์ และมีเมืองตักศิลา เป็นศูนย์กลางความเจริญ              กษัตริย์ที่มีอำนาจแห่งราชวงศ์นี้ คือพระเจ้ากนิษกะ แต่ภายหลังจากรัชกาลของพระองค์ ราชวงศ์กุษาณะสลายลง เนื่องจากถูกุกรานจากชนเผ่าที่มาจากเอเชียกลาง              จึงทำให้บ้านเมืองแตกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย หลังจากอาณาจักรกุษาณะเสื่อมอำนาจ อินสามารถรวบรวมเป็นปึกแผ่นได้อีกครั้งภายใต้การปกครองของ ราชวงศ์คุปตะ ( พ.ศ. 863 -1078 )              ผู้สถาปนาราชวงศ์คือ พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 สมัยราชวงศ์คุปตะถือกันว่าเป็นยุคแห่งอารยธรรมฮินดูในภาคเหนือของอินเดีย              การฟื้นฟูศาสนาและศิลปะฮินดูในสมัยนี้เกิดจากการต่อต้านการปกครองของราชวงศ ต่างชาติในศตวรรษที่ผ่านมา ราชวงศ์คุปตะเจริญสูงสุดในรัชสมัยของพระเจ้าจันทรคุปตที่ 2 ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 918 – 958ทรงทำสงคราขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวาง             ต่อมาราชวงศ์คุปตะค่อยๆ หมดอำนาจลงเนื่องจากกษัตริย์อ่อนแอ ทั้งยัง์ถูกชาวฮั่นทางตอนเหนือยกทัพเข้ามารุกรานจนปกครองอินเดียตอนเหนือได้ทั้งหมด ทำให้ราชวงศ์คุปตะหมด อำนาจลงอินเดียในยุคราชวงศ์ได้พัฒนาในด้านต่างๆดังนี้ การเมืองการปกครอง             ในยุคราชวงศ์เมารยะ ซึ่งปกครองอาณาจักรอินเดียอันกว้างใหญ่ไพศาล ได้ใช้วิธีการปกครอง ที่กษัตริย์ทรงมีอำนาจเด็ดขาดในการปกครอง              ซึ่งเป็นผลจากการรับแนวคิดจากคัมภีร์อรรถศาสตร์ ที่ว่าด้วยการสร้างและรักษาอำนาจการใช้วิเทโศบายทางการเมืองต่างๆ  เพื่อเอาชนะศัตรูในด้านการบริหารงานราชการแผ่นดินแบ่งเป็น 3 ฝ่ายคือ -ฝ่ายตุลาการ มีกษัตริย์เป็นประมุข -ฝ่ายทหาร มีกษัตริย์เป็นจอมทัพ ควบคุมกองทหารต่างๆ -ฝ่ายพลเรือน ประกอบด้วยข้าราชการส่วนกลาง และหัวเมือง             โดยราชการส่วนกลางแบ่งเป็น 6 หน่วยตามประเภทงานคือ  หน่วยดูแลชาวต่างชาติ  หน่วยจัดทำทะเบียนประชากร หน่วยดูแลการค้าขาย  และหน่วยทำหน้าที่เก็บเป็นต้น             ส่วนหัวเมืองแบ่งแคว้นเรียกว่า  เทศาแต่ละ เทศาแบ่งย่อยออกไปจนถึงหมู่บ้านตามลำดับ ผู้ปกครองเทศเรียกว่าราชาหรืออุปราช ที่อาจเป็นพระราชวงศ์หรือขุนนางผู้ใหญ่ขึ้นตรงต่อกษัตริย์              นอกจากนี้ส่วนกลางยังแต่งตั้งข้าราชการจากเมือง หลวงและหน่วยสืบราชการลับคอยสอดส่องการปฏิบัติงานของขุนนางหัวเมือง              นอกจากดูแลความสงบเรียบร้อยแล้วยังมีการ พัฒนาด้านต่างๆ การชลประทาน การทำเหมืองแร่ การทำป่าไม้ เป็นต้นรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช              ในระยะต้นราชการ พระองค์ยังคงใช้วิธีการปกครองตามแนวของคัมภีร์อรรถศาสตร์ของฮินดู แต่เมื่อทรงเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา             พระองค์ทรงเปลี่ยนวิธีการปกครอง โดยใช้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นแนวทาง โดยกษัตริย์มีฐานะเป็น “ ธรรมราชา’’ และไม่ยึดมั่นในระบบวรรณะอย่างเคร่งครัด              ดังนั้นในสมัยราชวงศ์เมาเรยะ ข้าราชการชั้นผู้น้อยที่มีความสามารถจึงขึ้นสู่ตำแหน่งสูงได              ราชวงศ์กุษาณะ บริหารราชการแผ่นดินคล้ายกับสมัยราชวงศ์ คุปตะ คือ กษัตริย์ทรงมีอำนาจมาก              ทรงบริหารงานการปกครอง โดยมีคณะที่ปรึกษาและข้าราชการ ซึ่งได้รับหมอบหมายให้ทำหน้าที่ต่างๆ กัน              การแต่งตั้งข้าราชการโดยมิได้มีการแบ่งแยกวรรณะ หรือความแตกต่างทางเชื้อชาติ เนื่องกษัตริย์พระราชวงศ์นี้นับถือพระพุทธศาสนา             แต่การปกครองสมัยราชวงศ ์คุปตะ ฐานะของกษัตริย์เปลี่ยนไปโดยได้รับการยกย่องให้เป็นสมมุติเทพ มีพระราชอาจเด็ดขาด              แต่ขณะเดียวกันก็ต้องปกครองราษฎรให้มีความสงบสุข และกษัตริย์ ต้องประพฤติอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม              สำหรับการบริหารราชการทั้งส่วนกลางและหัวเมืองมีรูปแบบคล้ายการปกครองสมัยราชวงศ์เมารยะ เศรษฐกิจ ยุคราชวงศ์เมารยะ มีความก้าวหน้าทางด้านต่างๆ คือ ด้านการเกษตรมีการปลูกข้าวเป็นอาชีพหลัก รัฐจัดทำแปลงนาสาธิตเพื่อเป็นการพัฒนาผลผลิต มีการปรับปรุงชลประทานอุตสาหกรรม และการค้ามีทั้งการค้าภายในกับการค้ากับต่างชาติ ด้านการค้าภายในีการจัดขบวนการคาเป็นรูปแบบ ของกองเกวียนคาราวาน โดยรัฐจัดการให้มีการสร้างถนนเชื่อมโยงกับเมืองต่างๆตามเส้นทางการค้ามีที่พัก และเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ความคุ้มครองดูแลความปลอดภัย ด้านอาณาจักร เปอร์เซียและอียิปตเศรษฐกิจในสมัยราชวงศ์กุษาณะขึ้นอยู่กับการกสิกรรม์เป็นส่วนใหญ่รายได้ของประเทศขึ้นอยกับผลิตผลทางด้านเกษตรกรรมการค้าในสมัยคุปตะขยายตัวอย่างมากทั้งการค้าภาย ในประเทศและการค้าต่างประเทศ มีการค้ากับเอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน มีการใช้เหรียญเงินเหรียญทองเป็นเงินตรา แลกเปลี่ยนสินค้า วัดในพระพุทธศาสนาเป็นหน่วยเศรษฐกิจที่สำคัญอีกหน่วยหนึ่ง เนื่องจากกษัตริย์และเศรษฐีชอบบริจาคทรัพย์ และ ที่ดินให้วัด วัดส่วนมากจึงร่ำรวย มีที่ดินให้เช่า มีเงินให้กู้หรือลงทุนการค้าแข่งกับสมาคมพ่อค้า สังคมและวัฒนธรรม – ศาสนา ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชทรงเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา ดังนั้นวัดและพระสงฆ์จึงได้รับกาอุปถัมภ์ ราชวงศ์กุษาณะซึ่งนับถือ พระพุทธศาสนาได้ส่งเสริมให้มีการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในเอเชียกลาง (บนเส้นทางสายไหม ) ตลอดจนถึงชายแดนจีนจึงทำให้พระพุทธศาสนา รุ่งเรืองขึ้น ศิลปกรรม ยุคสมัยราชวงศ์เมารยะรัชกาลพระเจ้าอโศกมหาราช มักเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา แต่ในสมัยคุตศิลปกรรม มีลักษณะเป็นฮินดูอย่างแท้จริง ทั้งภาพแกะสลักและภาพวาดมีลักษณะการแสดงออกของความรู้สึกที่สำรวมงามสง่า วิทยาการ  ความเจริญทางด้านวิทยาการแขนงอื่นๆเจริญอย่างมาก วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ เคมีและการแพทย์ศูนย์กลางการศึกษาที่มหาวิทยาลัย นาลันทาและตักศิลาและพาราณสี นักดาศาสตร์ อินเดียสามารถคำนวณเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงจันทร์ได้ในด้านเคมีสามารถ ทำสบู่และซีเมนต์ด้านการแพทย์ได้รับการยกย่องว่ามีวิธีการและเทคนิคสูง ในการรักษาโรคโดยเฉพาะการผ่าตัด ความเสื่อมของยุคราชวงศ์ แม้ว่าอินเดียปกครองอาณาจักรที่กว้างใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพแต่ความเสื่อมเกิดขึ้นจากการที่พระราชวงศ์มักสู้รบกันเอง เช่น พระเจ้าอโศกมหาราชทรงปราบปรามพระเชษฐาเพื่อขึ้นครองบัลลังก์นอกจากนี้ดินแดนทางตอนเหนือของอินเดียยังถูรุกรานจากคนต่างชาติิต่างศาสนาดังเช่นอาหรับ เปอร์เซีย แอฟริก ปาทาน ตุรกีและมองโกล ซึ่งมีความเข้มแข็งในด้านการรบทำให้ตอนปลายของแต่ละราชวงศ์ในยุคราชวงศ์อาณาจักรแตกแยกเป็นแว่นแคว้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 1735 มุสลิมเชื้อสายตุรกียึดกรุงเดลลีได้มีผลให้ชาวอารยันที่เป็นชนชั้นผู้ปกครองอินเดียหมดอำนาจลง พัฒนาการประวัติศาสตร์ในดินแดนในเอเชียตะวันออก ตะวันออกมีอาณาเขตครอบคลุมประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ และมองโกเลีย ซึ่งเป็นดินแดนที่ได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมจีนที่มี แหล่งกำเนิดบริเวณลุ่มน้ำฮวงเหอต่อมาจึงแพร่หลายออกไปสู่ดินแดนใกล้เคียง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของชาติสำคัญในดินแดนเอเชียตะวันออก ได้แก่ จีน เกาหลี และญี่ปุ่น มีดังนี้ ๑.พัฒนาการทางประวัติศาสตร์จีน (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๙-๒๔)               ภายหลังจากที่ราชวงศ์ฮั่นสลายลง เมื่อ พ.ศ. ๗๖๔ ดินแดนจีนได้แตกแยกโดยมีผู้นำแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ที่เรียกว่าสมัยสามก๊ก(พ.ศ. ๗๖๔-๘๐๘) ได้แก่ กลุ่มโจโฉ ปกครองอาณาบริเวณทางตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มซุนกวน ซึ่งสืบเชื้อสายจากราชวงศ์ฮั่น ปกครองบริเวณลุ่มน้ำแยงชีและกลุ่มเล่าปปกครองบริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลเสฉวน ทั้งสามกลุ่มต่างสู้รบ เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ จนกระทั่งในที่สุดทายาทของกลุ่มโจโฉสามารถรวม อาณาจักรและตั้งราชวงศ์  ได้สำเร็จเมื่อประมาณ พ.ศ.๘๐๘ แต่กษัตริย์ราชวงศ์นี้ไม่สามารถรวบรวม อาณาจักรได้นาน เพราะเกิดการขัดแย้งทางการเมือง ภายในทำให้มีผู้ตั้งตัวเป็นกษัตริย์ปกครองแว่นแคว้นต่างๆ ขณะเดียวกันต้องเผชิญกับการรุกรานจากกกลุ่มชนทางตอนเหนือ ได้แก่ พวกตุรกี ฮั่นและมอง โกล ในที่สุดหยางเฉิน เป็นผู้นำในการรวบรวมอาณาจักรโดยปราบปรามแคว้นต่างๆ แต่ผู้ที่ตั้ง เป็นจักรพรรดิและสถาปนาราชวงศ์สุยได้สำเร็จคือหางตี้ ซึ่งเป็นโอรสของพระองค์ ราชวงศ์ซึ่งสถาปนาเมื่อ พ.ศ.๑๑๒๔ ทำการปกครองจีนต่อมาอาณาจักรถูกรุกรานจากเผาต่างๆที่มาจากทางเหนือทำให้อาณาจักร เสื่อมลงเป็นเหตุให้หลี หยวน หรือจักรพรรดิ ถัง ไท จื่อ สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิตั้งราชวงศ์ถังได้ในปี พ.ศ.๑๑๖๑ สมัยราชวงศ์ถังซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองซีอาน ถือว่าเป็นยุคทองยุคหนึ่งของจีนเนื่องจากราชวงศ์นี้ได้สร้างความเจริญในด้านต่าง ทั้งทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจการต่างประเทศยุคนี้มี กบฏเกิดขึ้นหลายครั้ง ทำให้้ราชวงศ์ถังสิ้นสุดลงใน พ.ศ. ๑๔๕๐ ภายหลังจากราชวงศ์ถึงระหว่าง พ.ศ. ๑๔๕๐-๑๕๐๓ อาณาจักร จีนอันกว้างขวางได้แตกแยกเป็นแคว้นถึงสิบแคว้นมีกษัตริย์ปกครองเป็นอิสระในที่สุดนายพลเจา กวง หยิน สามารถตั้งตัวเป็นจักรพรรด ิซ่ง ไทย สือ ผู้สถาปนาราชวงศ์ซ่ง(พ.ศ. ๑๕๐๓-๑๘๒๒) ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไคฟงและเมืองฮังโจวราชวงศ์นี้แม้ว่าได้ทำการปรับปรุงเศรษฐกิจ การฃปกครองและการศึกษา แต่เนื่องจากต้องใช้จ่ายเงินในการป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าที่อยู่ทางตอนเหนือ โดยเฉาะพวกมองโกลและเกิดภาวการณ์เพิ่มประชากร ทำให้มีผลกระทบเช่นความอด อยาก การขาดแคลนที่ดินทำกิน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ราชวงศ์นี้เสื่อมลง โดยถูกพวกมองโกลยึดครองกุลไลข่านชาวมองโกลได้สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หยวน (พ.ศ.๑๘๒๒-๑๙๑๑)มีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองข่านพาลิก(ปัจจุบันคือกรุงปักกิ่ง)ในรัชกาลจักรพรรดิกุบไลข่านจีน ได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง แต่เมื่อสิ้นรัชกาล ราชวงศ์หยวนก็เริ่มเสื่อมลง เนื่องจากการต่อต้านโดยชาวจีนประกอบกันเกิดภาวะเงินเฟ้อและ ภัยธรรมชาติ ในที่สุด จู หยวน จัง อดีตพระในพระพุทธศาสนาจึงยึดอำนาจ พร้องทั้งสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิหุง อู่ แห่งราชวงศ์หมิงใน พ.ศ.๑๙๑๑ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองหนานจิง ภายหลังจึงยึดกรุงปักกิ่งได้สำเร็จจีนสมัยราชวงศ์หมิง มีการขยายตัวทางการค้า เนื่องจากบ้านเมืองมีความสงบแต่ในตอน ปลายราชวงศ์เกิดการแย่งชองราชบัลลังก์ในกลุ่มพระราชวงศ์ ผ๔ที่ขึ้นมาเป็นจักรพรรดิ ขาดความสามารถประกอบกับอาณาจักรยังคงถูกรุกรานจากมองโกลและแมนจูที่อยู่ทางตอนเหนือจึงทำให้ราชวงศ์หมิงค่อยๆ เสื่อมอำนาจลง จนในที่สุ เนอฮาชิ ชาวแมนจูซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองมุกเดนในแหลมเลียวตุงได้รวบรวมกำลังเข้ายึดกรุงปักกิ่งสถาปนาราชวงศ์ชิง( พ.ศ.๒๑๘๗-๒๔๕๕)ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ราชวงศ์ชิงเริ่มเสื่อมลงเนื่องจากได้รับการต้านจากชาวจีนที่ถือว่าราชวงศ์นี้เป็นชาวต่างชาติราชวงศ์แมนจูยังต้องเผชิญกับภาวะการเพิ่มประชากรและโจรสลัดในน่านน้ำทะเลจีนใต้ทำให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีน รวมทั้งการขยายอิทธิพลของชาติตะวันตกในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ซึ่งมีผลกระทบทำให้ยุคราชวงศ์ของจีสิ้นสุดลงในเวลาต่อมา ประวัติศาสตร์จีนช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙-๒๔ มีพัฒนาการ ดังนี้ การเมืองการปกครอง                  สมัยราชวงศ์สุย (พ.ศ.๑๑๒๔-๑๑๖๑) จีนได้มีการปกครองในรูปแบบจักรวรรดิอีกครั้งหนึ่งจักพรรดิแห่งราชวงศ์สุยได้ทำการประมวลกฎหมาย อาญาและปรับปรุงระบบการบริหารภายในซึ่งราชวงศ์ถึงได้นำมาเป็นอย่างแล้วปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยการแบ่งหน่วยงานส่วนกลางออกเป็น ๖กระทรวง ได้แก่ กระทรวงข้าราชการ การคลัง ทหาร ยุติธรรม โยธา และพิธีกรรม ส่วนในหัวเมือง ราชวงศ์ถังได้แบ่งหน่วยปกครองออกเป็นมณฑลและจังหวัด โดยแต่ละมณฑล จักรพรรดิโปรดส่งข้าหลวงไหปกครองและให้แยกอำนาจออก เป็น ๓ ฝ่าย คือ ฝ่ายพลเรือน ฝ่ายทหารและฝ่ายตุลาการทำใหอำนาจ ของจักรพรรดิกระจายออกไปยังมณฑลต่างๆ เมื่อสิ้นราชวงศ์ถัง จีนได้ตกอยู่ในภาวะแตกแยกทางการเมือง จนกระทั่งราชวงศ์ซ่งขึ้นมามีอำนาจราชวงศ์นี้ พยายามเลียนแบบการบริหารและการปกครองแบบราชวงศ์ถังแต่เพื่อป้องกันการกบฏจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ซ่งได้เสริมสร้างอำนาจส่วนกลางให้ควบคุม หัวเมืองรัดกุมขึ้น เช่น ให้ฝ่ายทหารหัวเมืองขึ้นอยู่กับฝ่ายพลเรือน จึงเป็นเหตุให้หัวเมืองต่างๆอ่อนแอดังนั้น เมื่ออาณาจักรจีนถูกรุกรานจากพวกมองโกลและพวกแมนจู หัวเมืองจึงไม่อาจต้านทานกำลังจากผู้รุกรานเหล่านี้จนในที่สุดราชวงศ์ซ่ง จึงหมดอำนาจลงแล้วชาวมองโกลจึงเข้ามาปกครองจีนชาวมอง โกลเป็นนักรบที่เข้มแข็งสามารถใช้กองกำลังขยายอาณาจักรได้อย่างกว้างขวาง แต่ไม่คุ้นเคยกับการปกครองอาณาจักรที่กว้างขวาง ดังคำกล่าวของเย หลู ชู ไฉ (พ.ศ. ๑๗๓๓-๑๗๘๗)ฉซึ่งเป็นที่ปรึกษาของเจงกิสข่านจักรพรรดิแห่งมองโกล ได้กล่าวว่า”จักรวรรดิได้ถูกพิชิตบนหลังม้าจริงแต่เราไม่อาจปกครองเขา จากหลังม้าได้” ดังนั้น เมื่อกุบไลข่านซึ่งเป็นพระนัดดาของจักรพรรดิเจงกิสข่าน ตั้งราชวงศ์หยวนและขึ้นปกครองจีนได้เลียนแบบวิธีการปกครองของจีนที่พัฒนามาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถึงทำให้ยังคงมีขุนนางจีนบริหารราชการแผ่นดิน แต่ขณะเดียวกันมองโกลได้ตั้งวิทยาลัยเพื่อฝึกหัดพวกมองโกลเข้ารับราชการ ทำให้มีขุนนางสมัยราชวงศ์หยวนประกอบด้วยกลุ่มคนหลายเชื้อชาติ ศาสนาราชวงศ์หมิง ซึ่งมีชาวจีนแท้ เมื่อล้มล้างอำนาจของพวกมองโกลได้แล้วจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิงได้ออก กฎหมายใหม่ให้มีการฟื้นฟูการปกครองแบบจีน เช่นการสอบเข้ารับราชการพลเรือนสำหรับด้านการปกครองให้มีการ แบ่งหน่วยงานออกเป็นส่วนกลาง ซึ่งได้แบ่งเป็น ๓ หน่วย คือ พลเรือน ทหาร และตุลาการ สำหรับการปกครองหัวเมืองได้แบ่งเป็นมณฑลจังหวัดและ อำเภอลดหลั่นตามลำดับ โดยจักรพรรดิมีอำนาจเด็ดขาดนสมัยนี้ยันทีซึ่งรับใช้พระราชวงศ์ฝ่ายในเข้ามามีอิทธิพลในการบริหารราชการ แผ่นดินทำให้เกิด ความขัดแย้งระหว่างยันทีกับขุนนาง ซึ่งเป็นสาเหตุ สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ราชวงศ์หมิงเสื่อมลงราชวงศ์ชิงซึ่งเป็น พวกแมนจูจึงได้เข้ามาปกครองจีนพวกแมนจูไม่คุ้นเคยกับการปกครองอาณาจักซึ่งมีอาณาเขตกว้างขวางจึงเลียนแบบการปกครองสมัย ราชวงศ์หมิงแต่ได้นำวิธีการปกครองหน่วยทหารและ หน่วยเขตการปกครองแบบแมนจู แบ่งออกเป็น๒๔ยังมีหน้าที่เก็บภาษีเกณฑ์แรงงาน ควบคุมและระดมพลเมื่อเกิดสงครามการทำสงครามนั้นแต่ละหน่วย ต่างออกสู้รบโดย มิได้ทำการบร่วมกันแม่ทัพสูงสุดที่บังคับบัญชา ในแต่ละหน่วยเป็นพวกแมนจูการปกครองแบบแมนจูทำให้การควบคุมกำลังคนเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพแต่การแบ่งกำลังออกสู้รบ ในแต่ละหน่วยโดยไม่ช่วยกันอาจได้ผลในการสู้รบแบบประชิดตัวซึ่งให้ระยะเวลาสั้นๆแต่เมื่อกองทัพจีนต้องรบกับกองทัพอังกฤษที่มีอาวุธทันสมัย ทำให้การจัดทัพด้วยวิธีนี้ไม่อาจต้านทานกองทัพอังกฤษที่เดินทางมาถึงจีนเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ด้านเศรษฐกิจ ในสมัยราชวงศ์สุย เมื่อจีนมีการปกครองที่มั่นคง จักรพรรดิราชวงศ์สุยจึงโปรดให้ทำการค้าติดต่อกับต่างชาติ เช่น มีการติดต่อค้าขายกับญี่ปุ่นและได้ ้ส่งทูตไปเรียกร้องบรรณ การและค้าขายกับหมู่เกาะทาง ตอนใต้ ทำให้จีนได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากบรรณาการต่างๆที่นำมาถวายโดยนำมาให้หรือ แปรรูปสมัยราชวงศ์ถัง จีนเริ่มปฏิรูปที่ดินเพื่อให้ชาวนามีที่ดินทำกินเพราะที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ในเมืองจีนมีจำนวนน้อยนอกจากนี้จีนยังทำการค้ากับนา นาชาติ โดยใช้เส้นทางบกไปจนถึง อินเดียเปอร์เซียและยุโรปส่วนเส้นทางทะเลจีนได้ติดต่อกับญี่ปุ่น อาณาจักรจามปา ศรีวิชัยและเมืองในเกาะลูซอนทั้ง นี้เนื่องจากสินค้าประเภทผ้าไหมและภาชนะเครื่องเคลือบจีนเป็นที่นิยมของชาวต่างชาติ ส่วนพ่อค้าต่างชาติได้นำสินค้าและพืชผลมาเผยแพร่เช่นของป่า ประเภทเขาสัตว์งาช้าง เครื่องเทศและพริกไทย นอกจากนี้ ยังมีข้าว มะกอง และหัวผักกาด เป็นต้นความเจริญทางด้านการค้าทั้งทางบก และทางทะเลของ             จีนเนื่องมาถึง สมัยราชวงศ์ซ่ง โดยเฉพาะการค้าโดยพ่อค้าเอกชน ในสมัยนี้การติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้า เช่น ผ้าไหม เครื่องลายคราม ถ้วยชามเครื่อง เงิน ใบชา และเหรียญทองแดง สินค้าเหล่านี้เป็นที่ต้องการโดยทั่วไปขณะเดียวกันจีนได้พัฒนาเทคโนโลยการต่อเรือขนาดใหญ่เพื่อบรรทุกสินค้าได้มาขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่ง จีนพัฒนาการค้ากับนานาชาติ ทำให้เกิดเมืองสำคัญทางตอนใต้ เช่นเมืองเซียงไฮและกวางตุ้งที่มีพ่อค้าชาวต่างชาติมาตั้งหลังแหล่ง ตามชายฝั่งเป็นต้นการค้านานาชาติเป็นแหล่งรายได้สำคัญ ดังนั้นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หยวน ทรงสนับสนุนด้านการค้าในยุคนี้การขยายไปอย่างกว้าง ขวาง มีทั้งพ่อค้ามุสลิม และพ่อค้ายุโรปมีชื่อเสียงได้แก่ มาร์โค โปโล เดินทางมาติดต่อค้าขายกับจีน นอกจากนี้ราชวงศ์หยวนยังพัฒนาระบบการคมนาคม เช่น ถนนที่เป็นเส้นทางการค้าไปยังเอเชียกลาง โดยจัดให้มีสถานีตั้งอยู่เป็นระยะสนันสนุนสมาคมพ่อค้ามุสลิมให้การค้าระหว่างจีนกับเอเชียกลางส่วน การค้าทางทะเลนั้นราชวงศ์หยวน สนับสนุนพ่อค้าจีนในเรื่องทุนและเรือสินค้า                        สมัยราชวงศ์หมิง  มีการปรับปรุงด้านการค้าภายใน กล่าวคือ มีการประมวลพระราชบัญญัติการเก็บภาษีได้แก่ การเก็บภาษีข้าว แท่งโลหะผ้าไหม และการเกณฑ์แรงงานในด้านเงินตรา เนื่องจากเกิดภาวะเงินเฟ้อตั้งแต่ในสมัยราชวงศ์หยวนราชวงศ์หมิงจึงใช้อีแปะทองเหลืองแทน แต่ไม่สะดวกสิ้น เปลืองและปลอมแปลงง่าย ในที่สุดจึงคิดค้นการใช้ธนบัตร แต่เกิดภาวะเงินเฟ้อเช่นกันจักรพรรดแห่งราชวงศ์หมิงได้นำอุดมการณ์ทางการเมืองมาใช้เป็นกฎเกณฑ์ในความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับต่างชาติ โดยถือว่าจีนเป็นศูนย์กลางโลก และจักรพรรดิเป็นโอรสแห่งสวรรค์ดังนั้นชาติต่างๆต้องทำการค้า กับจีนนามของรัฐ เมื่อถวายบรรณาการแบะยอมรับกฎเกณฑ์นี้แล้ว จังได้รับอนุญาตให้ค้าขายการที่ชาติต่างๆยอมรับระบบรัฐบรรณาการได้เพราะจีนเป็นตลาดค้าใหญ่ที่ทำกำไรให้กับพ่อค้าได้เป็นอย่างดี ในยุคนี้มีพ่อค้าต่างชาติมาติดต่อค้ายายกับจีนเป็นจำนวนมากราชวงศ์หมิงจึงจัดระบบการค้าใหรัดกุมยิ่งขึ้นโดยใน พ.ศ.๑๙๒๗ รัฐบาลจีนได้จัดให้มี “หนังสือสำคัญเข้าเมือง”ประเทศที่ต้องการติดต่อค้าขายกับจีนต้องนำหนังสือสำคัญเข้าเมืองมาแสดงจึงจะได้รับอนุญาตให้ทำการค้าได้สินค้าส่งออกที่สำคัญของจีนได้แก่ เครื่องเคลือบ เครื่องลายคราม เครื่องสำริด เครื่องลงรัก ผ้าฝ้าย ไหมส่วนสินค้านำเข้าที่ ได้รับความนิยมเป็นสินค้าจากตะวันตกได้แก่ นาฬิกา แว่นตา แก้วผลึก ข้าวโพด มันฝรั่ง ถั่วลิสง ยาสูบต้นกระบองเพชร ส่วนสินค้าในเอเชียได้แก่เครื่องเทศ สมุนไพร ไม้เนื้อแข็งที่มาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พัดชนิดพับได้จากเกาหลี เป็นต้น ในเวลาต่อมาจีนได้ออกกฎหมายห้ามชาวจีนออกนอกประเทศ เนื่องจากมีการปล้นสดมภ์ในน่านน้ำจีน และห้ามติดต่อกับชาวต่างชาติ เนื่องจากความระแวงเกี่ยวกับการเผยแผ่คริสต์ศาสนาจึงทำให้การค้ากับต่างชาติ   ของจีนซบเซาลง                 ในพุทธศตวรรษที่ ๒๔เมื่อราชวงศ์ชิงปกครองประเทศจีน มีการค้ากับต่างชาติขยายมากขึ้นทั้งนี้เพราะชาวตะวันตกบังคับให้จีน เปิดเมืองท่าสิน ค้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องลงรัก หมึกจีน พลอยเทียม และชา สำหรับสินค้านำเข้า ได้แก่ ผ้าขนสัตว์ยารักษา โรค ฝิ่น และเครื่องจักรกล ในปลายราชวงศ์ชิงมีการตั้งธนาคารแห่งชาติ เพื่อจ่ายเงินตามแบบตะวันตก สังคมและวัฒนธรรม – ความเชื่อและศาสนา ในช่วงสามก๊ก สังคมจีนเกิดความยุ่งยากเนื่องจากการสู้รบทำให้ผู้คนแสวงหาที่พึ่งทางจิตใจ พระพุทธศาสนาได้รับการ  ฟื้นฟูพระสงฆ์ในยุคนั้นมีความรู้ ในพระธรรมวินัยและให้วิธีการเผยแผ่ศาสนาโยวิธีสังคมสงเคราะห์ การศึกษาพระพุทธศาสนามีความก้าวหน้าดังจะเห็นได้จากการที่มีภิกษุจีนที่เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ดินเดียพระภิกษุที่มี ชื่อเสียงได้แก่ พระภิกษุฟาเลียน ที่เดินไปอินเดียโดยทางบกผ่านดินแดนเดเชียกลาง แต่เดินทางกลับจีนทางทะเลและพระภิกษ ุถังชำจั๋งเดินทางบกไปกลับจากอินเดียพระภิกษุเหบ่นนี้ได้พระไตรปิฎกและพระสูตรเป็นภาษาจีนทำให้พระพุทธศาสนาแพร่หลาย ในสังคมพระสงฆ์จึงเป็นผู้มีบทบาทในด้านการศึกษาและด้านสัง คมสงเคราะห์นอกจากพระพุทธศาสนาแล้วลัทธิขงจื๊อได้รับการฟื้นฟ ูในด้านพิธีการรมเกี่ยวกับการเซ่นไหว้บรรพบุรุษมารยาททางสังคมและสัมพันธ์ของ คนในสังคม ส่วนลัทธิเต๋ารับความนิยมเพิ่มขึ้น เนื่องจากเน้นในด้านความสันโดษ ความสงบของจิตใจและความกลมกลืนกับธรรมชาตความเชื่อและศาสนาในสมัยสามก๊ก สามารถเป็นที่พึ่งพาทางใจให้กับคนจีนในยุคนั้นและในเวลาต่อมทา แต่ละสมัยซ่งได้มีการนำปรัชญาทางพระพุทธศาสนาลัทธิขงจื๊อ และ เต๋ามารวมเป็น  “ปรัชญาขงจื๊อใหม่”ที่เชื่อว่าตัวของมนุษย์นี้มีความดีอยู่แล้ว การศึกษาหาความรเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้มนุษย์ปรับปรุง ตนเองไดและเข้าใจสัจธรรมคือ อริยสัจสี่เมื่อจีนถกปกครองโดยราชวงศ์หยวน ปรัชญาขงจื๊อใหม่ไม่ได้รับความนิยมจากราชสำนักเนื่อง จากชาวมองโกลมีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์และพระพุทธศาสนามหายานลัทธิลามะของธิเบตซึ่งได้รับอุปถัมภ์จากราชสำนักในยุคน ศาสนาอิสลามได้แพร่หลายเข้ามาตามเส้นทางการค้า ทางตะวันตก เช่น ที่มณฑลยูนนาน และซินเกียง เช่นที่บริเวณมณฑลกวางตุ้ง เพิ่มขึ้นเมืองท่าทางตอนใต้ของจีมบาทหลวงคริสต์สาสนาเข้ามาเผยแผ่ศาสนา ซึ่งในระยะแรกจักรพรรดิจีนทรงต้อนรับบาทหลวงเหล่านี้ เนื่องจากมีความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่ เช่น ดาราศาสตร์ เครื่องจักรกลและการแพทย์แต่ต่อมารัฐบาลระแวงชาวตะวันตกว่าเป็นผู้รุกรานจีน ดังนั้นในสมัยราชวงศ์ชิงคริสต์ศาสนาจึงได้รับการต่อต้าน พัฒนาการทางประวัตศาสตร์ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครอบคลุมพื้นที่ประเทศบรูไน อินโดนีเซีย กัมพูชา  ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม พม่าและติมอร์ตะวันออก ในปัจจุบัน บางประเทศมีประวัติศาสตร์ยาวนาน แต่บางประเทศเป็นประเทศที่ตั้งใหม่ภายหลังสงครามโลกครั้ง ที่สองการศึกษาเรื่องพัฒนาการทางประ วัติศาสตร์ในดินแอนแห่งนี้จึงศึกษาในภาพกว้าง โดยจะอธิบายยุคอาณาจักร เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อให้เห็นพัฒนาสืบเนื่องจากยุคการสร้างสรรค์อารยธรรมและการเปลี่ยนแปลงก่อนการเข้ามาของชาติตะวันตก อาณาจักรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๖ถึง ๒๓)                หลักฐานการศึกษาเรื่องอาณาจักรโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ หลักฐานทางด้านโบราณคดี คือ โบราณวัตถุโบราณสถานซึ่งเป็นหลักฐานประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จดหมายเหตุจีนราชวงศ ต่าง ๆบันทึกชาวต่างชาติที่มาเยือนดินแดน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยโบราณตลอดจนจารึกต่างๆ                พัฒนาการของอาณาจักรโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกิดจากการรวมตัวของแว่นแคว้นต่างๆในภูมิภาคดังนี้              -อาณาจักรฟูนันหรือพนม  ตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๖-๑๒มีศูนย์กลางการปกครองอยู่บริเวณที่ราบลุ่มเหนือปากแม่น้ำ – อาณาจักรจามปา ตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๒๑มีศูนย์กลางการปกครองสมัยแรกบริเวณเมืองสิงหปุระต่อมาย้ายมาศูนย์กลางลงมาทางตอนใต้ที่เมืองวิชัยนคร – อาณาจักรสุธรรมวดี ตั้งขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๖ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำอิระวดีลงไปถึงทวายสันนิษฐานว่า ศูนย์กลางการปกครองเดิมอยู่ ที่สะเทิม ต่อมาย้ายไปที่หงสาวดี ทางตอนใต้ขอ่งพม่า – อาณาจักรเจินละ  ตั้งขึ้นเมื่อประมารณพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๖ มีศูนย์กลางอยู่ที่ราบลุ่มน้ำโขง ทางภาคไต้ของประเทศลาว – อาณาจักรทวารวดี ตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔ สันนิษฐานว่ามีอาณาเขตบริวตะวันตกของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบ่างบริเวณเมืองนครชัยศร – อาณาจักรศรีวิชัย ตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๖ มีศูนย์กลางปกครองเคลื่อนย้ายในบางยุคสมัย เช่นที่บริเวณเมืองปาเล็มบังบนเกาะสุมาตรา – อาณาจักรศรีเกษตร ตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๖ มีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองแปรในประเทศพม่า – อาณาจักรกัมพูชา ตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๒๐ มีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองพระนครประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน การปกครอง อาณาจักรโบราณในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เดิมเป็นเพียงแว่นแคว้นแต่สามารถพัฒนาเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจ เหนือดินแดนอื่นได้ด้วยปัจจัยสำคัญ คือ การรับคติความเชื่อจากศาสนาฮินดูเรื่อผู้นำคือเทพเจ้าที่อวตารลงมาเกิดในโลกมนุษย์ นอกจากมีความเชื่อจากพระพุทธศาสนาเรื่องผู้นำที่ทำ ความดีโดยบำเพ็ญบารมีหลายชาติภพ ผู้นำในอาณาจักรโบราณ พยายามนำความเชื่อเหล่านี้มาเสริมสร้างสถานภาพของพระองค์เสริมสร้างฐานะกษัตริย์ให้เป็นเจ้าที่สถิตย์อยู่บนภูเขาชื่อว่าพระศิวะ ทำให้มีการสร้างศิวะลึงค์เพื่อสถาปนาสถานะความเป็นเทพเจ้าความเชื่อกล่าวสั่งเสริมให้ผู้นำมีอำนาจ สูงสุด เศรษฐกิจ คนในอาณาจักรโบราณในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รู้จักปลูกข้าวเพื่อรับประทานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร ยุคอาณาจักรโบราณมีการพัฒนาการชลประทานเพื่อทดน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากรและระบายน้ำยุคอาณาจักรโบราณมีการพัฒนาการชลประ ทานเพื่อทดน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากร และระบายน้ำเครื่องปั้นดินเผา ทอผ้า ต่อเรือหรืออาจเสียภาษีเป็นผลิตผลที่มีค่า เช่น เครื่องหอม ไข่มุก หรือทองคำเพื่อขอความคุ้ม ครองเป็นการตอบแทนคนในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เดิมปลูกข้าวเลี้ยงสัตว์ไว้เป็นอาหาต่อมาจึงเริ่มมีการค้าขายกันดินแดนกับประเทศเพื่อนบ้านเช่นจีน สังคมและวัฒนธรรม สังคมของอาณาจักรโบราณในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แม้ว่าได้มีการพัฒนาให้กษัตริย์มีสถานภาพสูง ด้วยคติที่รับ จากอินเดียแต่ไม่รับการ แบ่งชนชั้นแบบวรรณะของอินเดีย คงแบ่งชนชั้นแบบกว้างๆ คือชนชั้นผู้ปกครอง ชนชั้นที่อยู่ใต้การปกครองที่รวมด้วยทาส – ความเชื่อและศาสนา  ความเชื่อดั้งเดิมของคนในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นับถือธรรมชาติโดยไม่เชื่อว่ามีวิญญาณที่ม อำนา๗เหนือธรรมชาติต่างๆ สถิตอยู่แบะมีความเชื่อในชีวิตหลังการตาย ดังนั้นการรับศาสนาฮินดู ซึ่งนับถือเทพเจ้าหลายองค์ จึงไม่ขัดกับความเชื่อแบบเดิม – ภาษาและวรรณกรรม ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีภาษาถิ่นมากมายและมีเรื่องเล่าในท้องถิ่นเป็นแบบตำนาน  นอกจากนี้วรรณกรรมต่างๆได้แก่ มหาภารตะ รามเกียรติ์และอาหรับราตรีเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย – วิทยาการและเทคโนโลยี  ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความรู้และพัฒนาเทคโนโลยีในด้านการถลุงโลหะมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตรรู้จัก ชลประทาน และการเดินเรือเลียบชายฝั่ง จึงได้นำเทคโนโลยีบางประการมาใช้ – ศิลปกรรม   อาณาจักรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๖-๒๑ผลิตงานด้านศิลปะ เช่นสถาปัตยกรรม ประติมากรรมและดนตรีโดยได้รับ อิทธิพลทางด้านศาสนาและโบราณสถานนอกจากนี้ยังนิยมการแกะสลักมีทั้งภาพลอยตัวและภาพนูนต่ำ ความเสื่อม               อาณาจักรในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เสื่อมสลายไปในเวลาที่ต่างกันบางอาณาจักรสลายไปโยไม่สามารถฟื้นตัวได้อีก ความเสื่อมจากภายใน เนื่องจากการต่อสู้เพื่อแย่งชินอำนาจทากงการเมืองในหมู่สมาชิกมีผลให้อาณาจักรแยกออกเป็นเจินละและเจินละน้ำทำให้เกิดผลเสียทางเศรษฐกิจโดยมี สามเหตุสำคัญคือ ต้องการควบคุมแหล่งทรัพยากรและกำลังคน  ความเสื่อมจากภายนอก  โดยมักเกิดจากการที่อาณาจักรถกศัตรูภายนอกโจมตรวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจที่เป็นพื้นฐานการค้ากับนานาชาติ สภาพทางการเมืองการปกครอง สังคม และเศรษฐกิจ ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๒ เป็นช่วงระยะเวลาที่ชาติตะวันตกเริ่มเดินทางเข้ามาติดต่อกับอาณาจักรต่าง ๆในเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้บรรดาอาณาจักร ต่างๆในภูมิภาคนี้ได้พยายามพัฒนาดังแปลงวัฒนธรรมที่ได้รับจากภายนอกให้ผสมกลมกลืมกับวิถีชีวิต เอเชียกลาง ดินแดนเอเชียกลางเป็นบริเวณที่ทำการเกษตรได้ลำบากและอยู่ห่างไกลจากทะเลทำให้ถูกตัดขาดจากเส้นทางการค้า เมืองใหญ่ๆเกิดขึ้นในบริเวณนี้น้อย ชาวนอมาดิกที่เชี่ยวชาญการขี่ม้าเป็นกลุ่มชนหลักในทุ่งหญ้าสเตปในบริเวณนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างชาวนอมาดิกและกลุ่มชนอื่นๆในเอเชียกลาง เต็มไปด้วยความขัดแย้ง ทักษะในการขี่ม้าของพวกเขาทำให้กลายเป็นนักรบที่มีประสิทธิภาพกลุ่มหนึ่งของโลก ผู้นำเผ่าจะเป็นผู้จัดการนำเผ่าย่อยๆมารวมกันเป็นกองทัพ ตัวอย่างของกลุ่มชนเหล่านี้ เช่น ชาวฮั่นที่เข้ารุกรานยุโรป ชาวเติร์กที่อพยพเข้าสู่ทรานโซเซียนา ชาวหวู่และหู่ที่โจมตีจีนและชาวมองโกลที่มีอิทธิพลในเอเชียและยุโรป ความโดดเด่นของชาวนอมาดิกสิ้นสุดลงในพุทธศตวรรษที่ 21 เมื่ออาวุธสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทในสงคราม จักรวรรดิรัสเซีย ราชวงศ์หมิงของจีน และมหาอำนาจอื่นเข้าครอบครองเอเชียกลางทั้งหมดในพุทธศตวรรษที่ 24 หลังการปฏิวัติรัสเซีย พ.ศ. 2460 รัสเซียเข้าครอบครองเอชียกลางเอบทั้งหมด เหลือแต่มองโกเลียและอัฟกานิสถานที่เป็นรัฐเอกราช แต่มองโกเลียก็เป็นรัฐบริวารรัฐหนึ่งของโซเวียต และโซเวียตพยายามเข้าครอบงำอัฟกานิสถานแต่ไม่สำเร็จ ส่วนที่ถูกโวเวียตยึดครองได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมแต่วัฒนธรรมท้องถิ่นถูกกดขี่ เมื่อ โซเวียตสลายตัวไปเมื่อ พ.ศ. 2534 รัฐของโซเวียตในเอเชียกลาง 5 รัฐได้เป็นรัฐเอกราช หลักฐานทางพันธุศาสตร์กล่าวว่ามนุษย์เข้าสู่เอเชียกลางเมื่อ 40,000 – 50,000 ปีมาแล้ว ถือว่าเป็นแหล่งที่อยู่เก่าแก่ของมนุษย์แห่งหนึ่ง แหล่งนี้อาจเป็นที่อยู่ของกลุ่มชนก่อนอพยพเข้าสู่ยุโรป ไซบีเรียและอเมริกาเหนือ คาดว่าบริเวณนี้เป็นแหล่งกำเนิดของตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียนในช่วงต้นราว 4,000 ปีก่อนพุทธศักราช มีชุมชนเล็กๆพัฒนาการสร้างที่อยู่อาศัยแบบถาวรและเริ่มทำการเกษตร รวมทั้งเริ่มเลี้ยงม้าซึ่งกลายเป็นสิ่งสำคัญตั้งแต่เป็นอาหาร และเริ่มใช้เป็นพาหนะในอีก 500 ปีต่อมา กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้เป็นที่รู้จักในชื่อชาวนอร์มาดิก ชาวนอร์มาดิกมีสัตว์เลี้ยงที่สำคัญคือ แกะ แพะ ม้า และอูฐ นิยมเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน อาศัยอยู่ในเตนท์หรือค่ายพักที่เคลื่อนย้ายได้ง่าย มีการตั้งถิ่นฐานเป็นเมืองเล็กๆในบริเวณที่ชุ่มชื้นของเอเชียกลาง เช่นการเกิดอารยธรรมบักเตรีย-มาร์เกียนา ที่มีการปลูกข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์และมีการประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้ บักเตรีย-มาร์เกียนาอาจจะมีปฏิสัมพันธ์กับวัฒนธรรมอันโครโนโว ในช่วงยุคสำริดที่เป็นแหล่งกำเนิดของการใช้รถม้าซึ่งอยู่ทางเหนือของไซบีเรียตะวันตก รัสเซีย และบางส่วนของคาซัคสถาน และคงอยู่มาจนถึง 457 ปีก่อนพุทธศักราช บักเตรีย-มาร์เกียนาอาจจะเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมอารยันที่เป็นบรรพบุรุษของผู้พูดภาษากลุ่มอินโด-อิหร่าน และอาจจะเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมยูราลิกและอัลไตอิกด้วย รวา พ.ศ. 443 นครซอกเดียกลายเป็นเมืองสำคัญและเป็นที่พักของพ่อค้าบนเส้นทางสายไหม มีประชากรที่หลากหลายเข้ามาอยู่ในบริเวณนี้ กลุ่มของชาวนอร์มาดิกในเอเชียกลาง รวมทั้งชาวฮั่นและชาวเติร์กกลุ่มอื่นๆ ของโตคาเรีย ชาวเปอร์เซีย ชาวไซเทีย และกลุ่มผู้พูดภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียนอื่นๆ และชาวมองโกลอีกจำนวนหนึ่ง เหรียญของกษัตริย์ยูเครติเดส อาณาจักรกรีก-บักเตรีย เมื่อ 171-145 ปีก่อนคริสตกาล ตั้งแต่ 2,000 – 1,000 ปีก่อนคริสตกาล มีรัฐขนาดใหญ่และมีอำนาจในทางใต้ของเอเชียกลาง และพยายามแผ่อำนาจเข้ามาครอบครองบริเวณนี้ จักรวรรดิเมเดียและจักรวรรดิอาแคเมนิดเคยครอบครองบางส่วนของเอเชียกลาง จักรวรรดิเซียหนูจัดเป็นจักรวรรดิแห่งแรกในเอเชียกลาง ตามมาด้วยจักรวรรดิตูเยยและจักรวรรดิมองโกลในเวลาต่อมา หลังจากสงครามจีน-เซี่ยหนู จีนเริ่มแผ่อำนาจมาทางตะวันตกจักรวรรดิเปอร์เซียและมาซีโดเนียเข้ามามีอิทธิพลในเอเชียกลางโดยเข้ามาก่อตั้งเมืองและควบคุมเส้นทางการค้า พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้นำวัฒนธรรมกรีกเข้ามาและสร้างเมืองอเล็กซานเดรีย เอสชาเตเมื่อ พ.ศ. 214 ในบริเวณที่เป็นทาจิกิสถานในปัจจุบันนี้ หลังจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 220 บริเวณที่เป็นเอเชียกลางรวมอยู่ในจักรวรรดิเซเลซูอิด ใน พ.ศ. 293 เอเชียกลางมีการตั้งอาณาจักรบักเตรียหรืออาณาจักรกรีก-บักเตรียที่มีการขยายอำนาจไปสู่อินเดียและจีนจนกระทั่งจนกระทั่งสิ้นสุดอำนาจลงไปเมื่อ พ.ศ. 418 อาณาจักรอินโด-กรีกที่มีฐานที่มั่นในปัญจาบและควบคุมเขตอิทธิพลไปถึงอัฟกานิสถาน ได้พัฒนามาเป็นอาณาจักรพุทธแบบกรีก อาณาจักรกุษาณเป็นอาณาจักรที่ขึ้นมามีอำนาจในช่วงพุทธศตวรรษที่ 7-9 และสืบทอดวัฒนธรรมแบบพุทธและแบบกรีก อาณาจักรเหล่านี้มีอำนาจควบคุมเส้นทางสายไหมที่เชื่อมจีนกับยุโรปซึ่งต่อมาอำนาจจากภายนอก เช่น จักรวรรดิซัสซาเนียพยายามเข้ามาครอบครองเส้นทางสายนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น